แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เด็กไทยเก่งจัง ติดอันดับโลกตั้ง ๓ อย่าง

ที่มา Thai E-News



อันดับโลกของการศึกษาไทยที่น่าสนใจ คลิปที่อยู่ด้านบน คือคลิปการศึกษาที่มีคนดูมากกว่าแสนครั้ง และมีเว็บไซต์อื่นๆ เอาไปโพสต์ต่ออีกมากมาย นับว่าเป็นคลิปที่มีเสียงตอบรับไม่น้อยเลยทีเดียว มาดูกันว่าในคลิปนี้ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ พูดถึงการศึกษาไทยว่าอย่างไร

บทความโดย รศ. พ.ต.อ. ณหทัย ตัญญะ

นักเรียน/นักศึกษาที่สอบได้คะแนนสูง เป็นคนเก่งจริงหรือ
 
ทุกวันนี้เรามักได้ยินคำพูดในทำนอง ฉันจบจาก...แล้วไปต่อที่... (สถาบันที่มีชื่อเสียงของประเทศ, หรือของโลก) ลูกของฉันเก่งอย่างนั้น ลูกของฉันสอบเข้าได้คณะ...โรงเรียน/มหาวิทยาลัย...


อืม...เก่งกันจัง (หว่ะ) ก็ในเมื่อประเทศไทยเรามีคนเก่งกันตั้งมากมายขนาดนั้น จึงไม่สามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้เอง ทำไมไม่แซงหน้าประเทศอื่นๆไปซะที เห็นมีแต่ข่าวออกมาว่าระบบการศึกษาไทยล้มเหลวลงทุกวันๆ


ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เผยอันดับโลกของการศึกษาไทยที่น่าสนใจ

การศึกษาไทย ติดอันดับโลก อยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ

1. จำนวนผู้เรียน ติดอันดับ 5 ของโลก

            จำนวนผู้เรียนต่อห้อง 40-50 คน ยิ่งโรงเรียนไหนมีชื่อเสียงจำนวนนักเรียนก็ยิ่งมาก จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก็ทำได้ยาก นักเรียนเรียนแล้วกลายเป็นหุ่นยนต์ รู้แต่วิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีเดิมๆ แต่คิดไม่เป็น ถ้าโรงเรียนทุกโรงเรียนสอนเหมือนกันหมดครูผู้สอนก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ถ้าเป็นเช่นนั้น คัดเลือกครูที่เก่งที่สุดในประเทศมาสอนแล้วอัดเป็นวีดิโอ สอนเหมือนกันหมดทั่วประเทศไม่ดีกว่าหรือ        
 
การที่ผู้เรียนมีจำนวนมากขนาดนั้น แถมมีจำนวนห้องเรียนหลายห้อง นอกจากนี้ บางสถาบันฯ ครู/อาจารย์ผู้สอนต้องรับผิดชอบทุกห้อง (ในวิชาของตนเอง) มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะใช้วิธีการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเป็นไปไม่ได้ด้วยที่ผู้สอนจะสามารถดูแลนักเรียน/นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง 
 
2. อาจารย์ไทย อายุเฉลี่ยของอาจารย์ไทยสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก


ครู/อาจารย์จำนวนมากมายที่เป็นประเภทแก่แล้วแก่เลย นั่งกอดตำแหน่งเอาไว้เพื่อกินเงินเดือน และเงินตำแหน่งไปวันๆ คนพวกนี้นอกจากจะไม่พัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความสามารถที่ทันต่อโลก ทันต่อเหตุการณ์ ทุ่มเทให้กับการทำหน้าที่ครู/อาจารย์ที่ดีแล้ว ยังมีความสามารถในการพัฒนาอัตตาของตัวเองให้สูงจนคับสถาบันฯ ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่จะเกิดผลกระทบกับตนเอง ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นผลประโยชน์อย่างยิ่งกับนักเรียน/นักศึกษา และครู/อาจารย์รุ่นใหม่ๆ

(ข้อนี้ดิฉันขอยกเว้น ครู/อาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็นปูชนียาจารย์ที่ทรงคุณค่า มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ช่วยเหลือและพยายามสร้างสรรค์สังคม ซึ่งควรแก่การยกย่องนะคะ เพราะมีเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน)


3. เวลาที่นักเรียนใช้ในห้องเรียน อันดับ 1 ของโลก
         
            นักเรียนไทยใช้เวลาในห้องเรียนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ทั้งเรียนในห้องไปกวดวิชา ท่องหนังสือหลังจากกลับมาบ้าน ท่องได้หมด ทำข้อสอบได้คะแนนสูง แต่มันเป็นสิ่งหลอกลวง มารู้ตัวตอนที่เล่นไพ่แพ้เด็กหลังห้อง เกรดจึงไม่ใช่สิ่งวัดว่าใครเก่ง หรือไม่เก่ง ไม่น่าแปลกใจที่เราใช้เวลาในห้องเรียนมากที่สุด โรงเรียนเลยกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อ ไม่มีเด็กคนไหนดีใจที่ได้ไปเรียน หรือเสียใจที่มีวันหยุดไม่ต้องไปเรียน 


ในห้องเรียน จึงเป็นที่ที่คนสองพวกมาพบกัน คือ พวกหนึ่งคือพวกไม่อยากสอน สอนทั้งวัน สอนเหมือนเดิมมาตลอด 10 ปี อีกพวกหนึ่งคือพวกไม่อยากเรียน โดนบังคับให้มาเรียน ดร.วิริยะ กล่าวอีกว่า หากได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจะให้โรงเรียนเลิกบ่ายโมง จำนวนนักเรียนห้องละ 25 คน ใส่ชุดอะไรก็ได้ไปเรียน ไม่เช็คเวลาเรียน เพราะหากนักเรียนรู้สึกว่าถูกบังคับให้มาเรียนปัญญาก็จะไม่เกิด 

ถ้าเวลาในการเรียนในห้องน้อยเด็กยิ่งอยากเรียนมาก เมื่อเรียนในห้องรู้สึกว่าน้อยเค้าจะไปตั้งกลุ่มตามความสนใจของเค้า เราตั้งโจทย์ไปเด็กก็จะค้นหาคำตอบเค้าก็จะได้เรียนรู้ ถ้าเค้าไม่อยากเรียนก็ไม่ต้องเรียน เพราะเค้าไม่ได้อยากรู้ จะไปบังคับให้เค้าอยากรู้ทำไม บางสิ่งบางอย่างไม่จำเป็นในการใช้ในชีวิต ตัวอย่างเช่น การหาพื้นที่วงกลม พายอาร์กำลังสอง หรือนักวอลเลย์ก็ไม่ต้องคำนวณว่าจะตีด้วยแรงกี่นิวตันถึงจะตีข้ามเน็ต 

แต่หากบางคนต้องใช้ก็ต้องเรียน ไม่จำเป็นต้องเรียนทุกคน แล้วแต่ว่าจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องอะไรก็เรียนเฉพาะเรื่องนั้น นั่นคือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ผู้ปกครองบางท่านอาจมองว่า ก็ดีแล้วไงครับ/ค่ะที่เด็กอยู่กับครู ใช้เวลาอย่างมีประโยชน์ในการเรียนเข้าไปมากๆ จะได้ไม่เสียเวลาไปกับการเล่นเกม เดินเล่นตามห้าง หรือคบเพื่อนที่ไม่ดี ฯลฯ...ก็ถูกค่ะ...

แต่ท่านทราบหรือไม่คะว่า นั่นคือการร่วมมือกัน "กำจัด" นักพัฒนามืออาชีพ ผู้นำทางความคิด ผู้นำทางนวัตกรรม ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในอนาคต ให้เหลือแค่นักท่องจำ นักจด ผู้ตาม นักลอกเลียนแบบจนเต็มประเทศไทย
 
นักเรียนไทยอยู่ในห้องเรียนมากเหลือเกินค่ะ แต่ละคนได้รับการป้อนข้อมูลเข้าไปจนข้อมูลแทบจะล้นฮาร์ดดิสก์ของสมอง ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านั้นไม่เคยนำออกมาใช้ประโยชน์ได้เลยในชีวิตประจำวัน จนอยากเรียกมันว่าข้อมูลขยะในสมอง


นักเรียนต้องเรียนพิเศษกันแทบทุกวัน เรียกว่าตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนขึ้นมาจนถึงหัวถึงหมอน เพราะคุณครูขยันออกข้อสอบที่ยากๆ กันเข้าไว้ ถ้าไม่เรียนพิเศษกับฉัน...เธอตกแน่...ส่วนคนที่ทำได้คะแนนได้สูงคือคนที่ "จำ" ได้มาก หรือมี "เทคนิค" ในการทำข้อสอบได้ดี

ท่านผู้ปกครองทราบกันไหมคะว่า เมื่อต่อเนื่องมาถึงระดับอุดมศึกษา หากอาจารย์ผู้สอนสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อให้วิเคราะห์สถานการณ์ หรือแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้พื้นฐานที่เพิ่งเรียนผ่านมา ห้องเรียนจะเงียบกริบราวป้าช้า ไม่ต้องพูดถึงการเรียนการสอนในรูปแบของการนำเสนอความคิด/ความเห็นเชิงวิเคราะห์, วิพากษ์ ว่าจะเป็นเช่นไร


นักศึกษาชอบให้ยกตัวอย่างที่เป็นสถานการณ์จริง แล้วให้วิทยากร/ผู้สอนบอกว่าจะต้องแก้สถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อที่พวกเขาจะได้ทำตาม


ท่านคิดว่าเมื่อบุคคล เวลา สถานที่ สถานการณ์อื่นๆ แตกต่างกัน วิธีการแก้ปัญหาเดิมๆ จะยังคงใช้ได้ดีอยู่หรือคะ 



จะทำอย่างไรกันดี เมื่ออนาคตของประเทศฝากไว้กับลูกหลานของเราเหล่านี้

"เราทุกคน"ค่ะ ไม่ใช่เพียงแค่สถาบันการศึกษาทุกระดับเท่านั้น ทั้งผู้ปกครอง ครู/อาจารย์ ผู้บริหารทุกระดับ ต้องหันมาร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับวงการการศึกษาไทย เพื่อให้ลูกหลานของเราได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเมื่อจบการศึกษา แทนที่ลูกหลานของเราจะฉลาดน้อยลง (โง่) เท่าเทียมกันทุกคนในวันรับปริญญาบัตรเช่นในปัจจุบันนี้


หากการศึกษาไทยยังไม่ได้รับการพัฒนา และปล่อยให้เป็นอยู่เช่นทุกวันนี้ อีกไม่นานคาดว่าการศึกษาของบ้านเราคงจะติดอันดับโลกในเรื่องทำนองนี้อีกหลายเรื่องแน่นอน 

เราควรจะร่วมมือร่วมใจกัน เริ่มที่ตัวเราเองก่อน ปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ อย่าไปยึดติดกับคะแนน หรือสถาบันให้มากนัก ผู้ปกครองก็ควรเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ไม่กดดัน หรือบังคับบุตรหลานมากจนเกินไป ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เชื่อว่ามันต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแน่นอนค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น