แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความคิดเกี่ยวกับรัฐไทยในฐานะ “นักล่าอาณานิคม

ที่มา ประชาไท


 
ขบวนการBRN แถลงการณ์ผ่านคลิปวีดีโอทาง Youtube เมื่อวันที่26 เมษายน คลิปดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างในคืนวันที่ 27และมีรายงานข่าวอย่างกว้างขวางตั้งแต่วันที่ 28 ต้นไป
 
แถลงการณ์ของ BRNครั้งนี้ทำให้สังคมไทยตกใจกันใหญ่ ความตกใจนั้นอาจะเกิดจากสาเหตุ3ประการ ประการแรก นี่คือครั้งแรกที่องค์กรซึ่งก่อนหน้านี้รักษาความลับอย่างเข้มงวดเปิดตัวต่อ หน้าสาธารณะ สำหรับหลายๆ คน คลิปดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสครั้งแรกที่ได้ยินเสียงของ อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ สาเหตุที่สองคือ ในคลิปที่มีความยาวประมาณ 5 นาที ตัวแทนของ BRN ทั้งสองคนใช้ภาษามลายูกลางที่มีมาตรฐานสูงตลอดช่วงเวลาแถลงการณ์โดยไม่ใช้คำ ศัพท์ภาษาไทยแม้แต่คำเดียว และ สาเหตุสุดท้ายคือ การใช้คำว่า “นักล่าอาณานิคมสยาม” สำหรับเรียกรัฐไทย
 
ก่อนหน้านี้ไม่มีใคร (กล้า) เรียกรัฐไทยเป็นนักล่าอาณานิคม และคนไทยก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นนักล่าอาณานิคม เพราะตามความเข้าใจประวัติสาสตร์แบบไทย/สยาม ดินแดนปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณและมีสิทธิที่จะ ปกครองดินแดนแห่งนี้อย่างชอบธรรม         
 
การที่มองรัฐสยามเป็นนักล่าอาณานิคมนั้นเกิดขึ้นจากทัศนคติทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากฉบับประวัติศาสตร์ที่คนไทยรู้จักกัน
 
ผมเริ่มเรียนภาษามลายูในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นและเคย อ่านหนังสือภาษามลายูหลายเป็นจำนวนมาก หลังจากเรียนจบแล้ว ผมก็ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมาลายาประเทศมาเลเซีย และทำงานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบภาษามลายูกลางกับภาษามลายูถิ่นปาตานี ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยของผมก็ได้จากหนังสือและเอกสารภาษามลายูหรือภาษา อังกฤษทางด้านมลายูศึกษา ไม่ใช่ข้อมูลทางด้านไทยศึกษา แต่เมื่อผมเรียนภาษาไทย และเริ่มอ่านหนังสือภาษาไทย ผมเองก็ตกใจกับประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นไทย เพราะมันแตกต่างไปจากสิ่งที่ผมเคยเรียนมาอย่างมาก 
 
ดร. วรวิทย์ บารู สมาชิกวุฒิสภาจากจังหวัดปัตตานี ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยมาลายา ได้อธิบายในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งว่าการใช้คำว่า นักล่าอาณานิคมสยาม เป็นเรื่องธรรมดาในภาษามลายู ทัศนคตินี้ถูกมองว่าเป็นทัศนคติที่ถูกต้องโดยบรรดานักประวัติศาสตร์ด้วย หนังสือประวัติศาสตร์ปาตานีที่ใช้คำว่า นักล่าอาณานิคมสยามก็สามารถพิมพ์และจำหน่ายได้โดยไม่เคยถูกห้าม
          
แถลงการณ์ของ BRN ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับสังคมไทยที่เผชิญกับประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน เพราะถ้าอาเซียนต้องการจะเป็นประชาคมที่มีความเข้มแข็งเหมือนสหภาพยุโรป (EU) จำเป็นต้องมีความสามัคคีในบรรดาประเทศสมาชิก ในทางกลับกัน การที่ขาดความเข้าใจต่อทัศนคติทางประวัติศาสตร์ของประเทศอื่นๆ คงจะเป็นที่มาของปัญหาอย่างแน่นอน ดังนั้น แต่ละประเทศสมาชิกควรทราบว่า ประเทศอื่นๆมีทัศนคติทางประวัติศาสตร์อย่างไร ความรู้ด้านนี้ย่อมมีความสำคัญมากกว่าการปักธงชาติหรือให้ความรู้ผิวเผินเกี่ยวกับประเทศสมาชิก
          
ประเทศบางประเทศมีทัศนคติที่ค่อนข้างรุนแรงต่อประเทศของตนเนื่องจากมี ประวัติศาสตร์ฉบับที่แตกต่างกันผมขอยกตัวอย่างจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก
          
ในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองของ เกาหลีใต้และจีนจะเน้นการกระทำของกองทัพญี่ปุ่นอาทิ ความโหดร้าย ทารุณกรรม การปกครองที่อยุติธรรมและความยากลำบากที่เกิดขึ้น รวมถึงการบังคับให้เป็นหญิงบริการทางเพศ  แต่สิ่งเหล่านี้ นักการเมืองปีกขวาและพวกคลั่งชาติจากญี่ปุ่นก็ไม่ยอมรับ และทัศนคติทางประวัติศาสตร์เป็นที่มาของปัญหาทางการทูตในภูมิภาคนี้เป็น ประจำ
          
สถานการณ์เช่นนี้ยังเป็นอุปสรรคในการสร้างมิตรภาพที่แท้จริงในภูมิภาค เอเชียตะวันออก ทั้งๆ ที่ประเทศในภูมิภาคนี้มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กันอย่างใกล้ชิด  แม้แต่การที่เป็นเจ้าภาพร่วมบอลโลก 2002 ระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นก็ไม่เอื้อต่อการสร้างมิตรภาพเพราะมีอุปสรรคทาง ประวัติศาสตร์ดังกล่าว และจนถึงบัดนี้ บรรดาประเทศเอเชียตะวันออกยังไม่สามารถสร้างประชาคมภูมิภาคในรูปแบบใดๆ
          
จากตัวอย่างข้างบนสิ่งที่ชัดเจนคือถ้าหากว่าประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ยอม รับความแตกต่างทัศนคติทางด้านประวัติศาสตร์ความศามัคคีมิอาจเกิดขึ้นและอา เซียนก็แค่เป็นการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคที่เปราะบางที่ไม่มีอำนาจใดๆ
          
สังคมไทยจะยอมรับประวัติศาสตร์ฉบับที่ฝ่าย BRN นำเสนอ ที่มองประเทศไทยเป็นนักล่าอาณานิคมหรือไม่ยอมรับก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของ สังคมไทย แต่นี่คือประวัติศาสตร์ของบรรดาประเทศในอาเซียนที่ใช้ภาษามลายู
          
ภูมิภาคหมู่เกาะมลายูมีชื่อเรียกในภาษามลายูว่านูซันตารา (Nusantara)  ภูมิภาคนี้เคยตกเป็นเมืองขึ้นของบรรดาประเทศมหาอำนาจตะวันออกในประวัติ ศาสตร์ของนูซันตารา จุดสูงสุด (climax) อยู่ที่ช่วงเวลาที่ประเทศ“บรรลุเอกราช” (ภาษามลายูใช้คำว่า mencapai kemerdekaan) ไม่ใช่ “ได้รับเอกราช” เพราะเอกราชคือผลที่เกิดจากการต่อสู้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้วมีคนที่จะมาให้กับเราผู้นำของประเทศในขณะที่ “บรรลุเอกราช”อย่างเช่น ประธานาธิบดีซูการ์โน แห่งประเทศอินโดนีเซียหรือนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งประเทศมาเลเซีย ตนกู อับดุล ราห์มัน ปุตรา ได้รับความยกย่องอย่างสูงเป็น“บิดาแห่งเอกราช” (Bapa Merdeka) ฉะนั้น การต่อสู้ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านี้คือการต่อสู้เพื่อ ปลดปล่อยดินแดน
          
ในการสร้างประชาคมระดับภูมิภาคที่แข็งแรงในยุคที่แต่ละประเทศสามารถสอน หรือบังคับประวัติศาสตร์ของตนอย่างเดียว  ประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อสร้างความสามัคคีโดยการ สร้างศัตรูของชาติขึ้นมากำลังจะสิ้นสุดลง  ในยุคต่อไป ประวัติศาสตร์ควรจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจกันระหว่างประเทศ
          
ในสหภาพยุโรป ประเทศที่เคยรบกันมานาน เช่นฝรั่งเศสและเยอรมัน เริ่มใช้ตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่แนะนำเวอร์ชั่นประวัติศาสตร์ของทั้ง สองประเทศ นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความเข้าใจระหว่างกันในทางประวัติศาสตร์ เพราะการที่ยึดถือประวัติศาสตร์ฉบับเดียวโดยปฏิเสธฉบับอื่นๆมีแต่จะสร้าง ความแตกแยกเท่านั้น
          
แถลงการณ์ของ BRNนั้นคือบททดสอบสำหรับสังคมไทยที่มาก่อนถึงเวลาประชาคมอาเซียนเปิดตัวนี่ คือประวัติศาสต์ฉบับที่สังคมไทยต้องเผชิญหน้าภายในเวลาอีกสองปีเศษ
 
 
 
เผยแพร่ครั้งแรกที่: วารสาร รูสมิแล  มอ. ปัตตานี
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น