แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความเท่าเทียมกันทางโอกาสกับการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชากรไร้ความสามารถ

ที่มา ประชาไท


ในโลกเศรษฐกิจปัจจุบันได้มีการสถาปนาความขอบธรรมของการแข่งขัน (competition) ในระบบเศรษฐกิจของมนุษย์ ต้นกำเนิดทางความชอบธรรมทางการแข่งขันมีหลายทฤษฎี โดยหนึ่งในนั้นสร้างมาจากเหล่านักสังคมวิทยาที่นิยมชาร์ส ดาร์วิน โดยการนำทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติของ ดาร์วินส์ มาอธิบายถึงความถูกต้องในการแข่งขันในสนามเศรษฐกิจของมนุษย์ ว่าตามธรรมชาติที่มีทรัพยากรจำกัด สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้ดีกว่า (เหนือกว่า) ย่อมสามารถมีโอกาสที่จะรอดชีวิตมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (สิ่งมีชีวิตที่ต่ำกว่า) และในสายเสรีนิยมต่างนิยามว่ากรรมสิทธิ์ของปัจเจกชนเป็นสิทธิตามธรรมชาติ บุคคลย่อมสามารถครอบครองสิ่งที่ได้มาตามการทำงานของเขา
อย่างไรก็ตามโลกของการแข่งขันในความเป็นจริงก็มิได้เป็นอย่างที่เหล่า เสรีนิยมได้วาดฝันไว้ เพราะสังคมมิได้ปกครองอย่างแบนราบแต่เป็นการปกครองที่แบ่งชนชั้นออกเป็นปิรา มิด และมีสถาบันสังคมที่เอื้อสิทธิประโยชน์แต่ละกลุ่มประชากรไม่เท่ากัน ในขณะเดียวกันประชากรก็มีความหลากหลายทั้งทางด้านชีววิทยา สรีรวิทยา ความคิด วัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเชื้อเพาะความคิดที่แบ่งแยกเลือกปฏิบัติระหว่างกลุ่มประชากรที่มี ความแตกต่างดังกล่าว ความคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรโดยผู้ที่มีอำนาจ ต่อรองมากกว่าย่อมสามารถกีดกันกลุ่มประชากรที่มีอำนาจต่อรองได้น้อยกว่า
การเลือกปฏิบัติ (discrimination) ในสังคมมีหลายรูปแบบ เช่น เชื้อชาติ ผิวสี เพศ ศาสนา ความร่ำรวย ระดับการศึกษา ชาติตระกูล เป็นต้น ทฤษฎีความเท่าเทียมกันทางโอกาสจึงถูกสร้างมาเพื่อแก้ปัญหาความอยุติธรรมใน สังคม อันเนื่องมาจากสาเหตุของการเลือกปฏิบัติกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรเนื่องจาก ความแตกต่างทางโครงสร้างสถาบันสังคม หรือความแตกต่างทางการกำเนิดซึ่งนอกเหนือจากการกำหนดของปัจเจกบุคคล
ประวัติศาสตร์ของอเมริกาผ่านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและสีผิวอย่าง โหดร้าย หลักการปกครองแบ่งแยกแต่เท่าเทียม (seperate but equal) ตั้งแต่ปี 1890-1974) โดยมีการแบ่งแยกสาธารณูปโภค เขตที่อยู่อาศัย การบริการสาธารณะ อาชีพการงานระหว่างคนขาวกับคนดำ ทำไมถึงมีการเลือกปฏิบัติแต่เท่าเทียมกันได้ ข้ออ้างที่ให้ความชอบธรรมดังกล่าวคือ ถึงแม้มีการแบ่งแยกแต่ก็ยังมีการแข่งขันที่เท่าเทียมซึ่งคนที่มีความสามารถ ย่อมได้ผลตอบแทนตามการงานของตน เช่น ในมหาวิทยาลัยคนขาว จะมีเฉพาะคนขาวสมัครสอบแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันและผลสอบจะดีจะแย่ก็ขึ้น อยู่กับความสามารถของคนขาว

ในมหาวิทยาลัยของคนดำก็มีการแข่งขันกันใน หมู่คนดำ ผู้ที่มีความสามารถก็ได้คะแนนตามความสามารถ โดยไม่มีการข้ามกันระหว่างมหาวิทยาลัยคนขาวกับมหาวิทยาลัยคนดำ ในด้านหน้าที่การงานก็มีการแบ่งกันระหว่างหน้าที่การงานเฉพาะคนขาวกะ บหน้าที่การงานเฉพาะคนดำ ตำแหน่งการงานของคนขาวคนขาวคนไหนจะได้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขัน ส่วนหน้าที่การงานของคนดำคนดำคนไหนจะได้ย่อมแล้วแต่ความสามารถของคนดำ แต่หน้าที่การงานดีๆและมีผลตอบแทนเช่นงานออฟฟิศกลับสงวนไว้ให้คนขาว และหน้าที่ที่ใช้แรงงานสูงค่าแรงต่ำ เช่น ภารโรง แม่บ้านก็สงวนให้เฉพาะคนดำ หลักการแบ่งแยกแต่เท่าเทียมก็กลายเป็นหลักการที่ย้อนแย้งและไร้ความเท่า เทียมกัน
ทฤษฎีความเท่าเทียมกันทางโอกาสในเริ่มต้น เป็น Formal Equality of Opportunity โดยการเปิดโอกาสให้คนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้าถึงหน้าที่การงาน แต่จะประสบความสำเร็จได้หน้าที่การงานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าความสามารถของ ผู้สมัครดีพอหรือเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ที่สมัครหรือไม่ ภายใต้สนามการแข่งขันที่มีกฎแน่นอนและไม่มีการแทรกแซง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งเปิดสมัครตำแหน่งบริหารหนึ่งตำแหน่ง ต้องประกาศสู่สาธารณชนพื่อให้ทุกคนรับทราบและยื่นใบสมัคร โดยมิได้มีการกำหนดคุณสมบัติที่สามารถกีดกันกลุ่มประชากรบางกลุ่มในการเข้า สมัครได้ และนำผู้สมัครทุกคนมาเข้าสอบด้วยข้อสอบที่เหมือนกัน และผู้ที่ได้รับการคัดเลือกคือผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด หรือในบางบริษัทกำหนดให้ผู้สมัครไม่ต้องกรอก ชื่อ นามสกุล เพศ เชื้อชาติ เพื่อมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

หลักการดังกล่าวฟังดูเหมือนเปิดโอกาส ให้ทุกคนได้เท่าเทียมกันอยู่ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่พ้นมายาคติเรื่องความชอบธรรมของการแข่งขัน และความสามารถของปัจเจกบุคคล การให้ทุกคนมีโอกาสยื่นใบสมัคร ไม่ได้หมายความว่าทุกคนได้งานอัตโนมัติ แต่ต้องผ่านทัศนคติของผู้พิจารณางาน ซึ่งถึงแม้ผู้พิจารณามิได้มีเจตนคติในการเลือกปฏิบัติก็ตาม แต่ก็อาจกระทำการเลือกปฏิบัติโดยไม่รู้ตัวได้ เช่น สมมติผู้สมัครสองคนคะแนนเท่ากันแต่จบจากสถาบันการศึกษาแตกต่างกัน แต่เนื่องจากมีตำแหน่งงานเดียว และผู้พิจารณาต้องเลือกเพียงคนเดียวซึ่งเขาอาจเลือกผู้สมัครที่จบมาจาก สถาบันการศึกษาเดียวกันโดยไม่รู้ตัวเพราะความเคยชิน หรือข้ออ้างเรื่องความเหมาะสมของหน้าที่การงานส่งผลให้บริษัทต้องกำหนด คุณสมบัติขั้นพื้นฐานที่สัมพันธ์กับความสามารถ เช่น ในตำแหน่งงานบริหารระดับสูงได้กำหนดบุคคลที่จบการศึกษาขั้นต่ำ ป ตรี หรือ มีประสบการณ์ทำงานเป็นต้น และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว
การให้ความชอบธรรมของความสามารถของปัจเจกบุคคล ใน Formal Equality of Opportunity เองก็สามารถเกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่รู้ตัวเนื่องมาจากอิทธิพลความแตกต่าง ทางสถาบันสังคม เพราะความสามารถของปัจเจกชนนั้นมิขึ้นอยู่กับความสามารถแต่กำเนิดเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นเช่น การศึกษา เป็นต้น ความแตกต่างทางเชื้อชาติและสีผิว หรือ ความร่ำรวย อาจส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษา และส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมกันในด้านการแข่งขันเพื่อให้ได้หน้าที่การงาน  เช่น การกำหนดให้ผู้สมัครมีวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรี แต่ในประชากรผิวขาวทุกคนมีโอกาสศึกษาและจบปริญญาตรีทุกคน แต่คนดำมีเพียงคนจำนวนน้อยที่สามารถจบปริญญาตรีได้เป็นต้น
Equal of Opportunity จึงมีการพัฒนาขึ้นมาอีกรูปแบบคือ Substantive Equality of Opportunity ขึ้น โดยเป็นการสร้างโอกาสให้คนทุกคนมีโอกาสในการแข่งขันที่ยุติธรรมโดยลดอิทธิพล ของความแตกต่างด้านสถาบันสังคม เช่น ถ้ากรณีก่อนการแข่งขัน ประชากรคนดำมีพื้นฐานในการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกับประชากรผิวขาว เช่น คนดำมีพื้นฐานการศึกษาที่ไม่เท่ากันเนื่องจาก ประชากรคนดำมีรายได้ยากจนไม่สามารถเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้ ในขณะที่ประชากรกลุ่มขาวสามารถเข้าถึงการศึกษาได้เพราะมีฐานะร่ำรวย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางโอกาสรัฐจึงต้องสรรหาบริการการศึกษากับประ ชากผิวดำให้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพได้เหมือนกลุ่มประชากรผิวขาว เป็นต้น
อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาทั้งหมด Equality of Opportunity ทุกรูปแบบก็ยังวางอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันและความสามารถปัจเจกบุคคลเช่น เคย ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มประชากรบางกลุ่มที่มีความแตกต่างทางชีววิทยาและสรีรวิทยา โดยเฉพาะประชากรกลุ่มพิการไร้ความสามารถ และความพิการทางสมอง ซึ่งมีขีดจำกัดในการพัฒนาศักยภาพความสามารถไปแข่งขันกับบุคคลธรรมดาในการได้ หน้าที่การงาน ทั้งนี้วิทยาการปัจจุบันไม่สามารถทดแทนข้อเสียเปรียบของเขาได้ทุกกรณี เช่น กรณีที่ขาขาดวิทยาการปัจจุบันสามารถสร้างขาเทียมที่ช่วยทดแทนได้ถึงแม้จะ เป็นการทดแทนได้บางส่วน แต่กรณีผู้ป้วยทางสมองนั้น ปัจจุบันยังไม่มีวิทยาการที่สามารถสร้างสมองเทียมเพื่อชดเชยความสามารถที่ ขาดหายไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เรียนรู้ช้าคงมีโอกาสยากที่จะสามารถสอบได้ที่หนึ่งหรือชิงทุนกับผู้ แข่งขันคนอื่นที่ไม่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้
ซึ่งถ้าสังคมยังคงให้ความสำคัญกับหลักคิดข้างต้นแล้ว ก็เท่ากับเป็นการปิดโอกาสการทำงานกับกลุ่มประชากรไร้ความสามารถโดยปริยายโดย เฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการทางสมอง และบังคับให้เขาต้องกลายเป็นภาระแก่สังคม ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพทำงานได้เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวผู้พิการเอง และกดขี่ให้ประชากรกลุ่มนี้เป็นพลเมืองที่ถูกละเลย ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ฝรั่งเศสจึงหามาตรการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มประชากรดังกล่าวโดยเป็นการเลือก ปฏิบัติ (positive discrimination) เพื่อช่วยเหลือให้ประชากรดังกล่าวไม่ต้องผ่านการแข่งขันอันดุเดือดเพื่อให้ ได้งาน แต่ได้รับความช่วยเหลือเพื่อให้ได้งานและสร้างสภาพแวดล้อมพิเศษเพื่อเปิด โอกาสให้เขาพัฒนาศักยภาพการทำงานที่เขาทำมากขึ้นๆ เช่นการออกกฎหมายยกเว้นบริษัทในการจ่ายเบี้ยประกันสมทบให้กับลูกจ้างที่ไร้ ความสามารถ การลดภาษีให้กับบริษัทที่ว่าจ้างผู้พิการ เพื่อดึงดูดให้เอกชนจ้างพวกเขามากขึ้น และมีการกำหนดโควตาขั้นต่ำของบริษัทต้องมีจำนวนพนักงานพิการเป็นจำนวน เท่าใดๆ โดยปัจจุบันได้กำหนดให้มีคนงานพิการอย่างน้อย 110,000 คน หรืออย่างกรณีตัวอย่างหนังเรื่อง I am Sam ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งกำหนดโควตาว่าจ้างผู้พิการทางสมองอย่าง Sam ให้เข้าทำงานผ่านช่องทางพิเศษที่ไม่ต้องแข่งขันกับคนปกติทั่วไป และถึงแม้ Sam ทำงานได้ประสิทธิภาพต่ำกว่าคนทั่วไปก็ยังคงได้ทำงานต่อไป
ข้อคิดต่อการให้โอกาสของเวิร์คพอยท์    
จากที่กล่าวข้างต้นการแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งหน้าที่การงาน ถึงแม้เราจะสร้างความเท่าเทียมกันทางโอกาสให้เกิดขึ้นมาเพื่อเกิดการแข่งขัน อย่างยุติธรรมตามความสามารถของปัจเจกชน ทฤษฎีดังกล่าวก็มีข้อจำกัดในกลุ่มผู้พิการสมอง และทำให้เราไม่สามารถวางความเชื่อชุดเดียวว่าการแข่งขันตามความสามารถคือ ความยุติธรรม แต่กลุ่มพิการดังกล่าวต้องการได้มากกว่าความเท่าเทียมกันทางโอกาสและต้องการ การเลือกปฏิบัติพิเศษเพื่อช่วยเหลือพวกเขา
โดยธรรมชาติของรายการโชว์ที่เน้นการแข่งขันทางความสามารถของผู้สมัคร ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะอำนวยโอกาสให้กับผู้พิการสมอง ถ้ามองว่าการให้โอกาสออดิชันของทุกคนที่สมัครไม่ว่าจะพิการทางสมองหรือไม่ (ผมไม่มั่นใจว่าผู้สมัครมีความผิดปกติทางจิตหรือทางสมองหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้สมมติถ้าผู้สมัครมีความผิดปกติจริง) มันก็คือการให้โอกาสในรูป Formal of Equality of Opportunity ซึ่งตามบทความข้างต้นก็แสดงแล้วว่า วิธีคิดนี้มันไม่เพียงพอ และถ้าบริษัทเวิร์คพอยท์ปราถนาดีอยากให้โอกาสกับผู้พิการทางสมอง ทางรายการต้องเลือกปฏิบัติกับเขาเป็นพิเศษในการให้แต้มต่อ เพื่อให้ผู้พิการมีโอกาสชนะเท่ากับคนอื่นๆมิใช่แค่ให้เขาออกรายการโทรทัศน์ โดยบอกว่าเป็นการให้โอกาส ซึ่งบทเรียนนี้ก็มีข้อดีในการเตือนสังคมไทยเพื่อทบทวนกับนโยบายที่มีต่อผู้ พิการอีกครั้ง


จากบทความเดิมชื่อ: ความเท่าเทียมกันทางโอกาสกับการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชากรไร้ความสามารถ (Equal of Opportunity and Disabilities Discrimination)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น