แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เจาะโครงการ PRISM บิ๊กบราเธอร์นักสอดแนมตัวใหม่ของสหรัฐฯ

ที่มา ประชาไท


มีการเปิดเผยเอกสารลับเรื่องโครงการสอดแนมอินเตอร์เน็ตของสหรัฐ ผ่านบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Facebook หรือ Google ซึ่งทางการสหรัฐฯ ออกมายอมรับ แต่บริษัทไอทีปฏิเสธความเกี่ยวข้อง ในขณะที่หน่วยงานสอดแนมของอังกฤษถูกเปิดโปงอีกราย เรื่องใช้โครงการสอดแนมของสหรัฐฯ มาใช้กับคนในบ้านตัวเอง
 
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2013 สำนักข่าวจากประเทศอังกฤษรายงานว่ารัฐมนตรีของอังกฤษกำลังถูกกดดัน หลังจากถูกเปิดเผยกรณีที่พวกเขามีคำสังให้สำนักงานการสื่อสารของรัฐบาล (GCHQ) ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองของอังกฤษ ลักลอบเก็บข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างลับๆ จากบริษัทยักษ์ใหญ๋โลกผ่านโครงการ 'ปริซึม' (PRISM Programme) ของสหรัฐฯ
 
โครงการ PRISM เป็นโครงการของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ที่ทำงานร่วมกับบริษัท Verizon ในการสอดแนมข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคน เรื่องดังกล่าวนี้ถูกเปิดเผยในสื่อเดอะ การ์เดียนของอังกฤษ และสำนักข่าววอชิงตันโพสท์ของสหรัฐฯ โดยอ้างอิงจากข้อมูลลับของรัฐบาลที่รั่วไหลออกมาเป็นข้อมูลโปรแกรมพาวเวอร์ พอยท์ 41 หน้าเกี่ยวกับเรื่องโครงการ PRISM และบริษัทด้านเทคโนโลยนีที่เข้าร่วมโครงการ
 
รายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมโครงการถูกบันทึกเอาไว้ตั้งแต่ปี 2007 โดยมีไมโครซอฟท์เข้าร่วมเป็นบริษัทแรก ตามมาด้วย Yahoo ในปี 2008 Google ในปี 2009 ตามมาด้วย AOL, Apple, Facebook, PalTalk, Skype และ Youtube เมื่อเดือนตุลาคมปี 2012 
 
แต่บางบริษัทเช่น Google, Facebook และ Yahoo ก็กล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าร่วมโครงการ พวกเขาต่างบอกว่าไม่ได้อนุญาตให้รัฐบาล "เข้าถึงข้อมูลโดนตรง" ในระบบของพวกเขา และไม่เคยได้ยินเรื่องโครงการ PRISM มาก่อน
 
โดย แลร์รี่ เพจ ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ได้เขียนถึงเรื่องนี้ในเว็บล็อกของตัวเอง โดยบอกว่าทาง Google จะส่งข้อมูลของผู้ใช้ให้แก่รัฐบาลโดยมีกระบวนการตามกฏหมายเท่านั้น ทีมที่ปรึกษาด้านกฏหมายของพวกเขาจะคอยทำหน้าที่พิจารณาคำร้อง และส่วนใหญ่จะปฏิเสธไปเพราะคำร้องกล่าวอย่างกว้างๆ มากเกินไปหรือไม่ก็ไม่เป็นไปตามกระบวนการ
 
ขณะที่มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Facebook แสดงความไม่พอใจที่สื่อนำเสนอว่า facebook มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการตรวจตราอินเทอร์เน็ตของรัฐบาล โดยปฏิเสธว่า Facebook ไม่เคยมีส่วนใดๆ กับโครงการ ไม่เคยได้รับคำร้องจากรัฐบาลหรือคำสั่งศาล ในแง่การเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และถ้าหากมีคำสั่งเช่นนี้พวกเขาก็จะต่อสู้ขัดขืน นอกจากนี้ซักเกอร์เบิร์ก ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศมีความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับการสอดส่องเพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพื่อสร้างสังคมที่มีเสรีภาพในระยะยาว
 
อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเสรีภาพอิเล็กโทรนิกส์ (Electronics Frontier Foundation) แสดงความเห็นต่อคำอธิบายบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีว่า พวกเขาแค่กำลังพูดเล่นคำ "ถ้าหากคุณอ่านข้อความปฏิเสธของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ดูดีๆ แล้ว คุณจะเห็นว่าพวกเขาใช้คำอย่างระมัดระวัง และไม่ได้แสดงการปฏิเสธ" เนท คาร์โดโซ ทนายความประจำ EFF กล่าว
 
"พวกเขาต่างก็บอกว่า พวกเขาไม่ได้ให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ได้ 'โดยตรง' แต่สิ่งที่พวกเขาทำอาจจะเป็นการให้ข้อมูลผ่าน API (Application Programming Interface คือ ช่องทางเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของเว็บไซต์) ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลได้ 'ทางอ้อม' " เนท อธิบาย
 
เว็บไซต์ Pcworld.com เปิดเผยว่าข้อมูลที่ NSA สามารถเข้าถึงได้ ประกอบด้วย ข้อมูลอีเมลล์, วีดิโอ, การแช็ทผ่านระบบเสียงหรือผ่านวีดิโอ, การแช็ทด้วยเสียงผ่านไอพี (เช่น Skype) , การส่งไฟล์, ข้อมูลรายละเอียดโซเชียลเน็ตเวิร์ก และอื่นๆ โดยถ้าหากการรายงานข่าวเรื่อง Prism เป็นจริง ก็เป็นไปได้ว่า NSA อาจจะลักลอบเข้าสู่ข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์โดยที่ผู้ให้บริการเองไม่รู้ตัว
 
Pcworld กล่าวอีกว่า โครงการ PRISM อาจจะมาจากกฏหมายข้อกำหนดว่าด้วยการสอดแนมข้อมูลต่างชาติ (FISA Amendments Act of 2008) ที่มีการปรับปรุงใหม่เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2012 ซึ่ง NSA อ้างว่าเป็นการใช้ติดตามตัวผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายชาวต่างชาติ โดยข้อกำหนดนี้มีการให้อำนาจรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสอดแนมข้อมูลการสื่อสารในต่างประเทศ แต่นักวิจารณ์กล่าวว่ากฏหมายนี้ยังใช้ในการสืบค้นข้อมูลของประชาชนสหรัฐฯ เองได้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายค้น
 
ซึ่งเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบาม่า ได้ออกมายอมรับในเรื่องโครงการ PRISM ขณะเดียวกันก็กล่าวปกป้องมาตรการตรวจตราของรัฐบาลโดยบอกว่าการรายงานข่าวใน เรื่องโครงการ PRISM ก่อนหน้านี้มีการกล่าวเกินจริง
 
แม้ว่าก่อนหน้านี้โอบาม่าจะต้องรับมือกับกรณีอื้อฉาวเรื่องการดักฟัง โทรศัพท์ของผู้สื่อข่าวความมั่นคงรายหนึ่ง แต่ในกรณีนี้โอบาม่ากล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ทำการดักฟังโทรศัพท์แต่อย่างใด โดยปธน.สหรัฐฯ ยังได้บอกอีกว่าเขาพร้อมจะให้มีการอภิปรายในเรื่องความพยายามถ่วงดุลกัน ระหว่างเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวกับเรื่องความปลอดภัยของประขาชน ชาวอเมริกัน เนื่องจากทั้งสองเรื่องนี้หากอยากได้สิ่งหนึ่งต้องยอมแลกกับอีกสิ่งหนึ่ง
 
"คุณไม่สามารถมีความปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซนต์ไปพร้อมกับการมีความเป็นส่วนตัวร้อยเปอร์เซนต์ โดยไม่มีความยุ่งยากใดๆ เลย" โอบาม่ากล่าว
 
ขณะที่เจมส์ แคลปเปอร์ ประธาน NSA ซึ่งแม้จะออกมายืนยันเรื่องการมีอยู่จริงของโครงการ PRISM แต่ก็กล่าวว่าการรายงานข่าวเรื่อง PRISM มีหลายเรื่องไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยแคลปเปอร์อ้างว่าการสอดแนมของโครงการ PRISM จะไม่รวมไปถึงพลเมืองสหรัฐฯ ชาวสหรัฐฯ รายอื่นๆ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ และการเก็บข้อมูลในโครงการนี้สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ
 
"ข้อมูลที่ถูกรวบรวมภายใต้โครงการนี้เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากที่ พวกเราได้รวบรวมไว้ และใช้มันในการปกป้องประเทศชาติเราจากภัยหลายๆ ประเภท" เจมส์ แคลปเปอร์กล่าว
 
โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เปิดเผยว่าโครงการ PRISM อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศาลว่าด้วยการสอดแนมข้อมูลต่างชาติ ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ และรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งกระบวนการต้องมีการรับรองจากศาลโดยเป็นไปเพื่อไม่ให้มีการสอดแนมข้อมูล ของพลเมืองสหรัฐฯ
 
ทางด้านวุฒิสมาชิก แรนด์ พอล จากกลุ่มทีปาร์ตี้และเป็นฝ่ายเสรีนิยมของพรรครีพับลิกันกล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลของโทรศัพท์ Verizon เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญของประเทศอย่างร้ายแรง
 
ถ้าหากคำกล่าวอ้างของโอบาม่าและหน่วยงานความมั่นคงเป็นจริง หมายความว่า PRISM มีเป้าหมายในการใช้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ให้บริการเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล อีเมลล์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก ในการติดตามสอดส่องข้อมูลของบุคคลในต่างประเทศซึ่งเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่ พลเมืองสหรัฐฯ เพื่อตรวจตราภัยความมั่นคง ซึ่งล่าสุดก็ดูเหมือนว่ามีประเทศอังกฤษกลายเป็นหนึ่งในผู้ใช้บริการของ โครงการ PRISM นี้แล้ว
 
 
โครงการ PRISM กับองค์กรสอดแนมของอังกฤษ
 
หลังจากที่สำนักข่าวเดอะ การ์เดียน เปิดเผยเรื่ององค์กรด้านความมั่นคงที่คอยสอดส่องข้อมูลของประชาชนอย่าง GCHQ ได้อาศัยข้อมูลจากโครงการ PRISM ทั้ง ส.ส. นักวิชาการ และนักกิจกรรมในอังกฤษต่างก็พากันท้าทายรัฐบาลอังกฤษในเรื่องนี้ โดยที่ อีเวทท์ คูปเปอร์ รัฐมนตรีเงากระทรวงมหาดไทยของอังกฤษได้เรียกร้องให้คณะกรรมการด้านข่าวกรอง และความมั่นคง (ISC) ของรัฐสภาอังกฤษ มีการตรวจสอบการสอดแนมข้อมูลด้วยวิธีการดังกล่าว
 
ข้อมูลเรื่องความเกี่ยวข้องของอังกฤษกับโครงการดังกล่าวถูกเผยแพร่ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดย เดอะ การ์เดียน ระบุว่าโครงการ PRISM จะช่วยให้หน่วยงาน GCHQ ลัดขั้นตอนทางกฏหมายในการสืบค้นข้อมูลส่วนตัวเช่น อีเมลล์, รูปภาพ และวีดิโอ จากบริษัทอินเทอร์เน็ตภายนอกประเทศอังกฤษ
 
เอกสารที่รั่วไหลออกมาเปิดเผยว่าองค์กร GCHQ ของรัฐบาลอังกฤษ ได้รับรายงานข้อมูล 197 ชิ้น จากระบบ PRISM ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2011 - พ.ค. 2012 ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นร้อยละ 137 จากปีก่อนหน้านี้ 
 
ซึ่งเซอร์ มัลคอล์ม รีฟไคนด์ ประธานของ ISC กล่าวว่าพวกเขาจะได้รับรายงานเรื่องการที่ GCHQ ใช้โครงการ PRISM ในการลักลอบสอดแนมข้อมูลในเร็วๆ นี้
 
"ทาง ISC ตระหนักว่ามีคำครหาเรื่องการที่ GCHQ ได้รับข้อมูลจากโครงการ PRISM ของสหรัฐฯ" เซอร์มัลคอล์มกล่าว "ทาง ISC จะได้รับรายงานฉบับเต็มจาก GCHA ในเร็วๆ นี้ และจะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรหลังจากที่เราได้ข้อมูลแล้ว"
 
ทางด้านนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน และ รมต.มหาดไทยของอังกฤษ เทเรซา เมย์ ก็ถูกเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายละเอียดความเกี่ยวข้องระหว่างศูนย์ GCHQ และ PRISM โดยที่คีธ วาซ ประธานคณะกรรมการมหาดไทยจากการคัดเลือกโดยสภา ได้เขียนจดหมายเรียกร้องคำอธิบายจากเทเรซา เมย์
 
"ผมรู้สึกประหลาดใจมากจากการเปิดเผยเรื่องในครั้งนี้ ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลของชาวอังกฤษเป็นจำนวนมหาศาล ส่วนที่น่าหวาดผวาที่สุดคือการที่ประชาชนชาวอเมริกันและชาวอังกฤษโดยทั่วไป อาจไม่รู้ตัวเลยว่าโทรศัพท์ของพวกเขาและการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ของพวก เขาอาจถูกจับตาดูอยู่ ซึ่งนี้เหมือนเป็น 'ใบอนุญาตนักสอดแนม'  (snooper's charter) ที่ลับลอบกระทำ" คีธกล่าว ใบอนุญาตสอดแนมที่เขากล่าวถึงเป็นฉายาของกฏหมายสอดแนมข้อมูลอินเทอร์เน็ต ที่เทเรซา เมย์ อ้างว่าจะนำมาใช้ตรวจตรากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในอินเทอร์เน็ตหลังเกิด เหตุการณ์โจมตีในวูลวิช
 
พูดถึงความน่าหวาดผวา นิค พิคเคิลจากกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อสิทธิพลเมือง บิ๊ก บราเธอร์ วอทช์ (Big Brother Watch) บอกว่าเราควรตั้งคำถามอย่างหนักที่สุดว่าประชาชนชาวอังกฤษถูกละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัวโดยที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการทางกฏหมาย หรือไม่ได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยกระทำใดๆ หรือไม่
 
ทางด้านโฆษกของ GCHQ ยืนยันว่า การทำงานของพวกเขาเป็นไปตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด และการปฏิบัติการต่างๆ เป็นไปโดยมีการกำกับดูแล จากทั้งรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการสืบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการด้านข่าวกรองและความมั่นคง ขณะที่โฆษกของรัฐบาลกล่าวว่ายังไม่มีการยอมรับหรือปฏิเสธในกรณีของ GCHQ แต่ปฏิเสธจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าได้มีปรึกษาเรื่องนี้กับทางการสหรัฐฯ หรือไม่
 
เรื่องการอาศัยโครงการสอดส่องแบบข้ามทวีปเช่นนี้ ไม่เพียงสร้างความรู้สึกตื่นตระหนกเพราะถูกลอบสอดแนมข้อมูลส่วนตัว แต่ยังมีข้อถกเถียงกันด้านกฏหมายของทั้งสองประเทศ โดยที่โฆษกของสำนักงานกรรมธิการสารสนเทศของอังกฤษซึ่งเป็นองค์กรอิสระกล่าว ว่า การขยายความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนในอังกฤษหรืออาจรวมถึงประเทศ ยุโรปอื่นๆ อาจมีอยู่ในกฏหมายของสหรัฐฯ ที่บัญญัติให้บริษัทต้องมอบข้อมูลให้รัฐบาล แต่การกระทำเช่นนี้ขัดกับหลักกฏหมายคุ้มครองข้อมูลของยุโรป (European data protection law) รวมถึงกฏหมายคุ้มครองข้อมูลของประเทศอังกฤษเองด้วย
 
ถึงแม้ว่าในช่วงไม่ถึงปีที่ผ่านมาทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษได้เผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญเช่นเหตุการณ์ระเบิดในการแข่ง มาราธอนที่บอสตัน หรือเหตุการณ์มือมีดวูลวิช ที่อาจทำให้ทางการของพวกเขาได้โอกาสหยิบยกเรื่องการสอดส่องก่อการร้ายมาเป็น ประเด็นอีกครั้ง แต่การเปิดโปงเรื่องของโครงการ PRISM และการที่องค์กรความมั่นคงนอกประเทศสหรัฐฯ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้สอดส่องพลเมืองในประเทศตัวเอง ก็ชวนให้รู้สึกน่าเป็นห่วงเช่นกัน
 
 
เรียบเรียงจาก
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น