แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เผยรายงานชี้วัดเรื่องทุจริตปี 2013

ที่มา ประชาไท


องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ สำรวจความเห็นจากประชากร 1,000 คนของแต่ละประเทศเรื่องการคอร์รัปชั่นในประเทศตนเองและการติดสินบน โดยประเทศไทยมีร้อยละ 66 ที่คิดว่ามีการทุจริตเพิ่มมากขึ้น และส่วนมากคิดว่ากลุ่มที่ทุจริตคือหน่วยงานพรรคการเมืองและตำรวจ

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2013 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติหรือ Transparency International เผยแพร่ผลสำรวจการชี้วัดเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลกในปี 2013  (Global Corruption Barometer 2013) โดยทำการสำรวจความเห็นของประชาชน 114,000 คนจาก 107 ประเทศ ในช่วงระหว่างเดือน ก.ย. 2012 ถึงเดือน มี.ค. 2013 ในเรื่องความเห็นต่อการคอร์รัปชั่นของสถาบันต่างๆ ในประเทศ
ผลสำรวจโดยรวมระบุว่ามีการทุจริตมากขึ้น มีผู้เข้าร่วมการสำรวจร้อยละ 27 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วโลกบอกว่าพวกเขาต้องติดสินบนเพื่อที่จะสามารถเข้าถึง บริการสาธารณะได้ในช่วงเวลาที่มีการสำรวจ
ผลสำรวจระบุอีกว่าประชาชนราว 9 ใน 10 บอกว่าพวกเขาจะต่อสู้เพื่อต่อต้านการทุจริต และ 2 ใน 3 ของทั้งหมดบอกว่าพวกเขาปฏิเสธที่จะจ่ายค่าสินบน
ฮิวเกต์ ลาเบลล์ ประธานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ กล่าวว่าเมื่อวัดจากภาพรวมทั่วโลกแล้ว ยังมีกรณีของการติดสินบนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ประชาชนที่เชื่อว่าพวกเขามีอำนาจในการต่อต้านการใช้อำนาจอย่างผิดๆ  การสร้างข้อตกลงแบบมีลับลมคมใน และการติดสินบน ก็มีอยู่จำนวนมากเช่นกัน
ทั้งนี้ จากผลสำรวจการทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลกในปี 2013 พบอีกว่าสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาในการใช้ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นก็เป็น สิ่งที่เชื่อใจไม่ได้เช่นกัน เช่นใน 36 ประเทศมองว่าตำรวจเป็นสถาบันที่มีการทุจริตสูงสุด และในประเทศเหล่านั้นมีประชาชนโดยเฉลี่ยร้อยละ 53 เคยถูกเจ้าพนักงานเสนอให้ติดสินบน ขณะที่มี 20 ประเทศ มองว่าสถาบันตุลาการเป็นหน่วยงานที่มีการทุจริตสูงสุด และในประเทศเหล่านั้นมีประชาชนอยู่ร้อยละ 30 ที่เคยถูกขอให้ติดสินบนในกระบวนการยุติธรรม
ลาเบลล์กล่าวอีกว่าจากการสำรวจกลุ่มประเทศ G20 มีอยู่ร้อยละ 59 จาก 17 ประเทศที่บอกว่ารัฐบาลไม่มีการดำเนินการขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นมากพอ โดยผลสำรวจเปิดเผยอีกว่าในจำนวน 51 ประเทศทั่วโลกมองว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันที่มีการทุจริตมากที่สุด โดยร้อยละ 55 มองว่ารัฐบาลดำเนินงานโดยมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ในแง่การต่อต้านการทุจริต กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72 มองว่าควรใช้วิธีการล่ารายชื่อร้องเรียน ร้อยละ 56 มองว่าควรใช้โซเชียลมีเดียในการเปิดโปงการคอร์รัปชั่น ร้อยละ 56 มองว่าควรมีการประท้วงอย่างสันติ ร้อยละ 54 บอกว่าพวกเขายอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทที่ไม่มีการ ทุจริต ร้อยละ 51 บอกว่าต้องมีการเข้าร่วมองค์กรต่อต้านการทุจริต


กลุ่มประเทศแอฟริกาติดอันดับการติดสินบนมากที่สุด

ทางสำนักข่าว BBC ได้นำข้อมูลของการชี้วัดเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลกในปี 2013 มาเผยแพร่โดยเน้นกล่าวถึงเรื่องการติดสินบน โดยชี้ว่ากลุ่มประเทศแอฟริกาอย่าง เซียร์ร่า ลีโอน, ไลบีเรีย, เยเมน และเคนย่า โดยที่ประเทศเซียร์ร่าลีโอนมีผู้เข้าร่วมการสำรวจร้อยละ 84 ที่ยอมรับว่าพวกเขาเคยติดสินบน ขณะที่ประเทศที่มีอัตราการติดสินบนต่ำสุดคือ เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย


กลุ่มตัวอย่างไทยร้อยละ 66 คิดว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้น

ผลสำรวจการชี้วัดเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลกในปี 2013 ซึ่งมีการสำรวจตั้งแต่เดือน ก.ย. 2012 ถึงเดือน มี.ค. 2013 กล่าวถึงประเทศไทยว่า กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยมองว่ามีการทุจริตคอร์รับชั่นเพิ่มขึ้นกว่าการ สำรวจในปีก่อนหน้านี้ โดยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน มีร้อยละ 66 มองว่ามีการทุจริตเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25 มองว่าเท่าเดิม และร้อยละ 9 มองว่าน้อยลง ซึ่งกลุ่มผู้รับการสำรวจมองว่าพรรคการเมืองและตำรวจเป็นกลุ่มที่มีการทุจริต มากที่สุด รองลงมาคือในสภาฯ และในวงการราชการ
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการสำรวจของประเทศไทยร้อยละ 18 ยังได้บอกอีกว่า พวกเขาเคยต้องจ่ายค่าสินบนมาก่อน โดยร้อยละ 37 บอกว่าพวกเขาจ่ายสินบนให้กับตำรวจ ร้อยละ 19 บอกว่าเป็นการติดสินบนด้านบริการอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ร้อยละ 14 บอกว่าพวกเขาติดสินบนในกระบวนการศาล
นอกจากหน่วยงานดังกล่าวแล้วยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ผู้เข้ารับการสำรวจมองว่ามีการทุจริต เช่น มีร้อยละ 23 มองว่ามีการทุจริตในหน่วยงานทหาร, ร้อยละ 18 มองว่ามีการทุจริตในกลุ่มองค์กรเอ็นจีโอ, ร้อยละ 37 มองว่ามีการทุจริตในภาคธุรกิจ, ร้อยละ 32 มองว่ามีการทุจริตในภาคการศึกษา, ร้อยละ 20 มองว่ามีการทุจริตในภาคสื่อ, ร้อยละ 12 มองว่ามีทุจริตในวงการศาสนา, ร้อยละ 21 ในวงการการแพทย์ และร้อยละ 18 ในกระบวนการศาล
โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเป็น ประชาชน 1,000 คนในแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทย โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนของแต่ละประเทศอยู่ที่ร้อยละ 3 ยกเว้นประเทศเล็ก เช่น ไซปรัส, ลักเซมเบิร์ก มีกลุ่มตัวอย่าง 500 คน มีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ร้อยละ 4



แปลและเรียบเรียงจาก
Corruption getting worse, says poll, BBC, 09-07-2013
http://www.bbc.co.uk/news/business-23231318
BRIBE PAYING STILL VERY HIGH WORLDWIDE BUT PEOPLE READY TO FIGHT BACK, Transparency.org, 09-07-2013
http://www.transparency.org/news/pressrelease/bribe_paying_still_very_high_worldwide_but_people_ready_to_fight_back
แผนภาพประเทศไทย
http://www.transparency.org/gcb2013/country/?country=thailand
รายงานฉบับเต็ม
http://www.transparency.org/gcb2013/report/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น