ที่มา
ประชาไท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีประกาศนโยบาย "งดเหล้า วันเข้าพรรษา" โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้
นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัว และโรคร้ายต่างๆนานาชนิด ในช่วงวันเข้าพรรษา จึงเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิ
กชนจะงดเสพสุรา อันถือเป็นการละเมิดศีลข้อห้า เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็
จพระเจ้าอยู่หัว
ความจริงแล้วนโยบายเช่นนี้มีวั
ตถุประสงค์ที่น่าชื่นชม แต่ประเด็นที่น่าขบคิดคือ การผูกโยงนโยบาย "งดเหล้า" กับ "วันเข้าพรรษา" ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพุ
ทธศาสนานั้น จะมีผลทางอ้อมเป็นการจำกัดสิทธิ
ของผู้นับถือศาสนาอื่น ที่ยังอาจต้องการดื่มสุราในช่
วงเทศกาลเข้าพรรษาอยู่หรือไม่ เช่นเดียวกับชาวพุทธเองที่
อาจมองเดือนรอมฎอน หรือ วันคริสต์มาส ว่าเป็นเพียง "เทศกาล"หนึ่งของพี่น้องต่
างศาสนา ผู้นับถือศาสนาอื่นหรือผู้ที่
ไม่มีศาสนาเลยก็อาจมองว่า เทศกาลเข้าพรรษา เป็นเพียงช่วงเวลาในปฏิทิน ที่ไม่ควรมีผลกระทบใดๆจากภาครัฐ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวั
นของเค้าเหล่านั้น
เสรีภาพในการนับถือศาสนานั้นมิ
เพียงแต่คุ้มครองบุคคลที่นับถื
อศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ทั้งในด้านความเชื่อ (forum internum) และการปฏิบัติหรือประกอบพิธี
กรรมตามความเชื่อ (forum externum) เท่านั้น แต่ยังคุ้มครองบุคคลอื่นที่ไม่
นับถือศาสนา และต้องการหลีกเลี่ยงอิทธิพลต่
างๆของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ (negative Religionsfreiheit เช่น ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรั
ฐเยอรมันเคยมีคำสั่งให้ปลดไม้
กางเขนที่แขวนไว้ในโรงเรียนออก เนื่องจากละเมิดสิทธินักเรี
ยนและผู้ปกครองบางคนที่ไม่นับถื
อศาสนาคริสต์ และไม่ต้องการได้รับอิทธิพลในรู
ปแบบต่างๆจากศาสนาคริสต์) ดังนั้น การนำศาสนาของคนส่วนใหญ่มาอ้
างเพื่อใช้ในการสร้
างความชอบธรรมในการห้ามบุคคล"ทุ
กคน"ในสังคมไม่ให้การประกอบกิ
จกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในวั
นสำคัญทางศาสนาของคนส่วนใหญ่ จึงเป็นการละเมิดสิทธิในการนั
บถือศาสนาของบุคคลกลุ่มอื่น ซึ่งแม้จะเป็นบุคคลส่วนน้
อยของสังคม แต่ก็เป็นผู้ทรงสิทธิตามรั
ฐธรรมนูญเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรั
ฐธรรมนูญ ย่อมกระทำได้หากมีเหตุผลที่เพี
ยงพอมารองรับ เหตุผลหนึ่งที่สามารถนำมายั
นในกรณีนี้ได้ คือ รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่
าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ และศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ การบัญญัติเช่นนี้มีลักษณะเป็
นการกำหนดภาระหน้าที่ให้รัฐต้
องคุ้มครองศาสนาพุทธเป็นการพิ
เศษ (staatlicher Schutzauftrag) ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนู
ญบางประเทศที่กำหนดให้รัฐต้องมี
ความเป็นกลางทางศาสนาอย่างชั
ดเจน (Laizismus) เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส การบัญญัติเช่นนี้ในรัฐธรรมนู
ญจึงเป็นการสร้างความชอบธรรมให้
รัฐบาลเข้ามาออกมาตรการเพื่
อทำนุบำรุงศาสนาพุทธ แม้ว่าในขณะเดียวกันมาตรการเหล่
านี้จะมีผลทางอ้อมเป็นการกีดกั
นศาสนาอื่นก็ตาม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ รัฐนำเงินภาษีมาบริจาคเพื่อสร้
างอุโบสถวัด แต่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลื
อทางการเงินกับสุเหร่า ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม หรือ เลือกปฏิบัติให้ผลประโยชน์แก่
บางศาสนาขึ้น แต่ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่
ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ สภาพการณ์เช่นนี้เกิดกับสังคมทั่วไปที่มิได้มี
การแยกศาสนาออกจากรัฐอย่างชั
ดเจน มิใช่ปรากฏการณ์ที่น่าแปลกใจ
รัฐธรรมนูญของเยอรมันเอง ก็มีบทนำทีกล่าวถึงพระเจ้า และการยอมรับความผูกพันของรั
ฐธรรมนูญต่อศาสนาคริสต์ ด้วยเหตุนี้ ในประเทศเยอรมนีจึงมี
การออกกฎหมายหลายฉบับที่
ออกมาเพื่อคุ้มครองศาสนาคริสต์ อาทิ กฎหมายห้ามจัดงานรื่นเริงในวั
นสำคัญทางศาสนาบางวัน หรือการกำหนดให้วันอาทิตย์เป็
นวันสงบ กล่าวคือ ห้ามทำงานและร้านค้าจะต้องปิดกิ
จการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นับถื
อศาสนาคริสต์ซึงป็นคนส่วนใหญ่
ของประเทศเข้าโบสถ์เพื่
อประกอบกิจกรรมทางศาสนา แม้ว่าการห้ามร้านค้าทำการนั้
นจะเป็นการละเมิดสิทธิ
ในการประกอบอาชีพของผู้นับถื
อศาสนาอื่น อาทิ ชาวมุสลิมที่ไม่ประสงค์จะเข้
าโบสถ์ในวันอาทิตย์ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น