งานวิทยานิพนธ์ฉบับหนึ่งเกี่ยวกับคนเสื้อแดงของสาขาชนบทศึกษาและการ
พัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย น.ส.ฐิวารี วีรยะสบประสงค์ ในเรื่อง
"การใช้ร่างกายปฏิบัติการทางสังคมของคนเสื้อแดง: กรณีศึกษาคนชนบทอีสาน"
มีประเด็นอันน่าสนใจ ที่น่าจะนำมาแลกเปลี่ยนพอสมควร
“ร่างกาย”ในการศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้หมายถึงร่างกายทางกายภาพซึ่งประกอบ
ด้วยอวัยวะต่างๆ แต่หมายถึง ร่างกายทางสังคม
ที่มีคุณค่าและสัญลักษณ์ตามที่สังคมกำหนดและรับรู้ร่วมกัน
นำมาสู่ปฏิบัติการทางสังคม
ซึ่งก็คือการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะในประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจที่
สำคัญ
ปัญหาในขณะนี้ก็คือ
ขณะที่คนเสื้อแดงพยายามจะสื่อสารกับสังคมด้วยการประดับร่างกายด้วยเสื้อผ้า
สีแดงและรวมตัวกันทำกิจกรรมทางการเมือง
เพื่อเป้าหมายในการต่อสู้ให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตย
แต่สภาวะของเขาซึ่งจำนวนมากคือชาวชนบทอีสาน จะถูกประเมินว่าเป็นพวก "โง่ จน
เจ็บ" และปฏิบัติการทางสังคมของเขาได้รับการตีความว่า ถูกหลอกใช้โดย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หรือบรรดาแกนนำที่ได้รับผลประโยชน์จากการนำคนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหว
นำมาสู่การจัดตำแหน่งทางสังคมให้กับคนเสื้อแดงระดับมวลขนชาวบ้านว่า
เป็น”ควายแดง” และเป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง ก่อกวนบ้านเมือง หมายถึงว่า
คนเสื้อแดงในระดับมวลชนนั้น นอกจากด้อยสติปัญญาแล้ว
ยังมีพฤติกรรมที่ป่าเถื่อนและรุนแรง จึงจะนำไปสู่การอนุมานได้ว่า
การถูกฆ่าตาย
หรือการติดคุกของคนเหล่านี้จึงไม่มีคุณค่าพอที่สังคมจะต้องให้ความสนใจ
สังคมชนชั้นกลางจึงสามารถที่จะสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และลงคะแนนเลือกพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปด้วยคะแนนเสียงจำนวนมากได้โดยไม่ต้อง
ละอายแก่ใจ
ในงานของฐิวารี จึงตั้งใจที่จะตอบคำถามว่า
คนชนบทอีสานในนามของคนเสื้อแดงใช้ร่างกายปฏิบัติการทางสังคมอย่างไร
เพื่ออธิบายการจัดวางตำแหน่งทางสังคมของคน
โดยอาศัยข้อมูลสัมภาษณ์อย่างมีส่วนร่วมจากคนเสื้อแดงอีสานที่เข้าร่วมการ
เคลื่อนไหวกับกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ผลสรุปประการแรกจากการศึกษาพบว่า
คนเสื้อแดงจำนวนมากที่เป็นคนชนบทถูกอธิบายมาก่อนแล้วว่า
ไม่ควรมีส่วนร่วมทางการเมืองจากวาทกรรมเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง
ด้วยการกล่าวหาว่า คนชนบทอีสานนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของเงินและระบบอุปถัมภ์
อำนาจทางการเมืองของคนเหล่านี้
จึงกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองทุจริตที่รวมกันอยู่ในพรรคเพื่อไทย
นำไปสู่การอธิบายว่า
เสียงข้างมากของประชาชนจากภาคอีสานเป็นเสียงข้างมากที่ไร้คุณภาพ
ประการต่อมาก็คือ
การที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยจนถึงพรรคเพื่อไทยได้ใช้นโยบายประชานิยมและประสบ
ความสำเร็จ แต่นโยบายเช่นนี้ก็ได้รับการพิจารณาว่า
เป็นการนำเงินงบประมาณของชาติมาแจกให้คนชนบทเพื่อใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อุดหนุนสินค้าของกลุ่มนายทุนที่ใกล้ชิดรัฐบาล
และสร้างความจงรักภักดีระหว่างคนชนบทกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
สร้างความแตกแยกกับคนในชาติที่ไม่เห็นด้วย และอาจนำมาซึ่งหายนะทางเศรษฐกิจ
จึงต้องต่อต้านคัดค้าน และหาทางยับยั้งการบริหารของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์
ชินวัตรให้เร็วที่สุด
แต่งานของฐิวารีพบว่า
ชาวบ้านหลายคนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับฝ่ายคนเสื้อแดงไม่ใด้เป็นเพราะการสูญ
เสียผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการประชานิยม
หากเป็นเพราะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและการที่ศาลสั่งยุบพรรคการเมือง
แล้วยังเห็นว่าคนเสื้อแดงที่เป็นชาวชนบทไม่ได้รับความเป็นธรรมหลังจากการรัฐ
ประหาร พ.ศ.๒๕๔๙ ด้วยกระบวนการทางการเมือง
และทางศาลที่มุ่งแต่จะสนับสนุนกลุ่มการเมืองตรงข้าม
ประการต่อมาก็คือ คนเสื้อแดงดังตัวอย่างไม่ยอมรับว่า
การต่อสู้ของพวกเขาเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร การใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ก็ไม่อาจนิยามได้ว่า เป็นสีของผู้ที่โง่
ถูกหลอก ถูกซื้อ แต่การเข้าร่วมการชุมนุมเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง
ทำให้พวกเขาได้ความรู้ทางการเมืองและสังคมเพิ่มเติม
และได้พบแลกเปลี่ยนกับเพื่อนที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกัน
ส่วนวาทกรรมเรื่องเผาบ้านเผาเมืองกลุ่มคนเสื้อแดงยืนยันเป็นวาทกรรมลวง
ปราศจากหลักฐานอันชัดเจน เพราะพวกเขาไม่มีเป้าหมายที่จะเผาห้าง
และไม่ได้เป็นผู้กระทำการเผาสถานที่ราชการเหล่านั้น
บทสรุปในเชิงความหมายในปฏิบัติการของคนเสื้อแดง อาจจะอธิบายได้ เช่น
คนเสื้อแดงอีสานคือคนที่ลำบากยากจน ไม่มีการศึกษา ถูกดูหมิ่นดูแคลน
แต่ไม่ได้ทำความผิด และต้องการที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม
คนเสื้อแดงก็เหมือนคนเสื้อสีอื่นที่ต้องการให้บ้านเมืองสงบ
ไม่ต้องการสร้างความแตกแยก
เพียงแต่ต้องให้มีการแสดงความเห็นต่างทางการเมืองได้โดยไม่ถูกจับติดคุก
และประชาธิปไตยที่ต้องการเรียกร้อง ต้องมีมาตรฐานเดียวไม่ใช่สองมาตรฐาน
การยอมรับความเป็นคนเสื้อแดงต้องปฏิเสธการนิยามที่ว่าด้วยคนชนบทคือ ผู้ที่
"โง่ จน เจ็บ" แต่ต้องหมายถึงมนุษย์ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกับชนชั้นกลาง
ชาวเมือง หรือคนกลุ่มอื่น
ดังนั้น ฐิวารีจึงเสนอว่า
การพิจารณาคนเสื้อแดงในสังคมต้องยอมรับคนเสื้อแดงในฐานะแห่งความเป็นมนุษย์
ที่มีความคิดอ่าน ไม่ใช่ "ควายแดง" ต้องเข้าใจว่า ความชื่นชอบที่มีต่อ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลไทยรักไทยและเพื่อไทย
นำมาสู่การกระจายโภคทรัพย์
และให้โอกาสแก่ประชาชนมากกว่ารัฐบาลอื่นที่ผ่านมา
วาทกรรมเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียงไม่เป็นจริงมาเป็นเวลานานแล้ว
เพราะคนอีสานก็เป็นเช่นเดียวกับคนภาคใต้และคนกรุงเทพฯ คือ
เลือกตามความนิยมในพรรคการเมือง
ไม่ได้เลือกเพราะเงินหรือระบบอุปถัมภ์แต่อย่างใด
ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
และน่าจะเป็นการสมควรที่จะมี่งานวิจัยในลักษณะของการเมืองร่วมสมัย
ที่จะให้คำตอบแก่สังคมไทยปัจจุบันได้มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น