แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นักการเมืองชายแดนใต้แนะรัฐตั้งกรรมการสอบ หากมีความรุนแรงช่วงรอมฎอน

ที่มา ประชาไท


เวทีเสวนาแนะรัฐตั้งกรรรมการตรวจสอบ หากมีเหตุรุนแรงช่วงเดือนรอมฏอน ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมมาเป็นกรรมการ เสนอโอนอำนาจผู้ว่าด้านวัฒนธรรมและอัตลักษณ์แก่นายก อบจ. ย้ายผู้ต้องขังคดีความมั่นคงมาอยู่เรือนจำภูมิลำเนา
 
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องประชุมขวัญจุฑา 1 โรงแรมปาร์ควิว ปัตตานี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล จัด“สานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ครั้งที่ 13” โดยมีนักการเมืองในพื้นที่จำนวน 20 คนเข้าร่วมเสนาครั้งนี้ เช่นนายเด่น โต๊ะมีนา นายนัดมุจดีน อูมา สมาชิกพรรคมาตุภูมิ นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง สมาชิกพรรคเพื่อไทย พ.ต.ท.เจะอิสมาแอ เจ๊ะโมง พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นางตัสนีม เจะตู สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
 
 
หลังจากเสร็จเวทีมีการออกแถลงการณ์ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ จำนวน 4 ข้อ โดยนายเด่น โต๊ะมีนา เป็นผู้อ่านแถลงการณ์
 
ประเด็นที่ 1 ที่ประชุมมีความยินดีและขอสนับสนุนการลดความรุนแรงในช่วงเดือนรอม ฎอนอันศักดิ์สิทธิ์เป็นเวลา 40 วัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นจริงได้ และจะส่งผลดีต่อการพูดคุยสันติภาพต่อไป
 
ประเด็นที่ 2 อาจมีบางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและก่อเหตุรุนแรงในช่วงดังกล่าวได้ จึงขอเสนอให้รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และที่ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อให้เป็นไปตามคำแถลงความเข้าใจร่วมกันเรื่องความริเริ่มสันติภาพของตัว แทนรัฐบาลมาเลเซีย โดยให้มีองค์ประกอบที่เป็นตัวแทนภาครัฐ ได้แก่ จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) ฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
 
ส่วนตัวแทนภาคปะชาสังคมได้แก่ ตัวแทนจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการอิสลามประจำ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 คน สภาทนายความ สื่อมวลชน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ประชาชนไว้วางใจ
 
ประเด็นที่ 3 เสนอให้สร้างบรรยากาศที่ดีและเอื้อต่อการพดคุยสันติภาพ ดังนี้ 3.1 ให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2556 ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเดือนรอมฎอน เช่น การสนับสนุนอาหารในการละศีลอดแก่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนอย่างทั่วถึง 
 
3.2 การผ่อนปรนเวลาปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มุสลิม ให้ปฏิบัติงานระหว่าง 08.30 – 15.00 น.เพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างมีคุณค่า ในการนี้ ขอเสนอให้ ศอ.บต.กวดขัน และหากจำเป็นก็ลงโทษผู้ที่ไม่ถือปฏิบัติด้วย
 
3.3 ดำเนินการให้มีการอภัยโทษแก่นักโทษคดีความมั่นคงในกรณีที่จะช่วยเสริมสร้าง ความผ่อนปรนซึ่งกันและกัน พยายามลดความรุนแรงที่แฝงอยู่ในโครงสร้าง เช่น การให้ความยุติธรรมในคดีความมั่นคงอย่างสม่ำเสมอ การเพิ่มสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษา เป็นต้น
 
4. ส่วนเรื่องของการกระจายอำนาจ ที่ประชุม มีความเห็นว่าควรริเริ่มในส่วนนี้ ด้วยการปฏิบัติให้เห็นผลในเบื้องต้นก่อน เช่น การโอนย้ายอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดไปให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในส่วนของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่
 
การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2556 ในส่วนให้ ศอ.บต.ให้มีอำนาจให้ครอบคลุม 5 จังหวัดเป็น 3 จังหวัดกับ 4 อำเภอของสงขลา
 
นายบูราฮานูดีน กล่าวระหว่างแถลงข่าวว่า ความเป็นจริงการเจรจามีมานานแล้ว ก่อนหน้านี้อีก ดังนั้นการที่จะยุติความรุนแรงในพื้นที่ ต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้รัฐไม่ควรที่ปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดของบีอาร์เอ็น รัฐควรที่จะพิจารณาก่อนว่า ข้อใดสามารถรับได้หรือข้อใดไม่สามารถรับได้ 
 
“อยากให้อภัยโทษต่อนักโทษคดีความมั่นคงในพื้นที่ เพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านี้กลับไปอยู่ที่บ้าน เพื่อที่ร่วมพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป ตามข้อเสนอแนะในข้อที่ 3.3 ส่วนเรื่องของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำเนินการย้ายผู้ต้องขังคดีความมั่นคงที่อยู่ในเรือนจำในกรุงเทพมหานคร กลับมาอยู่เรือนจำในภูมิลำเนา ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทีทางรัฐบาลควรดำเนินการ” นายบูราฮานูดีน กล่าว
 
นายนัดมุดดีน กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มนักการเมืองชายแดนใต้ ได้นำผลสรุปของเวทีสานเสวนาของนักการเมืองในพื้นที่จากเวทีทั้งหมด 12 ครั้ง เสนอต่อรัฐบาลจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับการตอนรับจากรัฐบาลเท่าที่ควร ดังนั้นทางกลุ่มนักเมืองในพื้นที่จึงอยากให้รัฐบาลรับเสนอของกลุ่มบ้าง เพราะพวกของตนเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อย่างแท้ จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น