กลุ่มนักกิจกรรมรุ่นใหม่ในชื่อพรรคสามัญชน ออกแถลงการณ์
‘เดินหน้าแก้ไข รธน. ม.291 วาระ 3 และขอประชามติจากประชาชน’
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากมีมติว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยที่มา ส.ว.ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
21 พ.ย.56 กลุ่มนักกิจกรรมรุ่นใหม่ในชื่อพรรคสามัญชน ออกแถลงการณ์
‘เดินหน้าแก้ไข รธน. ม.291 วาระ 3 และขอประชามติจากประชาชน’
ภายหลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติต่อคำร้องในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เกี่ยวกับที่มา ส.ว.เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6
ต่อ 3 ชี้ว่าเนื้อหาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้
ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้น ขัดรัฐธรรมนูญ (คลิกอ่าน)
แถลงการณ์ระบุว่า พรรคสามัญชน มีความเห็นว่า
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนอันชอบธรรมของประชาชน
ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิก้าวล่วง
และศาลรัฐธรรมนูญควรมีหน้าที่วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างกฎหมาย
อื่นมีเนื้อหาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น
อีกทั้งเป็นเรื่องปกติที่ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องขัดหรือแย้งกับรัฐ
ธรรมนูญเดิม เพราะหากไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญเดิมก็ย่อมไม่จำเป็นต้องแก้ไข
ดังนั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาว่าร่างรัฐธรรมนูญขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เดิมหรือไม่ จึงเป็นเพียงเรื่องตลกทางการเมืองเท่านั้นเอง
นอกจากนี้ พรรคสามัญชน
เห็นด้วยกับแนวทางการเดินหน้าพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ม.291
วาระ 3 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.3)
ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต่อไป อย่างไรก็ตาม
เพื่อยืนยันว่าประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 จริง จึงเสนอว่า
หลังสภาผู้แทนพิจาณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ม.291 แล้ว
ให้คณะรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปทำประชามติก่อนที่
จะส่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อให้วุฒิสภา
อนึ่งรายละเอียดแถลงการณ์ มีดังนี้
แถลงการณ์ พรรคสามัญชน
เดินหน้าแก้ไข รธน. ม.291 วาระ 3 และขอประชามติจากประชาชน
ตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากมีมติว่าการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น
พรรคสามัญชนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนอัน
ชอบธรรมของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ
ก้าวล่วง
พรรคสามัญชนเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญควรมีหน้าที่วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ
หรือร่างกฎหมายอื่นมีเนื้อหาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เพียงอย่างเดียวเท่า
นั้น
อีกทั้งเป็นเรื่องปกติที่ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องขัดหรือแย้งกับรัฐ
ธรรมนูญเดิม เพราะหากไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญเดิมก็ย่อมไม่จำเป็นต้องแก้ไข
ดังนั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาว่าร่างรัฐธรรมนูญขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เดิมหรือไม่ จึงเป็นเพียงเรื่องตลกทางการเมืองเท่านั้นเอง
เพื่อยืนยันหลักการนี้
พรรคสามัญชนเห็นด้วยกับแนวทางการเดินหน้าพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ
ธรรมนูญ ม.291 วาระ 3 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.3)
ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต่อไป
อย่างไรก็ตาม
เพื่อยืนยันว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ ม.291 จริง พรรคสามัญชนขอเสนอเพิ่มเติมว่า
หลังจากสภาผู้แทนพิจาณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ม.291 แล้ว
ให้คณะรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปทำประชามติก่อนที่
จะส่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อให้วุฒิสภา
อนึ่ง
พรรคสามัญชนเป็นพรรคการเมืองที่เกิดจากการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม
ซึ่งเห็นร่วมกันว่าจำเป็นจะต้องมีพรรคการเมืองเพื่อเป็นองค์กรในการผลักดัน
สังคมที่เป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นธรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคม
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของสามัญชน
เปลี่ยนแปลงสังคม โดยคนธรรมดา เพื่อสามัญชน
พรรคสามัญชน
21 พฤศจิกายน 2556
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น