แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รวมความเห็นนักวิชาการ คดีหมิ่นฯ ร.4

ที่มา ประชาไท


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556 ซึ่งตัดสินให้นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีมีความผิดดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 และลงโทษจำคุก 4 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี รอลงอาญา 2 ปี  สร้างมาตรฐานใหม่ในการตีความกฎหมายอาญามาตรา 112 (อ่านที่นี่) ประชาไทสัมภาษณ์นักวิชาการหลากหลายสาขาเพื่อสำรวจมุมมองต่อคดีนี้ว่าจะส่งผลกระทบต่อแวดวงการศึกษาหรือไม่ เพียงใด
ชานันท์ ยอดหงษ์ ผู้เขียนหนังสือ "นายใน สมัยรัชกาลที่ 6" ซึ่งถูกเอเชียบุ๊คส์เก็บคืนหนังสือ และถูกต่อต้านจากกลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อได้ยินเรื่องคำพิพากษาคดีนี้ ก็ทำให้ตัวเองรู้สึกสั่นคลอนและตกใจ เพราะหลังหนังสือนายในฯ วางแผง กลุ่มศิษย์เก่าวชิราวุธและโรงเรียนชายล้วนอื่นๆ   ก็พยายามจะฟ้องด้วยมาตรา 112 ได้ยินมาว่ากลุ่มศิษย์เก่านี้ได้ไปปรึกษาทนายแล้วเลิกล้มความพยายามไปเพราะ ทนายเห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 112  เมื่อเกิดคดีนี้ขึ้นก็เกรงว่าจะมีการรื้อฟื้นความพยายามขึ้นมาอีกครั้ง
ชานันท์ยังกล่าวต่ออีกว่า ถ้ามีการจับนักวิชาการที่เขียนงานเกี่ยวกับกษัตริย์ในอดีต ไม่สามารถเขียนถึงหรือวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วได้ ความรู้ด้านประวัติศษสตร์ไทยที่แคบอยู่แล้วก็คงแทบจะไม่มีอะไรเหลือให้ ศึกษา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า คำพิพากษาดังกล่าวมีผลต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างมหาศาล จะทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองในหมู่นักวิชาการมากขึ้น ทั้งหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ก็อาจต้องเก็บขึ้นหิ้ง ความถูกต้องของประวัติศาสตร์นั้น ต้องถูกบนความจริง ถ้าหากไม่สามารถศึกษาอย่างที่มันเป็นจริงได้แล้ว เราก็อาจจะมองอดีตของเราด้วยสาตาที่ถูกปิดบัง และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน นำมาซึ่งความเข้าใจอดีตของเราที่ไม่ตรงกับเพื่อนบ้านของเรา
นอกจากนี้ สถาบันกษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดทางการเมืองในอดีต ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช หากศาลจะอ้างถึงการเป็นเครือญาติกันแล้วด้วย กลุ่มชนชั้นนำในอดีตล้วนแล้วแต่เป็นเครือญาติกัน ผ่านการแต่งงานกันในหมู่เครือญาติ เสนาบดีแต่ละกระทรวงก็ล้วนสามารถนับญาติกับกษัตริย์ได้  อย่างนั้นแล้วคำพิพากษานี้จะส่งผลทำให้การศึกษาและวิพากษ์อย่างตรงไปตงมาใน ด้านการเมืองการปกครอง หรือแม้แต่นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายต่างประเทศ เป็นไปได้ยาก นักวิชาการอาจหันไปศึกษา เรื่องราวสมัยอยุธยาหรือสุโขทัยแทน
รศ. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากคำพิพากษาของศาลฎีกานั้น มีปัญหาอยู่สองประการ คือ 1.การตีความ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย และ 2. มาตรา 112 นั้นคุ้มครองใครบ้าง
สำหรับข้อหนึ่งนั้น วรเจตน์กล่าวว่า ไม่เห็นว่าเข้าองค์ประกอบของการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย  ไม่ได้เป็นการใส่ความ หรือลดเกียรติ แค่เป็นการเปรียบเทียบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
สำหรับข้อสองนั้น วรเจตน์กล่าวว่า มาตรา 112 นั้นมุ่งคุ้มครองบุุคลที่อยู่ในตำแหน่ง 4 ตำแหน่ง อันได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  หากเกิดการหมิ่นประมาทกับบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือคาดว่าจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวในอนาคต จะไม่เข้ามาตรา 112 และจะต้องใช้กฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป
นอกจากนี้ กฎหมายอาญาไทยนั้นตั้งอยู่บนหลัก "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย" ซึ่งมีข้อห้ามหนึ่งคือ การห้ามไม่ให้ใช้กฎหมายโดยเทียบเคียง คำพิพากษาที่กล่าวว่า ". . . การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ที่ยังคงครองราชย์อยู่  . . . "  ชี้ให้เห็นการใช้กฎหมายแทบบเทียบเคียงของผู้พิพากษา
การตีความดังกล่าวยังเป็นการตีความเกินกรอบถ้อยคำตามตัวบทมาตรา 112 เท่ากับการที่ศาลกำลังบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมจากมาตรา 112 และยังย้อนกลับไปหาขอบเขตที่ยุติไม่ได้ว่า จะครอบคลุมไปถึงกี่รัชกาล กี่ราชวงศ์ ซึ่งนี่ไม่ใช่จุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 112 อย่างแน่นอน
หากมีผู้ต้องการให้อดีตกษัตริย์ได้รับความคุ้มครองอย่างมาตรา 112 ก็ต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
การที่ศาลอ้างว่า “รัชกาลที่ 4 แม้จะเสด็จสวรรคตไปแล้วประชาชนก็ยังเคารพพสักการะ ยังมีพิธีรำลึกถึงโดยทางราชการจัดพิธีวางพวงมาลาทุกปี" ถ้าเช่นนั้น พระนเรศวรซึ่งก็มีอนุสาวรีย์ และมีประชาชนยังเคารพสักการะ จะได้รับความคุ้มครองไปด้วยหรือไม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น