คณะรัฐมนตรี
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา ปรับโครงสร้างภาษีบุคคล บังคับใช้ปี 56 แทน
ร่างพระราชบัญญัติฉบับเดิม ที่ยังไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
นางเบญจา หลุยเจริญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ได้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาประมวลรัษฎากร
ในการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แทนร่างพระราชบัญญัติ หรือ
พ.ร.บ.ประมวลรัษฎากร ซึ่งเคยเห็นชอบไปแล้วหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากร่าง
พ.ร.บ.ยังไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
จึงได้ออกเป็นกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ไปก่อน
โครงสร้างภาษี จะปรับลดลงเหมือนร่าง
พ.ร.บ.เดิมทุกประการ ด้วยการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากร้อยละ 37
เหลือร้อยละ 35 ซึ่งโครงสร้างภาษีใหม่นี้
จะช่วยลดภาระให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้เข้าข่ายเสียภาษี
โดยผู้มีรายได้สูงสุด 4 ล้านบาทต่อเดือนขึ้นไป ลดภาระภาษีลงตั้งแต่ร้อยละ 5
และผู้มีรายได้ 3 หมื่นบาทต่อเดือน ลดภาระภาษี ร้อยละ 50
ส่วนผู้ที่มีฐานรายได้ไม่เกิน 3
แสนบาทต่อปี มีจำนวน 1.4 ล้านคน และผู้มีรายได้ไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี
มีประมาณ 6.5 ล้านคน จะได้รับการยกเว้นภาษี นับว่าโครงสร้างภาษีดังกล่าว
ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยมากกว่าคนระดับกลางและคนรวย โดยกฎหมายลูกฉบับนี้
จะมีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2556
เพื่อยื่นแบบเสดงรายการเสียภาษีในเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2557
ด้านนายธีรัตถ์ รัตนะเสวี
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.
ยังเห็นชอบขยายเวลามาตรการภาษีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ของลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล
เพื่อลดภาระต้นทุนจากอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมให้มีผลบังคับใช้สำหรับปีภาษี
2556-2557 รวมถึงการขยายเวลาการยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ออกไปอีก 1
เดือน โดยสิ้นสุด 31 ธันวาคมนี้
ตารางอัตราภาษีใหม่
เงินได้สุทธิ
|
อัตราภาษี
|
0 – 300,000 บาท
|
5%
(มี พรฎ.ยกเว้นภาษีให้สำหรับผู้มีรายได้ไม่เกิน 150,000บาท)
|
300,001 – 500,000
|
10%
|
500,001 – 750,000
|
15%
|
750,001 – 1,000,000
|
20%
|
1,000,001 – 2,000,000
|
25%
|
2,001 – 4,000,000
|
30%
|
4,000,001 ขึ้นไป
|
35%
|
by
Watchiraporn
19 พฤศจิกายน 2556 เวลา 17:01 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น