มติ ครม. จ่ายเงินช่วยเหลือดำรงชีพ เดือนละเจ็ดพัน
ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
โดยสิทธิรับเงินชดเชยไม่ตกทอดถึงทายาท โดยรองโฆษก ครม.
ระบุเป็นการเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม
และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
19 พ.ย. 2556 - เว็บไซต์ของรัฐบาลไทยวันนี้ (19 พ.ย.) รายงานเรื่อง มติ ครม. โดยเรื่องหนึ่งที่มีการพิจารณาคือ คณะรัฐมนตรีมีการพิจารณาเรื่องที่ สมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลา 16 ขอให้พิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะ รัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการเสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบการจ่ายเงินดำรงชีพรายเดือนเป็นครั้งสุดท้ายแก่วีรชน 14 ตุลาคม 16 หรือทายาทของวีรชนและค่าจัดการศพกรณีวีรชน 14 ตุลา 16 ที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ 2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำหลักฐานว่าผู้ได้รับผล กระทบฯ ที่ได้รับเงินการช่วยเหลือเป็นเงินดำรงชีพในครั้งนี้ได้รับการเยียวยาที่ เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมแล้ว จะไม่เรียกร้องขอรับเงินช่วยเหลืออื่นใดจากทางราชการอีก ทั้งนี้ งบประมาณสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ด้าน ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะจ่ายเงินช่วยเหลือดำรงชีพ เดือนละ 7,000 บาทต่อราย สำหรับผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2549 จนกว่าจะเสียชีวิต และให้จ่ายเงินย้อนหลังให้กับวีรชนย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2555 ที่มีการทบทวนมติเมื่อปี 2549 ตามที่สมาคมญาติและวีรชน 14 ต.ค. 2516 ร้องขอความเป็นธรรม โดยสิทธิผู้ได้รับเงินชดเชย จะไม่ตกทอดไปถึงทายาท
สำหรับวีรชนที่เสียชีวิตเมื่อปี 2552 ซึ่งอยู่ระหว่างการรอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล จะได้รับค่าทำศพรายละ 20,000 บาท ทั้งนี้จะใช้งบประมาณเพื่อดำเนิน 9,410,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปจะใช้งบประมาณ จำนวน 5 ล้านบาทเศษ โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอของบตามความจำเป็น นอกจากนี้ให้จัดทำหลักฐานว่า ผู้ได้รับผลกระทบฯ ที่ได้รับเงินการช่วยเหลือเป็นเงินดำรงชีพในครั้งนี้ได้รับการเยียวยาที่ เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมแล้ว จะไม่เรียกร้องขอรับเงินช่วยเหลืออื่นใดจากทางราชการอีก อย่างไรก็ตามการเยียวยาเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม และเพื่อให้สอดคล้องด้านกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
19 พ.ย. 2556 - เว็บไซต์ของรัฐบาลไทยวันนี้ (19 พ.ย.) รายงานเรื่อง มติ ครม. โดยเรื่องหนึ่งที่มีการพิจารณาคือ คณะรัฐมนตรีมีการพิจารณาเรื่องที่ สมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลา 16 ขอให้พิจารณาจ่ายเงินดำรงชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะ รัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการเสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบการจ่ายเงินดำรงชีพรายเดือนเป็นครั้งสุดท้ายแก่วีรชน 14 ตุลาคม 16 หรือทายาทของวีรชนและค่าจัดการศพกรณีวีรชน 14 ตุลา 16 ที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ 2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำหลักฐานว่าผู้ได้รับผล กระทบฯ ที่ได้รับเงินการช่วยเหลือเป็นเงินดำรงชีพในครั้งนี้ได้รับการเยียวยาที่ เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมแล้ว จะไม่เรียกร้องขอรับเงินช่วยเหลืออื่นใดจากทางราชการอีก ทั้งนี้ งบประมาณสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ด้าน ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะจ่ายเงินช่วยเหลือดำรงชีพ เดือนละ 7,000 บาทต่อราย สำหรับผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2549 จนกว่าจะเสียชีวิต และให้จ่ายเงินย้อนหลังให้กับวีรชนย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2555 ที่มีการทบทวนมติเมื่อปี 2549 ตามที่สมาคมญาติและวีรชน 14 ต.ค. 2516 ร้องขอความเป็นธรรม โดยสิทธิผู้ได้รับเงินชดเชย จะไม่ตกทอดไปถึงทายาท
สำหรับวีรชนที่เสียชีวิตเมื่อปี 2552 ซึ่งอยู่ระหว่างการรอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล จะได้รับค่าทำศพรายละ 20,000 บาท ทั้งนี้จะใช้งบประมาณเพื่อดำเนิน 9,410,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปจะใช้งบประมาณ จำนวน 5 ล้านบาทเศษ โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอของบตามความจำเป็น นอกจากนี้ให้จัดทำหลักฐานว่า ผู้ได้รับผลกระทบฯ ที่ได้รับเงินการช่วยเหลือเป็นเงินดำรงชีพในครั้งนี้ได้รับการเยียวยาที่ เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมแล้ว จะไม่เรียกร้องขอรับเงินช่วยเหลืออื่นใดจากทางราชการอีก อย่างไรก็ตามการเยียวยาเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม และเพื่อให้สอดคล้องด้านกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น