แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พท.ซัดฝ่ายอำมาตย์คุมคำตัดสิน ศาล รธน. เชื่อทฤษฎีสมคบคิด อัดหนักขยายอำนาจ แทรกแซง

ที่มา มติชน

 
เพื่อไทย ชี้ฝ่ายอำมาตย์คุมคำตัดสิน ศาล รธน. เชื่อทฤษฎีสมคบคิดกลับมาอีก ระบุว่า นักวิชาการยังตั้งคำถาม เป็นรายการตุลาการภิวัฒน์รัฐประหารหรือไม่ ยกสื่อเทศตั้งคำถามตุลาการ


เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 พฤศจิกายน ที่พรรคเพื่อไทย(พท.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษก พท. แถลงกรณีศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.ว่า นี่ถือเป็นมาตรการแรกของฝ่ายอำมาตย์ในการทำลายฝ่ายประชาธิปไตยอย่างน่าละอายที่สุด อีกทั้งบังเอิญที่หลายๆ คำเหมือนไปจำมาจากเวทีราชดำเนินของพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เช่น สภาผัวเมีย พวกมากลากไป การเมืองควบคุมได้เบ็ดเสร็จ เป็นการปลอมร่างฯ ตัดสิทธิผู้อภิปราย เสียบบัตรแทนกัน 

ทั้งนี้ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดกลับมาอีกแล้ว นักวิชาการได้ตั้งคำถามว่าเป็นตุลาการภิวัฒน์รัฐประหารหรือไม่ คำวินิจฉัยได้ปิดประตูการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้ไม่อาจมีใครไปแก้ไขได้ 

"การตัดสินใจจึงมีคำถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ไปในการเพิ่มอำนาจขยายขอบเขตอำนาจให้ตัวเอง เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญควรจะทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญแต่ทำตัวเป็นองค์กรเหนือรัฐธรรมนูญไปแล้วหรือไม่ เอื้อให้เกิดการใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานของอำนาจอื่นๆ อย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อดุลอำนาจ 3 อำนาจในระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ อย่างชัดเจน จนถูกมองว่า เป็นการคอร์รัปชั่นทางอำนาจหรือไม่" รองโฆษก พท.ระบุ

นายอนุสรณ์  แถลงถึงทัศนะของสื่อต่างประเทศ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขที่มา ส.ว. ขัดมาตรา 68 ว่า สื่อทั่วโลกกำลัง งง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย นิวยอร์กไทมส์ มีคำถามในทางกฎหมายเนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหลายคน ระบุว่ามีตุลาการ 3 คนในศาลรัฐธรรมนูญที่ควรถอนตัวจากคดีนี้ เนื่องจากเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่กองทัพแต่งตั้งขึ้น ภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 คือ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ โดย บีบีซี ระบุว่า ประเทศไทยปล่อยให้ผู้พิพากษากลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทคอยชี้ขาดและกำหนดชะตากรรมทางการเมืองของประเทศทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น