แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วรพล พรหมิกบุตร: การเมืองไทยปลาย ๒๕๕๖ : ตลกหน้ากากขาว

ที่มา Thai E-News


 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร

ส่วนที่ ๒
  นับตั้งแต่คณะกรรมาธิการฯพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเปิดเผยการ แก้ไขร่างกฎหมายของตนจากฉบับวรชัย เหมะ กลายเป็นฉบับสุดซอย ภายในเวลาเพียง ๑ สัปดาห์ก็ปรากฎเสียงตำหนิและการแถลงคัดค้าน ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการจากบุคคลและองค์กรต่าง ๆ จำนวนมาก  ขณะที่เสียงสนับสนุนมีเพียงเล็กน้อยจากภายในองคาพยพของมวลชนเสื้อแดงกลุ่ม ย่อย

  แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ดาหน้าแถลงคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอยของกรรมาธิการเสียงข้าง มากอย่างถึงที่สุด  เช่นเดียวกับที่เคยเคลื่อนไหวขัดขวางคัดค้านและพยายาม “คว่ำ” การผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนในฉบับวรชัย เหมะ วาระที่ ๑ มาก่อนแล้วแต่ไม่ประสบผลที่ต้องการ

  พรรคประชาธิปัตย์ยกระดับการต่อสู้ด้วยการชุมนุมใหญ่ ดึงดูดชนชั้นกลางกรุงเทพฯและมวลชนจัดตั้งจากจังหวัดต่าง ๆ ของตนได้โดยอาศัยเหตุผลข้ออ้างต่าง ๆ ทางกฎหมายและพยายามสร้างความเชื่อในหมู่ประชาชนว่ากฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าว มุ่งทำประโยชน์ทางการเงินให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  ข้ออ้างเหตุผลนี้เป็นเรื่องไร้สาระ แต่ชนชั้นกลางกรุงเทพฯจำนวนมากเชื่อ

  เที่ยงวันที่ ๕ พฤศจิกายน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรแถลงต่อประชาชนว่ารัฐบาลเคารพอำนาจของรัฐสภาและวุฒิสภาหากจะมีการ ยับยั้งร่างกฎหมายฉบับกรรมาธิการฯ  และรัฐบาลจะไม่ฝ่าฝืนความต้องการของประชาชน เมื่อเห็นแล้วว่า “ประชาชนยังไม่พร้อมให้อภัยต่อผู้กระทำผิด”

  ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ประธานวุฒิสภาแถลงว่าวุฒิสภามีหน้าที่ตรวจสอบและกลั่นกรองร่างกฎหมายของสภา ผู้แทนราษฎร และมีแนวโน้มชัดเจนว่าสมาชิกวุฒิสภาจะไม่ยอมให้ร่างกฎหมายที่สร้างปัญหาผ่าน ความเห็นชอบของวุฒิสภา

  พรรคประชาธิปัตย์น่าจะพึงพอใจ ที่รัฐบาลและวุฒิสภาต่างก็แถลงจุดยืนคล้ายคลึงกันกับความต้องการ “คว่ำ” ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอยตามที่พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยต่อผู้ประชุม และแถลงผ่านกลไกประชาสัมพันธ์ของพรรค  แต่ปรากฎว่าในค่ำวันเดียวกันนั้นนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะปราศรัยที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแสดงความไม่สบอารมณ์ต่อคำแถลง ของประธานวุฒิสภาดังกล่าว

  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และแกนนำพรรคคนอื่น ๆ ที่เคยปราศรัยกล่าวอ้างการยึดมั่นหลักการนิติรัฐนิติธรรมจึงกลายสภาพเป็น “ตลกการเมืองถอดหน้ากากขาว” ที่ดูบริสุทธ์ผุดผ่องจากภายนอก  กลายเป็นเนื้อในที่แสดงถึงความไม่ยึดมั่นในหลักการที่ตนประกาศหาเสียง หรือปราศรัยหาพลังมวลชนมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตน

  ในบรรดาผู้แสดงหรือแถลงคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ทุกรายทุกกลุ่มที่กล่าวอ้างเหตุผลต่าง ๆ บางส่วนคล้ายกันบางส่วนต่างกันนั้นมีจุดยืนที่อาจจำแนกอย่างคร่าว ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ (๑) ต้องการรักษาหลักการทางกฎหมายในการนิรโทษกรรมไม่ให้เกินเลยไปเป็นกฎหมายที่ ขัดหลักนิติรัฐนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนสากล และ (๒) ต้องการฉวยโอกาสใช้จุดอ่อนทางกฎหมายของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับสุด ซอยในการเคลื่อนไหวเพื่อ “ล้ม” รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

(ผู้สนใจอาจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การล้มพรรคร่วมรัฐบาล ที่ผู้เขียนเคยนำเสนอก่อนหน้านี้ทางระบบอินเตอร์เน็ต)

  คำปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเมื่อค่ำวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ยืนยันเนื้อในภายใต้หน้ากากขาวที่ดูบริสุทธิ์ผุดผ่องจากภายนอก  อีกวาระหนึ่ง  แต่วาระนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้ลากเอาบรรดาที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย  ที่ประชุมองค์กรเครือข่ายธุรกิจเอกชน  ที่ประชุมดารานักแสดง  ที่ประชุมชมรมบุคคลากรทางสาธารณสุข และชนชั้นกลางกรุงเทพฯ อีกเป็นจำนวนมากให้แสดงภาวะตัวตนเช่นเดียวกับภาวะตัวตนของนายอภิสิทธิ์และ คณะออกมาให้สาธารณชนพิจารณาด้วยเช่นกัน
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ดูเพิ่มเติม
วรพล พรหมิกบุตร: การเมืองไทยปลาย ๒๕๕๖ : พายุใหญ่และวิกฤตประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น