ที่มา มติชน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน นายจาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กล่าวถึงกรณีของศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
กรณีที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน
ว่า ขณะนี้มีการวิเคราะห์และคาดการณ์ต่างๆ กันไปหลายแบบ
สะท้อนให้เห็นปัญหาเพราะความจริงไม่ควรจะต้องวิเคราะห์อะไร
เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับเรื่องและไม่มีอำนาจพิจารณามาแต่ต้น
แต่ที่ต้องออกมาวิเคราะห์ก็เพราะศาลรัฐธรรมนูญไปทึกทักตัดสินว่าตน
เองมีอำนาจสามารถวินิจฉัยตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
และยังเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลแล้วรับเรื่องไปดำเนินการทั้งที่ไม่มีมูล
เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนที่มาของ ส.ว.
ไม่มีอะไรที่จะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือทำให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นไป
ตามวิถีทางประชาธิปไตย
“โดยเนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่มีทางจะขัดกับมาตรา 68
และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจมาวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ชอบหรือไม่
ชอบ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ เพราะในเมื่อไม่ขัดกับมาตรา 68
จะอ้างเหตุอื่นๆ ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
และการทำแบบนี้คนจะมองได้ว่าเป็นการทำเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาทางการเมือง
ซึ่งจะคล้ายกับเหตุการณ์ครั้งก่อน
จากการชี้แจงของอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าต้องยุบพรรคการเมือง 4 พรรค
เพราะฝ่ายค้านและรัฐบาลไม่จับมือกันแก้ไขสถานการณ์การเมืองเมื่อครั้งยึด
สนามบิน จึงตัดสินยุบพรรคการเมือง
หากการตัดสินออกมาทางลบจะเข้าทำนองเดียวกัน
แต่หากขั้นต่ำคือไม่ถึงขั้นยุบพรรค หรือถอนสิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) และ ส.ว. แต่ไม่ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผล
เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ไข
ก็เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ในมาตรา 291
กำหนดให้แก้ไขได้ ซึ่งรัฐสภาก็ดำเนินการแก้ไขโดยยึดตามมาตรา 291
เพราะฉะนั้น
ผมคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคราวนี้ไม่ควรคิดถึงการแก้ไขปัญหาการเมืองเฉพาะ
หน้า แต่ควรคิดถึงปัญหาระยะยาว คือ ทำอะไรโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ไม่มีหลักเกณฑ์ บ้านเมืองจะยิ่งปั่นป่วนวุ่นวาย
บ้านเมืองจะยิ่งมีปัญหามากขึ้น”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น