เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ฟรองซัวส์ ออลลองด์ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสได้หาเสียงไว้ว่า “มันไม่มีพื้นที่ในประเทศฝรั่งเศสให้กับคำว่าเชื้อชาติ (race) และนี้เป็นสาเหตุที่เมื่อผมได้เป็นประธานาธิบดีแล้วผมจะเรียกร้องต่อรัฐสภาให้ลบคำว่าเชื้อชาติออกจากรัฐธรรมนูญ”[1] ซึ่งสถานการณ์การเหยียดผิวและเชื้อชาติในฝรั่งเศสเป็นภัยเงียบในปัจจุบันที่ เริ่มขยายวงกว้าง ถึงแม้ฝรั่งเศสจะมีคติประจำชาติ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาคก็ตาม ในสังคมก็สามารถพบเห็นความไม่เท่าเทียมกันอันเนื่องจากความแตกต่างของเชื้อ ชาติได้เป็นปกติ การเหยียดผิวแสดงออกมาทั้งอย่างโจ่งแจ้งและแอบซ่อน
และดังที่ทราบ ออลลองด์ชนะการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี โชคดีที่ประเทศฝรั่งเศสนักการเมืองเมื่อได้ตำแหน่งแล้วยังจำคำพูดตนเองสัญญา ที่ให้ไว้กับประชาชนได้บ้างและเคารพทุกคะแนนเสียงที่ช่วยให้เขามีโอกาสได้ ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งสูงสุด เมื่อวันพฤหัสที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศสได้ประกาศว่าก่อนหน้าร้อนปีนี้เขาจะผลักดันให้สภาผ่านการแก้รัฐ ธรรมนูญโดยจะลบคำว่าเชื้อชาติ (race) ออกจากรัฐธรรมนูญมาตราที่ 1 ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส[2]ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“ประเทศฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐอันแบ่งแยกไม่ได้ เป็นรัฐฆราวาส ประชาธิปไตยและสังคมนิยม ประเทศฝรั่งเศสรับประกันความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายให้กับประชาชนทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติด้านต้นกำเนิด เชื้อชาติ หรือ ศาสนา ประเทศฝรั่งเศสเคารพในความเชื่อของทุกคน”
อย่างไรก็ตามความคิดเรื่องการลบคำว่าเชื้อชาติออกจากรัฐธรรมนูญนั้น ออลลองด์มิได้เป็นผู้ริเริ่มคิดคนแรก จุดเริ่มต้นเกิดมาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในปี 1992ได้มีการจัดสัมมนา ณ Palais du Luxembourg และ Sorbonne โดยมหาวิทยาลัยปารีส 12 ภายใต้หัวข้อว่า “คำว่าเชื้อชาติมันมากเกินไปหรือเปล่าในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส”[3] ในการสัมมนาได้มีการผลิตบทความและการโต้วาทีตามมา ซึ่งบทความของ ศาสตราจารย์ Simone Bonnafous ชื่อ “การพูดคำว่าเชื้อชาติโดยสันนิษฐานว่ามันมีจริงๆใช่ไหม” (Est-ce que dire la race en présuppose l’existance)[4] มีผลกระทบต่อความคิดมาก เนื้อหาสำคัญของบทความคือ ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสคณะปฏิวัติได้อนุญาตให้ระบบกษัตริย์ดำรงอยู่ภาย ใต้รัฐธรรมนูญ ผลที่ตามมาคือเกิดการต่อสู้ระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งรวมถึงการต่อสู้ทางด้านภาษาด้วย ได้มีการต่อสู้เพื่อลบภาษาที่เป็นมรดกของระบอบเก่า เช่น คำว่า เจ้าชาย ระบอบสมบูรณาญา แล้วแทนด้วยคำใหม่ เช่น ประชาชน พลเมือง สินค้าสาธารณะ การเมืองเรื่องภาษาจึงเริ่มเข้าสู่หน้าประวัติศาสตร์ทางการเมือง อย่างไรก็ตามคำว่าเชื้อชาติกับการกดขี่เรื่องเชื้อชาติก็ไม่เป็นประเด็นจวบ จน หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว และมีการยกย่องชาติอารยันเพื่อกดขี่ชาติพันธุ์อื่นๆ ประเด็นเชื้อชาติและการกดขี่จึงเป็นปัญหาสำคัญ และคำว่าเชื้อชาติ(race)เริ่มมีประเด็นเชิงลบ สหประชาชาติและสมาชิกเริ่มมีการประกาศห้ามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และพัฒนาเป็นกฎหมายในรัฐธรรมนูญ
เมื่อมีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็มีประเด็นการเมืองทางภาษามาพิจารณา ซึ่งรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสบัญญัติว่า ปราศจากการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (sans discrimination de race ; without discrimination of race) โดยการบัญญัติแบบนี้แสดงว่า เรายอมรับว่ามีเชื้อชาติอยู่จริง (race) และมีการห้ามการเลือกปฎิบัติทางเชื้อชาติ ปัญหาที่ตามมาคือถ้าเรายอมรับว่ามีคำว่า เชื้อชาติ (race) อยู่ในโลกนี้แล้ว คำว่าrace มีความหมายกำกวมและขัดแย้งกันเองในพจนานุกรม race มีความหมายทั้งในเชิงชีววิทยา หมายถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติและควรรักษาไว้ถึง ความหลากหลายทางชีวภาพ และ ในเชิงสังคมวิทยาที่เป็นเชิงลบเช่นอาจหมายถึงความไม่เท่าเทียมกันและการ เหยียดผิว แต่เมื่อตรากฎหมายไปแล้วเราไม่สามารถบังคับให้ผู้รับสารเลือกที่จะใช้ความ หมายทางใดทางหนึ่งตามที่เราต้องการ ผู้รับสารอาจพิจารณาเลือกความหมายคำว่าเชื้อชาติในความหมายเชิงสังคมที่เป็น เชิงลบก็ได้ จากประโยคที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมีการใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธคือ without และ discrimination ซึ่งส่งผลต่อการตีความทางกฎหมายว่า ประโยค sans discrimination de race ต้องตีความทางกฎหมายได้อย่างเดียวว่า มีเชื้อชาติดำรงอยู่จริงๆ อยู่ นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญใส่คำว่า ปราศจากการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ ศาสนา และต้นกำเนิด (sans discrimination de race, origine et religion) ร่วมไปด้วยซึ่งทำให้การตีความรัฐธรรมนูญขัดแย้งกันเองสูง คำว่า ต้นกำเนิด (origine) กับ ศาสนา (Religion) มีความหมายไม่กำกวมต่อการตีความทางกฎหมายหรือความหมายเชิงลบ เช่น origine อาจแบ่งตามสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมันมีอยู่จริงและมีเขตแดน ประเทศ เป็นต้น และไม่ได้มีความหมายลบจนเอ่ยไม่ได้ ผิดกับคำว่า Race ซึ่งมีความหมายเชิงลบจนอยากจะลบออกในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ Race กินความรวมถึง Origine และ Religion ด้วย เมื่อเขียนสามคำนี้รวมกันแล้วก็เป็นการซ้ำความหมายโดยไม่จำเป็น และ สามารถตัดคำว่า Race ออกจากประโยคข้างต้นในรัฐธรรมนูฐได้ กล่าวโดยสรุปในมุมมองของนักภาษาศาสตร์แล้ว การปรากฏคำว่า เชื้อชาติในรัฐธรรมนูญเป็นการยอมรับว่ามีเชื้อชาติอยู่ในสังคมซึ่งเป็นความ หมายเชิงลบและฟุ่มเฟือยและควรตัดออกไปได้
อย่างไรก็ตามความพยายามของออลลองด์ครั้งนี้ก็มิได้มีผู้เห็นพ้องด้วยทุก คน หนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาเช่น Figaro ได้ให้ความเห็นว่า การลบคำว่าเชื้อชาติออกจากรัฐธรรมนูญก็ไม่ช่วยให้ปฏิเสธได้ว่ามีเชื้อชาติ อยู่จริงทางด้านมนุษยวิทยา ไม่ได้ช่วยให้เกิดการลดพวกเหยียดเชื้อชาติไปได้[5] Patrick Lozès ผู้ก่อตั้งสมาคมตัวแทนให้คำปรึกษาคนผิวดำกลับเห็นว่าการปรากฏคำว่าเชื้อชาติในรัฐธรรมนูญไม่มีความกำกวมใดๆ[6] นอกจากนี้ความเห็นอื่นๆทางกฎหมายเห็นว่าการตัดคำว่าเชื้อชาติออกจะส่งผล กระทบต่อระบบกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายสหภาพยุโรป และสหภาพยุโรปที่สมาชิกอื่นๆต่างมีคำว่าชาติพันธุ์อยู่ในรัฐธรรมนูญ และมีการเคลื่อนย้ายเสรีของประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์ในสหภาพยุโรป[7]
[1]
http://www.lemonde.fr/election-presidentielle-2012/article/2012/03/11/hollande-propose-de-supprimer-le-mot-race-dans-la-constitution_1656110_1471069.html
[2] http://www.lexpress.fr/actualite/politique/le-mot-race-supprime-de-la-constitution-avant-l-ete_1215398.html
[3] http://www.ciepfc.fr/spip.php?article279
[4] http://www.persee.fr/web/revues/home/prescript/article/mots_0243-6450_1992_num_33_1_1734
[5] http://blog.lefigaro.fr/rioufol/2012/03/francois-hollande-a-trouve-la.html
[6] http://www.agoravox.fr/actualites/politique/article/polemique-sur-la-suppression-du-113368
[7] http://www.ciepfc.fr/spip.php?article279
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น