แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ" แนะทางออกประเทศ ให้ทำ "พรบ.นิรโทษกรรม" เว้นแกนนำ-จนท.รัฐ

ที่มา go6tv



วันนี้ ( 5 ก.พ.) ที่อาคารนาวินคอร์ท ถ.สุขุมวิท นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) แถลงวิพากษ์แนวทางการนิรโทษกรรม  ว่า ตามที่มีบุคคลหรือฝ่ายต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนที่ตกเป็น ผู้ต้องหาหรือจำเลยอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองทีผ่านมานั้น โดยเฉพาะการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรม หรือการเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง ตามแนวทางของกลุ่มนิติราษฎร์นั้นมีข้อความพิจารณาทบทวนคือ แนวทางการตรา พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ถือเป็นการหักดิบและปิดหูปิดตาสมาชิกรัฐสภาโดยฝ่ายบริหารเกินไป ถึงแม้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมนั้นจะต้องมีการเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยเร็วก็ตาม แต่การพิจารณาของรัฐสภาก็เป็นเพียงการอนุมัติหรือไม่อนุมัติเท่านั้น โดยไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดได้เลย ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะนำไปสู่ทางตัน และเป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคมไทยอย่างไม่จบสิ้น
นายอุกฤษ กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นแนวทางดังกล่าวยังมีปัญหาการตีความในข้อกฎหมายหากประกาศใช้แล้ว สมาชิกรัฐสภาไม่เห็นด้วย ส.ส.และ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 อาจใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่า พ.ร.ก.นั้น ตราขึ้นโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือวรรค 2 ซึ่งกำหนดไว้ว่าการตราพระราชกำหนดจะกระทำได้เฉพาะกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.นิรโทษกรรมไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ซึ่งมีผลทำให้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่มีผลตั้งแต่ต้น ตามมาตรา 185 วรรค3 ส่งผลให้ผู้กระทำผิดหรือจำเลยที่พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดและได้รับอิสรภาพแล้วตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ต้องกลับคืนสู่สถานะผู้ต้องหาหรือจำเลยกลับเข้าสู่การคุมขังตามเดิม
ประธาน คอ.นธ. กล่าวอีกว่า ส่วนแนวทางการเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมหรือการขจัดความขัด แย้ง ตนเห็นว่าแนวทางดังกล่าวจะสำเร็จได้ยากมาก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งจะเห็นได้จากร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. 3 ยังค้างอยู่ในวาระที่ 3 และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเดินไปในทิศทางใด การเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทรกรรมฯ อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวประสบชะตากรรมเดียวกันกับร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้นแนวทางการตราเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามข้อเสนอของ คอ.นธ. จึงมีความเหมาะสมและเป็นไปตามหลักสากลที่สุด เพราะตามหลักการการตรากฎหมายนิรโทษกรรมควรเป็นอำนาจและอยู่ภายใต้ดุลยพินิจ ของฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งกฎหมายนิรโทษกรรมถือเป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายทั่วไปและมีผลต่อความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง จึงควรได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบจากสมาชิกรัฐสภาในฐานะผู้แทนปวงชน ชาวไทย และควรใช้เวทีหรือกระบวนการทางรัฐสภาเพื่อหาทางออก  ทั้งนี้การริเริ่มเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภา ควรริเริ่มหรือมาจาก ส.ส.หรือ ครม.
นาย อุกฤษ กล่าวต่อว่า  การพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของเนื้อหาหรือขอบเขตของการนิรโทษกรรมว่าจะครอบคลุม ถึงบุคคลใดบ้าง หากเนื้อหาของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมีความชัดเจนว่าการนิรโทษกรรมครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ ของประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง และเป็นผู้ที่มีความสุจริตทางการเมืองและแสดงออกตามสิทธิในฐานะประชาชน โดยไม่รวมถึงบรรดาแกนนำผู้ซึ่งมีอำนาจการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการ เคลื่อนไหวทางการเมือง และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายรักษาความ สงบหรือยุติเหตุการณ์ที่จะนิรโทษกรรมนั้นแล้ว เชื่อว่าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะสามารถดำเนินการได้โดยเร็ว เพราะเมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วยหรือยอมรับเนื้อหาหรือขอบเขตดังกล่าวแล้ว การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในวาระที่ 2 ของทั้ง ส.ส.และส.ว.  อาจกระทำโดยกรรมาธิการเต็มสภา หรือให้มีการพิจารณา 3 วาระรวด โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ซึ่งจะเสร็จและประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ภายในสมัยประชุมสภานิติบัญญัติที่จะ สิ้นสุดในวันที่ 19 เม.ย.นี้   ทั้งนี้ตนได้ใช้ช่องทางเสนอผ่าน ครม. โดยยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีในวันเดียวกันนี้  ซึ่ง ครม. มีคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความกฎหมายฉบับนี้ซึ่งจะทำให้กระบวนการเดินไปได้เร็ว ยิ่งขึ้น  และไม่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญที่จะต้องตีความเหมือนการออกเป็น พ.ร.ก.
นาย อุกฤษ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความหวาดระแวงและความสงสัยแก่สังคมว่าการตรากฎหมาย นิรโทษกรรมว่าการตรากฎหมายในครั้งนี้ จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง บรรดาแกนนำในการชุมนุม ผู้มีอำนาจตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ตนเห็นว่านักการเมืองหรือบรรดาแกนนำไม่ว่าฝ่ายใด ควรแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการปฏิญาณตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและให้คำ มั่นสัญญาแก่ประชาชนว่าจะสละสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรมและ ไม่ประสงค์ที่จะรับการนิรโทษกรรมในครั้งนี้ และยินยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ โดยการลงชื่อในหนังสือแสดงเจตจำนงไม่ขอรับการนิรโทษกรรมให้ปรากฏต่อสาธารณชน ทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น