แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประสบการณ์ 'กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' จากยุโรป

ที่มา Thai Free News


สหภาพ ยุโรป จัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กฎหมายหมิ่นฯ จากยุโรป โดยมีผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก และอัยการจากเสปนที่เคยพิจารณาคดีหมิ่นฯ เข้าร่วม ชี้หลักเสรีภาพการแสดงออกต้องมาก่อนเนื่องจากเป็นรากฐานของเสรีภาพทุกชนิด 

หลังจากคำตัดสินลงโทษนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บ.ก. นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน เป็นเวลา 10 ปี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์บทความสองบทความที่หมิ่นเบื้องสูงในนิตยสาร หนึ่งสัปดาห์ถัดมา สหภาพยุโรป ก็ได้จัดงานสัมมนาเรื่องเสรีภาพการแสดงออก และการปรองดอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่างๆ อาทิ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เสรีภาพสื่อ และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีนักวิชาการ นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมราว 100 คน 
 
โดยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 56 มีวงเสวนาในหัวข้อ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ - การใช้ ความท้าทาย และนัยสำคัญ" มีผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก นายปีเตอร์ มอร์ค ธอมเสน ซึ่งเป็นเคยพิพากษาหลักในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเดนมาร์ก นายออกุสติน ไฮดัลโก จากสำนักงานอัยการสูงสุดของสเปน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กฎหมายนี้ในยุโรป รวมถึงจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 
 
 
นายออกุสติน ไฮดัลโก กล่าวว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือการดำรงอยู่ระหว่างการปะทะกันของเสรีภาพการแสดงออก และสิทธิในการเชิดชูและให้การพิทักษ์เป็นพิเศษแด่สถาบันกษัตริย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างสองอย่าง

เดนมาร์ค: เสรีภาพการแสดงออกถือว่าเป็น "ออกซิเจน" ของสิทธิทั้งหมด 
 
นายปีเตอร์ มอร์ค ธอมเสน ผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก กล่าวถึงความคล้ายคลึงของเดนมาร์คและไทย ทั้งการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ เป็นประมุขของศาสนา และการที่กฎหมายหมิ่นฯ ถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญหมวดความมั่นคงของรัฐและการก่อการร้าย นอกจากนี้ ประชาชนเดนมาร์คก็ยังมีความรู้สึกที่เป็น "เอกลักษณ์" ต่อราชินีของตนเอง เช่นเดียวกับคนไทยต่อสถาบันกษัตริย์ของตนเอง 
 
อย่างไรก็ตาม บทลงโทษของกฎหมายหมิ่นฯ กำหนดไว้เป็นการจำคุกสูงสุด 4 ปีเท่านั้น และไม่มีบทลงโทษขั้นต่ำ และปัจจุบันการใช้กฎหมายนี้ในเดนมาร์ค ก็แทบจะไม่มีแล้ว โดยตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา เดนมาร์คได้ยกเลิกการเอาผิดคำพูด (statements) ที่หมิ่นประมาท และเอาผิดเพียงการกระทำ (action) ที่มุ่งจะทำให้เกิดภัยต่อกษัตริย์เท่านั้น 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://www.prachatai.com/journal/2013/02/45296

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น