แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ธิดา ถาวรเศรษฐ:การแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชน

ที่มา Thai E-News



เพื่อตอบคำถามว่า  ทำไมไม่ไปกดดันรัฐบาลด้วยการชุมนุม  เพราะเราใช้หลักความเป็นมิตรไม่สร้างหรือขยายความขัดแย้งในหมู่ประชาชน  จึงนำเสนอพระราชกำหนดนิรโทษกรรม  โดยให้คุณณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ เป็นตัวแทนไปเจรจากับนายกรัฐมนตรี  

โดย ธิดา ถาวรเศรษฐ
ที่มา เว็บไซต์ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน


 ก่อนที่จะไปสู่การอธิบายปัญหาบางประการที่ได้กล่าวไว้ในบทความที่แล้ว  ก็ ได้พบว่ามีผู้สนใจแสดงแง่คิดที่แตกต่างกัน  ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้ แสดงความคิดเห็นในเชิงหลักการเพิ่มเติม  เพื่อทำให้ความคิดเห็นในด้านหลัก การการแก้ไขความขัดแย้งในหมู่ประชาชนอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  กล่าวคือ

        ประการแรก  ข้อเสนอสามประการคือ
               “สามัคคี วิจารณ์ สามัคคี”                “รักษาโรคเพื่อช่วยคน”  และ                “แสวงจุดร่วม  สงวนจุดต่าง”

นั้น ใช้กับทุกส่วนในหมู่มิตร  ไม่ใช่เรียกร้องกับเฉพาะผู้วิพากษ์วิจารณ์ นปช.  เพราะนปช.และผู้ถูกวิจารณ์อื่น ๆ ก็ต้องใช้เช่นเดียวกัน  ถือว่าใช้กับทุกส่วนในหมู่มิตร  เพราะเมื่อมีผู้ วิจารณ์ออกไปด้วยท่วงทำนองไม่ถูกต้องประหนึ่งท่าทีต่อศัตรู  และที่สำคัญคือ “เนื้อหาไม่ถูกต้อง” โดยจงใจบิดเบือนความจริงหรือบนข้อมูลไม่ครบถ้วน  ก็จะทำให้เกิดการวิจารณ์ ตอบโต้กลับเช่นกัน  ดังนั้นหลักการเช่นนี้ก็ต้องใช้กับ “ทุกฝ่าย” ในความขัดแย้งในหมู่ประชาชนเพื่อรักษามิตรมิใช่ทำลายมิตร

        นี่ ไม่ใช่การเรียกร้องต่อผู้วิจารณ์  องค์กรนปช.  แต่หมายถึงฝ่ายประชาชนทุก ๆ ฝ่ายต้องพยายามยึดกุมให้ได้ด้วยความอดกลั้น  อดทน  โดยเอาผลประโยชน์ประชาชน เป็นตัวตั้ง  การพยายามอธิบายความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหรือแก้ไขสิ่งที่ถูกบิด เบือนผิด ๆ ก็ควรอยู่บนผลประโยชน์ของขบวนทั้งขบวน

        ประการที่สอง “แสวง จุดร่วม สงวนจุดต่าง”  เราจะใช้เมื่อผ่านการอภิปรายด้วยเหตุด้วยผลและข้อมูล  แล้ว ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน  เราก็ต้องยึดหลักการนี้โดยเอาเรื่องใหญ่เพื่อการ ต่อสู้ของประชาชนได้บรรลุเป้าหมายเป็นสำคัญ  นี่จึงเป็นหลักการที่ใช้กับ องค์กรคนละองค์กร  ใช้กับคนละกลุ่ม หรือใช้ในแนวร่วมสำหรับขบวนการคนเสื้อ แดงนั้นต้องใช้ตลอดเวลา  เพราะขบวนการประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงนั้นหลากหลาย ด้วยจุดยืน  ด้วยเป้าหมาย  และวิธีการ  ดังนั้นคำพูดนี้จึงต้องใช้ให้มากสัก หน่อย  ยามที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  ทั้งที่มีเป้าหมายใหญ่ในการ ต่อสู้ร่วมกัน  เพราะท่ามกลางการเคลื่อนไหวในสถานการณ์ใหม่ที่ฝ่ายประชาชน ได้เป็นรัฐบาล  เป็นเรื่องยากที่จะเกิดความเป็นเอกภาพทางความคิดและการกระทำ ทั่วทั้งขบวนในการขับเคลื่อน

        ประการที่สาม  สิ่ง ที่เร่งความขัดแย้ง  เพิ่มความขัดแย้งในหมู่ประชาชนให้พุ่งขึ้นสูง  ที่ สำคัญมิใช่ท่วงทำนองประหนึ่งเป็นศัตรู  แต่เป็นเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริง โดยจงใจบิดเบือน  ใส่ร้าย  ให้มิตรถูกดูถูกเหยียดหยามและถูกเกลียด ชัง  เพราะถ้าจงใจใส่ความเท็จ  นี่จะเป็นตัวเร่งความขัดแย้งให้พุ่งสูงขึ้น ทันที

        และ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น  แม้ว่าขบวนประชาชนนั้นจะไม่ใช่ ขบวนปฏิวัติก็ตาม  เพราะการใช้ความจริงนั้นเป็นอาวุธที่ทรงพลังของประชาชน ผู้ถูกกระทำจากผู้ปกครอง  และแม้แต่ต่อพวกปฏิปักษ์ต่อประชาชน  ประชาชนก็ ต้องใช้ความจริงไปโจมตี  ใช้การโป้ปดมดเท็จไม่ได้เป็นอันขาด  ดังนั้นในขบวน การประชาชนไม่อนุญาตให้กล่าวเท็จใส่ร้ายต่อฝ่ายประชาชนด้วยกันเองเป็นอัน ขาด  และต้องถือเรื่องนี้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ  มิใช่ข้อเรียกร้องขั้นสูงแต่ ประการใด

        ประการที่สี่  มี ผู้เสนอประโยคที่ว่า  “ผู้พูดไม่ผิด  ผู้ฟังพึงสังวรณ์”  นี่เป็นข้อเสนอที่ เรียกร้องต่อ  “ผู้ถูกวิจารณ์” โดยที่ต้องเข้าใจว่า  ประโยคนี้ใช้เมื่อ ไร?  นั่นคือ  ถ้าผู้พูดที่บอกว่าไม่ผิด (แม้ว่าจะพูดอย่างผิด ๆ)  คือมวลชนที่ถูกป้อนข้อมูลผิด ๆ  หรือมวลชนปฏิกิริยา (มวลชนระบอบอำมาตย์) ผู้ฟังคือฝ่ายประชาชน “พึงสังวรณ์”นี่ย่อมถูกต้อง  ไม่จำเป็นต้องเป็นแกนนำของประชาชน  เพราะใน ขบวนประชาธิปไตย แกนนำมิใช่ผู้นำแบบพรรคปฏิวัติ  ฝ่ายประชาชนทั้งหมดพึงสัง วรณ์  ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดเช่นกัน

        แต่ ถ้าผู้พูดเป็นผู้มีบทบาทในฝ่ายประชาชน  และมีภาวะเป็นแกนนำระดับใดระดับ หนึ่ง  (ทางความคิดและการเคลื่อนไหว)  จะพูดอะไรแล้วอ้างเอาว่า “ผู้พูดไม่ผิด  ผู้ฟังพึงสังวรณ์”  ก็คงไม่ได้แน่  เพราะเท่ากับว่าตนสามารถ พูดอะไรก็ได้  พูดผิด ๆ พูดใส่ร้าย  บิดเบือนความจริงก็พูดได้  เป็นหน้าที่ของผู้ฟังพึงสังวรณ์เช่น นั้นหรือ

        ถ้า เป็นเช่นนั้นผู้พูดดังกล่าวก็ไม่ต่างอะไรกับมวลชนของพวกปฏิกิริยาล้า หลัง  หรือเป็นแบบเดียวกับนักการเมืองพรรคปฏิกิริยาล้าหลังบางพรรคที่ “พูดเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่ผู้อื่น”  และนี่จะเป็นแบบอย่างของการไร้ความรับผิดชอบต่อคำพูด หรือการกระทำของตนที่ส่งผลร้ายต่อขบวน  และถ้าพูดกันให้ถึงที่สุด  นี่ไม่ ควรเป็นวิธีคิดของฝ่ายประชาชน  “ผู้พูดไม่ผิด  ผู้ฟังควรสังวรณ์”  บ่งถึง ความต่างชั้น  ต่างระดับของผู้พูดและผู้ฟังดังตัวอย่างเช่น ชาวบ้านกับหัวหน้าพรรคการเมือง  มีหัวหน้าพรรคการเมืองเก่าแก่บางพรรคก็จะ โต้ตอบกับประชาชนที่เป็นผู้หญิง 2-3 ท่านอย่างเอาเป็นเอาตายในตลาด

        ดัง นั้น  ตรงข้าม  ผู้เขียนคิดว่าจะถูกต้องกว่า ถ้าใช้ “ไม่สำรวจ (ข้อมูล) ย่อมไม่มีสิทธิวิจารณ์”  นี่ควรจะเป็นเนื้อหาที่เอามาใช้ในการแก้ความขัด แย้งในหมู่ประชาชน  ไม่ใช่ผู้พูดไม่ผิด  ผู้ฟังพึงสังวรที่จะเติมเชื้อไฟและ เร่งให้ความขัดแย้งในหมู่ประชาชนเพิ่มสูงขึ้น  อาจมีบางท่านกล่าวว่า  นี่ เป็นการเรียกร้องต่อผู้วิจารณ์อีกเช่นกัน  เพราะนี่จึงจะนำไปสู่ “สามัคคี วิจารณ์ สามัคคี” ได้  และไม่ใช่เรื่องของการ “ประจาน” ที่หมายความว่าเอาเรื่องความจริงที่เป็นความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกใน หมู่ประชาชนมาบอกเล่าต่อสาธารณะ เพราะการวิจารณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของการ สำรวจข้อมูลมาพอสมควรจึงจะสามารถนำเสนอได้โดยไม่มีอคติ  และความมุ่งร้าย ทำลายต่อกันจึงจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้  ไม่ว่าจะ เป็นฝ่ายใดในหมู่ประชาชน

        ถาม ว่าอนุญาตให้มีข้อมูลไม่ครบถ้วนวิพากษ์วิจารณ์ได้หรือไม่  ย่อมได้แน่ นอน  และอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ผิดได้ โดยผู้พูดไม่มีความผิดในแง่เจตนาทำลาย ขบวน  แต่บกพร่องในเรื่องข้อมูล  เพราะไม่ได้มีเจตนาพูดเท็จใส่ร้ายป้ายสี และอยู่บนพื้นฐานแห่งการสำรวจระดับหนึ่ง  ข้อนี้อาจจะเป็นการเรียกร้องต่อ ผู้พูดที่มีความรับผิดชอบพอสมควร  เพราะการพูดวิพากษ์วิจารณ์ผิด ๆ หรือจงใจเท็จ  แม้อาจมีคนเชื่อถือในตอนแรก ๆ  แต่นาน ๆ ไปคนก็จะรู้ว่าความจริงคืออะไร  ผู้พูดก็หมดความน่าเชื่อถือเอง เช่น พวกที่อ้างวาทกรรม “ล้มเจ้า” “เผาบ้านเผาเมือง”  “มีชายชุดดำ”  หรือในหมู่ประชาชนเองที่แกนนำ กลุ่มหนึ่งหรือคนหนึ่งโจมตีแกนนำอีกกลุ่มหนึ่งด้วยความเท็จ  หรือการโต้ตอบ ผู้วิจารณ์กลับด้วยความเท็จ  ผู้พูดก็จะหมดความน่าเชื่อถือ  และที่สำคัญคือ การเพิ่มความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประชาชนด้วยกันให้สูงยิ่งขึ้น  เนื้อความที่ ว่า “ไม่สำรวจ  ไม่มีสิทธิวิจารณ์”  จึงทำให้ทุกฝ่ายเกิดความยับยั้งชั่งใจ ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือโต้ตอบการวิพากษ์วิจารณ์อีกที  โดยพยายามตรวจ สอบข้อมูลให้มากสักหน่อย นี่จึงจะเป็นการยกระดับความรับผิดชอบต่อคำพูดและ การกระทำของตนว่าจะมีผลเสียหายต่อขบวนหรือไม่  นี่ยอมมิใช่การจำกัดการ วิพากษ์วิจารณ์

        โดย เฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันการสื่อสารสมัยใหม่  เพียงแค่คิดว่าเครียด, ดีใจ, หิวข้าว, กินข้าวอิ่ม  ก็กดแป้นระบายความรู้สึกออกมาแล้วโดยไม่ต้องคิด  จึงมีโอกาส ที่จะสื่อสารได้เร็วมาก  ก่อนที่จะมีข้อมูลและเนื้อความก็จะถูกส่งออกไป อย่างรวดเร็ว  จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การโจมตีวิพากษ์วิจารณ์โดยที่ยังไม่ ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลหรือด้วยอารมณ์ไม่พึงพอใจจะระบาดลุกลามอย่างรวด เร็ว  จึงเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต้องอดทนที่จะชี้แจง  ผู้เขียนซึ่งเคยชินกับ การสื่อสารยุคโบราณจึงไม่สันทัดในโลกไซเบอร์  โดยทั่วไปก็จะคิดว่าประเดี๋ยว คนก็จะรู้เองว่าอะไรเป็นอะไร  เพราะความจริงนั้นจะทนต่อการพิสูจน์  แต่ ปัจจุบันก็พบว่า  ถ้าความเชื่อถูกสร้างให้เกิดขึ้นเร็วในโลกไซเบอร์  และความจริงมาช้าเกินไปก็ส่งผลเสียหายใหญ่หลวงเช่นกัน

        รูปธรรม ในการนำเสนอเพื่ออธิบายความสงสัยในหมู่ประชาชนนั้น  ผู้เขียนยังไม่ได้นำ เสนอในบทความนี้  รวมถึงมีปัญหาบทเรียนการต่อสู้ของประชาชน  แต่ขอพูด ประเด็นเดียวในการอธิบายประกอบหลักการคือ  เหตุใดนปช.ไม่เคลื่อนไหวกดดัน รัฐบาล  นปช.ได้แถลงข่าวในวันพุธที่ 6 ก.พ. 56 แล้วว่าจะไม่ใช้วิธีนำมวลชนมาชุมนุมกดดันรัฐบาลเพราะจะใช้ท่วงทำนองมิตรใน การนำเสนอพระราชกำหนดนิรโทษกรรม  โดยให้คุณณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ เป็นตัวแทนไปเจรจากับนายกรัฐมนตรี  แต่เนื้อหาคือ  การออกพระราชกำหนดโดย อาศัยอำนาจบริหารซึ่งจะเกิดผลเร็วที่สุด  นั่นคือมีผลในทางปฏิบัติต่อรัฐบาล ที่หนักหน่วงอย่างยิ่งว่าจะยินดีปฏิบัติหรือไม่  โดยอ้างเหตุผลวิกฤตประเทศ ที่ฝ่ายประชาชนยากที่จะอดทนต่อไปอีกแล้ว  และเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่จะมา สู่ความมั่นคงของประเทศในเวลาอันใกล้นี้  ถ้าไม่หาทางออกให้แก่ประเทศไทย

        แต่ เราก็ใช้ท่วงทำนองอย่างมิตรที่ขอให้ใช้เวลาไม่นานเกินไป  ขอให้มีการปฏิบัติ การโดยเร็วที่สุด  จะเลือกใช้ พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ. หรือร่างรัฐธรรมนูญ  ก็ขอให้ทำให้เร็วที่สุดดังนี้เป็นต้น  เพื่อตอบคำถาม ว่า  ทำไมไม่ไปกดดันรัฐบาลด้วยการชุมนุม  เพราะเรา ใช้หลักความเป็นมิตรไม่สร้างหรือขยายความขัดแย้งในหมู่ประชาชน  แต่จุดยืน และเนื้อหานั่นต่างหากที่แสดงออกถึงความมั่นคง  ยืนหยัดต่อข้อเรียกร้องบนผล ประโยชน์ของการต่อสู้ของประชาชน  

พูด ง่าย ๆ คือกดดันด้วยเนื้อหาของฝ่ายประชาชนนั่นเอง  สำหรับคำชี้แจงในเรื่องอื่น ๆ  จะอธิบายประกอบหลักการต่อไป  แม้ว่าได้ชี้แจงกันมาหรือมีข้อมูลนำเสนอมา ก่อนนี้ก็ตาม  แต่เมื่อมีการพูดซ้ำ ๆ ก็จำเป็นต้องอธิบายชี้แจงและปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป

**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น