แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: โครงการรับจำนำข้าวขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทจริงหรือ?

ที่มา Thai E-News

 รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556

มาตรการ ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอันเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดก็คือ โครงการรับจำนำข้าว เพราะแม้แต่ที่ปรึกษา นักวิชาการ และสื่อมวลชนบางคนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ก็ยังแสดงความกังวลต่อโครงการ

เนื่องจาก นี่เป็นโครงการที่รัฐบาลช่วยเหลือชาวนาด้วยการรับจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่า ราคาตลาด แล้วนำมาระบายออกในราคาต่ำ จึงก่อให้เกิดการขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรในลักษณะนี้

ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวจึงเป็นเป้าหมายที่พรรคฝ่ายค้าน นักวิชาการและสื่อกระแสหลักที่เกลียดชังรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมุ่งบิดเบือน ไส่ไคล้ ปั้นตัวเลขเกินจริงตลอดมา

ล่าสุดคือ การปั้นแต่งตัวเลขให้โครงการรับจำนำข้าวขาดทุนสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท ประกอบด้วยขาดทุนจากการรับจำนำข้าว 2 แสนล้านบาทและค่าบริการจัดการอีก 6 หมื่นล้านบาท เป็นตัวเลขไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีแหล่งอ้างอิง แต่ขานรับกันเป็นทอด ๆ กระพือโดยสื่อกระแสหลักให้เป็นกระแสโจมตีรัฐบาล

ที่แย่ไป กว่านั้นคือ ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะแม้จะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวไปได้ด้วยดี แต่กลับไร้ความสามารถในการทำความเข้าใจกับสาธารณชน ที่แย่ไปกว่านั้นคือ การให้สัมภาษณ์หรือการแถลงข่าวแต่ละครั้งของรัฐมนตรีเต็มไปด้วยความคลุม เคลือ สร้างความสงสัยเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสาธารณชน

กรณี ตัวอย่างคือ การแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2556 ซึ่งน่าอเน็จอนาถอย่างยิ่ง เป็นการแถลงที่ไม่มีความพร้อมในทางหลักเหตุผลและข้อมูล เอาแต่ตอกย้ำเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองอยู่แค่ว่า “ตัวเลขขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทนั้นไม่จริง ยังมีข้าวในสต๊อกที่ขายไม่หมด โครงการยังไม่จบ จึงสรุปไม่ได้” นอกนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถตอบคำถามที่เต็มไปด้วยอคติของสื่อกระแสหลักที่ตั้งหน้าทิ่มแทง รัฐบาล

รัฐมนตรี ว่าการและรัฐมนตรีช่วยนั้นไร้เดียงสาเสียจนเชื่อว่า การปฏิเสธตัวเลขขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทแบบห้วน ๆ เช่นนี้ ผู้คนเขาก็จะเชื่อทันทีเลยหรือ? ถ้ารัฐมนตรีทั้งสองท่านจะแถลงเพียงแค่นี้ ก็อย่าออกหน้ามายังจะดีกว่า หรือที่จำต้องตากหน้าออกมาแถลงอย่างเสียไม่ได้ก็เพียงเพราะถูกนายกรัฐมนตรี สั่งแค่นั้น?

การแถลงใน ครั้งนี้จึงล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และกลับยิ่งช่วยกระพือกระแสการโจมตีและความสงสัยในหมู่ประชาชนที่มีต่อ โครงการรับจำนำข้าวให้หนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก!

ตัวเลขขาด ทุน 2.6 แสนล้านบาทมีที่มาสองแหล่ง ชุดแรกเป็นการเหมารวมยอดการจำนำข้าวนาปี 2554/55 นาปรัง 2555 และข้าวนาปี 2555/56 ทั้งสิ้นราว 2 แสนล้านบาท เอาโครงการคนละปีงบประมาณมาปะปนกัน ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขขาดทุนจริงก็หมายความว่า ข้าวสารทุกเมล็ดกว่า 20 ล้านตันต้องเสียหายหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้

ส่วนตัวเลข 2.6 แสนล้านบาทชุดที่สองเป็นการปั้นแต่งตัวเลข ได้แก่ ค่าบริหารที่อ้างว่า สูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ก็มาจากตัวเลขที่สองนักวิจัยคือ นิพนธ์ พัวพงศกรกับอัมมาร สยามวาลา ได้คำนวณไว้และนำมาโจมตีโครงการนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ส่วนตัวเลขขาดทุนจากการขายข้าวนั้น เป็นการสมมติให้รัฐบาลขายข้าวสารปี 2554/55 จำนวน 7.65 ล้านตันในราคาตันละ 15,000 บาท ได้เป็นเงิน 1.1 แสนล้านบาท ขณะที่ต้นทุนการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นเงินรวมกว่า 3 แสนล้านบาท ส่วนต่างจึงเป็นการขาดทุน 2 แสนล้านบาท

ตัวเลขที่ แท้จริงคือ ในปีการผลิต 2554/55 (นาปีและนาปรัง) รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือกทั้งสิ้น 21.7 ล้านตัน เป็นเงินทั้งสิ้น 3.3 แสนล้านบาท มีค่าบริหาร 1.5 หมื่นล้านบาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 3.5 แสนล้านบาท รัฐบาลได้ระบายข้าวสารออกไปแล้วราว 3 ล้านตัน เป็นรายรับ 6 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันเหลือเป็นข้าวสารในสต็อกอีกจำนวนราว 10 ล้านตัน หากตีราคาข้าวสารจำนวนนี้ในราคาตลาดปัจจุบันหักลบด้วยค่าใช้จ่ายจริงทั้งหมด ก็จะได้ตัวเลขขาดทุนทางบัญชี (เพราะยังไม่ได้ขายข้าวสารออกไปจริง) คำนวณโดยกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 31 มกราคม 2556 คือ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่าตัวเลขเท็จ 2.6 แสนล้านบาทเกือบครึ่ง!

กระทรวง พาณิชย์ได้ระบายข้าวปี 2554/55 ออกไปน้อยมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะราคาข้าวสารในตลาดโลกได้ตกต่ำลงอย่างมากเนื่องจากการ ทุ่มส่งออกของอินเดียที่ราคาเพียง 400-450 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของไทยปัจจุบันอยู่ที่ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันและมีแนวโน้มลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้และรัฐบาลจำต้องระบายข้าวออกไปโดยเร็ว ตัวเลขขาดทุนจริงก็จะเกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่า อยู่ที่ 7-8 หมื่นล้านบาท

ปีการผลิต 2554/55 ชาวนาที่เข้าโครงการมีจำนวน 2.7 ล้านราย ยอดเงินรับจำนำ 3.3 แสนล้านบาท ปัจจุบันมีคดีทุจริตที่ตรวจพบ 1,800 คดี ตั้งแต่คดีละไม่กี่แสนบาทไปจนถึงคดีละนับสิบล้านบาท โดยรวมแล้ว จะมีเงินตกถึงมือชาวนาเฉลี่ยรายละประมาณ 120,000 บาท แน่นอนว่า ชาวนาจะได้รับจริงตามจำนวนผลผลิต ชาวนาที่เพาะปลูกพื้นที่มากก็จะได้มาก ชาวนาที่เพาะปลูกพื้นที่น้อยก็จะได้น้อยตามสัดส่วน แต่เม็ดเงินถึงมือชาวนาอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินเองหรือเช่า ที่ดิน เพราะเพียงมีเมล็ดข้าวมาจำนำจริง ก็จะได้เงิน

โครงการ รับจำนำข้าวจึงมีข้อดีกว่าโครงการประกันรายได้ชาวนาของรัฐบาลพรรคประชา ธิปัตย์ซึ่งชดเชยรายได้ให้กับเจ้าของที่นาตามขนาดพื้นที่ ทำให้เจ้าของที่นาเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ขณะที่ชาวนาผู้เช่าไม่ได้อะไรเลย ยิ่งกว่านั้น จำนวนที่ดินทั้งหมดที่ลงทะเบียนในโครงการประกันรายได้ก็มากเกินจริง เพราะประเมินเป็นผลผลิตข้าวเปลือกได้มากถึง 41 ล้านตันทั้งที่ตัวเลขผลผลิตจริงอยู่ที่ปีละ 30-32 ล้านตันเท่านั้น และการที่รัฐบาลไม่ได้แทรกแซงตลาดข้าวโดยตรง ทำให้พ่อค้าสามารถกดราคารับซื้อได้ตามใจชอบ (เหลือแค่ตันละ 6,000 บาทในช่วงเก็บเกี่ยว) ตัวเลขความเสียหายจริงจากโครงการประกันรายได้อยู่ที่ปีละ 6-7 หมื่นล้านบาท โดยผู้ที่ได้ประโยชน์จริงคือ เจ้าของที่ดินทั้งที่ทำนำจริงและที่ไม่ได้ทำนาแต่อ้างเป็น “ชาวนา” และพ่อค้ารับซื้อข้าวนั่นเอง

ส่วนข้อ โจมตีที่ว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ขู่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเพราะโครงการรับจำนำข้าว ก็เป็นการขยายความเกินจริง เพราะในรายงานมูดี้ส์ฉบับนั้นเป็นเพียง Credit Outlook รายงานเหตุการณ์เศรษฐกิจการเงินในแต่ละประเทศที่อาจมีผลบวกและลบต่อสถานะของ ประเทศต่าง ๆ ซึ่งในกรณีโครงการรับจำนำข้าว มูดี้ส์อ้างตัวเลขขาดทุน 2 แสนล้านบาทที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักไทยแค่นั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบถึงที่มาที่ไป ในกรณีนี้ มูดี้ส์ ซึ่งเป็นสถาบันประเมินความน่าเชื่อถือของคนอื่นไปทั่วโลก แต่ตนเองกลับบกพร่องอย่างยิ่งที่รายงานตัวเลขเท็จที่เป็น “ข่าวปล่อย” ในสื่อไทยโดยไม่มีการสอบทาน

เหตุการณ์ ทั้งหมดจึงเป็นบทเรียนสำคัญแก่พรรคเพื่อไทยว่า นโยบายดี บริหารดียังไม่พอ แต่การทำงานการเมืองที่ดี ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น