แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทวิเคราะห์รอยเตอร์ชี้ลดราคาจำนำข้าว ไม่แก้ปัญหาข้าวค้างสต็อก

ที่มา ประชาไท


ขณะที่รัฐบาลกำลังมีนโยบายลดราคาจำนำข้าวเหลือ 12,000 บาทต่อตัน ทางด้านไคลด์ รัสเซลล์ นักวิเคราะห์การตลาดก็มองว่าไม่ได้ช่วยลดผลผลิตคงเหลือจำนวนมาก ซึ่งทำให้ราคาส่งออกข้าวในพื้นที่ปรับตัวลดลง
ไคลด์ รัสเซลล์ (Clyde Russell) นักวิเคราะห์การตลาด เผยแพร่บทความลงในรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงประเด็นการลดราคาจำนำข้าวของรัฐบาลไทย ว่าเป็นการกระทำที่สมเหตุสมผล แต่ขณะเดียวกันก็คิดว่าปัญหาตลาดข้าวของเอเชียก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง แท้จริง
ไคลด์กล่าวว่า แม้การลดราคาจำนำข้าวจะเป็นการลดภาระงบประมาณและทำให้โครงการดำเนินต่อไปได้ แต่ก็ไม่ได้ช่วยลดจำนวนผลผลิตข้าวคงเหลือที่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพของตลาด โดยที่ประเทศไทยยังมีข้าวสารคงเหลือในคลังราว 17 ล้านตันนับตั้งแต่เริ่มนโยบายจำนำข้าว และเกรงว่าโกดังเก็บข้าวจะไม่เพียงพอต่อผลผลิตในฤดูกาลหน้า
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่นัดวิเคราะห์ชี้ให้เห็นคือการที่ไทยตกอันดับจาก ผู้ส่งออกข้าวในระดับต้นๆ โดยพ่ายให้กับทั้งอินเดียและเวียดนาม โดยที่การส่งออกลดลงจาก 10.6 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 6.9 ล้านตันในปี 2555 เนื่องจากนโยบายจำนำข้าวของไทย ทำให้ข้าวจากไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาด
และจากการสำรวจในไตรมาตรแรกพบว่าไทยส่งออกข้าว 1.56 ล้านตัน ทำให้ประเมินได้ว่าในปี 2556 ไทยคงส่งออกข้าวได้ราว 6.24 ล้านตัน ซึ่งน้อยกว่าที่รัฐบาลไทยตั้งเป้าไว้คือ 8.5 ล้านตัน
ไคลด์ ชี้ว่าการกักตุนข้าวก็เสี่ยงต่อการทำให้ราคาข้าวในพื้นที่ตกต่ำเมื่อไทยข้า ยข้าวแบบโละสต็อกซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดการค้าและผลิตข้าวในประเทศอื่นๆ และหากไทยต้องการส่งออกข้าวได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ราคาข้าวของไทยจะลดลงใกล้เคียงกับราคาข้าวของเวียดนาม อยู่ที่ว่าไทยจะยอมเสียเพื่อจะได้ขายในราคาตามกลไกตลาดหรือไม่
ในบทวิเคราะห์ได้ตั้งคำถามด้วยว่าการลดราคาจำนำข้าวจะช่วยประหยัดงบ ประมาณรัฐได้จริงหรือไม่เมื่อต้องเผชิญกับการปรับลดราคาตามกลไกตลาดเนื่อง จากมีข้าวในคลังอยู่มาก โดยการลดราคาจำนำข้าวครั้งล่าสุดปรับเหลือราคาตันละ 12,000 บาท ซึ่งมีการประเมินว่าราคารับซื้อจะอยู่ที่ราว 18,500 บาทต่อตัน
ก่อนหน้านี้บางกอกโพสท์ได้ประเมินว่ารัฐบาลได้ใช้เงิน 3.52 แสนล้านบาทในการรับซื้อข้าวปริมาณ 21.7 ล้านตัน ในช่วงปี 2554-2555 และได้ขายไปในราคา 5.92 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาขายข้าวค้างสต็อกจากการสำรวจเมื่อวันที่ 31 ม.ค. อยู่ที่ 1.56 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการสูญกำไรราว 1.36 แสนล้านบาท
แต่ไคลน์ก็บอกว่ารัฐบาลไทยอาจสูญเสียรายได้มากกว่านี้จากการต้องปรับลด ราคา และข้าวเป็นสินค้าซึ่งมีอายุอยู่ได้ไม่เกินสองปีทำให้เสี่ยงต่อการต้องทิ้ง ข้าวบางส่วนไปหากไม่สามารถขายได้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ COLUMN-Thailand's rice scheme cutback doesn't go far enough: Clyde Russell, Reuters, 19 June 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น