นายกรัฐมนตรีไทยเดินทางเยือนศรีลังกา เป็นวันที่ 2
โดยมีภารกิจหลัก 2 เรื่อง คือขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศ
เนื่องจากศรีลังกา เป็นประตูสู่ตลาดอินเดีย ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก
และภารกิจต่อยอดความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา ที่ยาวนานกว่า 260 ปี
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาอย่างเป็นทางการ เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และต่อยอดความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาระหว่างกัน
โดยนายกรัฐมนตรี และนายมหินทะ ราชปักษา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ได้หารือร่วมกัน และเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกัน โดยประธานาธิบดีศรีลังกาได้กล่าวเชิญชวนให้นักลงทุนไทย เข้ามาลงทุนในศรีลังกา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก การผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย แสดงความสนใจ เรื่องการลงทุนด้านอากาศยานและการท่าในประเทศศรีลังกา
การเดินทางในครั้งนี้ ยังมีมีนักลงทุนไทยประมาณ 30 คน จาก 6 สาขา ได้แก่ อาหาร พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อัญมณีและเครืองประดับ ก่อสร้าง และการศึกษา ร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อจับคู่ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างรัฐและเอกชนของศรีลังกา เนื่องจากหลังรัฐบาลศรีลังกา เจรจาสันติภาพกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอิแลมในประเทศได้สำเร็จ ศรีลังกา ก็เปิดประเทศ และเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งศรีลังกา มีศักยภาพเป็นแหล่งลงทุนสำหรับตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากจีน และมีข้อตกลง FTA กับอินเดีย จึงสามารถส่งสินค้าไปยังอินเดียโดยปลอดภาษีนับพันรายการ และศรีลังกากำลังอยู่ระหว่างพิจารณาโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทางตอนเหนือ ของประเทศเพื่อเชื่อมต่อกับอินเดียเพิ่มเติมด้วย
ภายหลังการหารือ ทั้ง 2 ประเทศ ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ลงนามความตกลง และบันทึกความเข้าใจ 4 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเมืองแคนดี้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมรัฐสภาศรีลังกา โดยถือเป็นผู้นำต่างชาติคนที่ 3 ที่ได้รับเกียรติในลักษณะนี้ ต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
โดยสุนทรพจน์นี้ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า รู้สึกได้รับเกียรติเป็นอย่างสูง ที่ได้มาโอกาสกล่าวต่อสมาชิกผู้แทนราษฏรที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน เพราะประชาชนศรีลังกาได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญในการปกป้องประเทศและ รักษาไว้ซึ่งคุณค่าประชาธิปไตยมาโดยตลอด โดยการเดินทางเยือนศรีลังกาครั้งนี้ ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกันให้มากขึ้น และต้องการแสวงหาการสนับสนุนจากศรีลังกา เพื่อสร้างสะพานแห่งความร่วมมือเพื่อครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงมติทางการเมือง โดยระบุว่า ไทยและศรีลังกา ต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีความท้าทาย และพยายามทำลายความเชื่อในประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยก็ยังคงอยู่ เพราะเป็นความปราถนาของประชาชน ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดของรัฐบาลในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน และสังคมโดยรวม และเห็นว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องภายในประเทศของประเทศใดประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเมืองแคนดี้ เพื่อร่วมการเฉลิมฉลอง 260 ปี แห่งการสถาปนานิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา ซึ่งรัฐบาลศรีลังกา ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อต้อนรับคณะของนายกรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ และเดินทางไปยังวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เพื่อร่วมชมพิธีอุปสัมปทาพระภิกษุ 2 รูปจากฝ่ายมัลวัตตะ และฝ่ายอัสกิริยะ ซึ่งพระธาตุเขี้ยวแก้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ประจำเมืองแคนดี้และประเทศศรีลังกา
และในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฉลองครบรอบ 260 ปี การประดิษฐานพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ ของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ และได้เยี่ยมชมนิทรรศการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งปรับปรุงโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาอย่างเป็นทางการ เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และต่อยอดความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาระหว่างกัน
โดยนายกรัฐมนตรี และนายมหินทะ ราชปักษา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ได้หารือร่วมกัน และเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกัน โดยประธานาธิบดีศรีลังกาได้กล่าวเชิญชวนให้นักลงทุนไทย เข้ามาลงทุนในศรีลังกา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก การผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย แสดงความสนใจ เรื่องการลงทุนด้านอากาศยานและการท่าในประเทศศรีลังกา
การเดินทางในครั้งนี้ ยังมีมีนักลงทุนไทยประมาณ 30 คน จาก 6 สาขา ได้แก่ อาหาร พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อัญมณีและเครืองประดับ ก่อสร้าง และการศึกษา ร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อจับคู่ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างรัฐและเอกชนของศรีลังกา เนื่องจากหลังรัฐบาลศรีลังกา เจรจาสันติภาพกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอิแลมในประเทศได้สำเร็จ ศรีลังกา ก็เปิดประเทศ และเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งศรีลังกา มีศักยภาพเป็นแหล่งลงทุนสำหรับตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากจีน และมีข้อตกลง FTA กับอินเดีย จึงสามารถส่งสินค้าไปยังอินเดียโดยปลอดภาษีนับพันรายการ และศรีลังกากำลังอยู่ระหว่างพิจารณาโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทางตอนเหนือ ของประเทศเพื่อเชื่อมต่อกับอินเดียเพิ่มเติมด้วย
ภายหลังการหารือ ทั้ง 2 ประเทศ ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ลงนามความตกลง และบันทึกความเข้าใจ 4 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเมืองแคนดี้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมรัฐสภาศรีลังกา โดยถือเป็นผู้นำต่างชาติคนที่ 3 ที่ได้รับเกียรติในลักษณะนี้ ต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
โดยสุนทรพจน์นี้ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า รู้สึกได้รับเกียรติเป็นอย่างสูง ที่ได้มาโอกาสกล่าวต่อสมาชิกผู้แทนราษฏรที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน เพราะประชาชนศรีลังกาได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญในการปกป้องประเทศและ รักษาไว้ซึ่งคุณค่าประชาธิปไตยมาโดยตลอด โดยการเดินทางเยือนศรีลังกาครั้งนี้ ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกันให้มากขึ้น และต้องการแสวงหาการสนับสนุนจากศรีลังกา เพื่อสร้างสะพานแห่งความร่วมมือเพื่อครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงมติทางการเมือง โดยระบุว่า ไทยและศรีลังกา ต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีความท้าทาย และพยายามทำลายความเชื่อในประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยก็ยังคงอยู่ เพราะเป็นความปราถนาของประชาชน ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดของรัฐบาลในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน และสังคมโดยรวม และเห็นว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องภายในประเทศของประเทศใดประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเมืองแคนดี้ เพื่อร่วมการเฉลิมฉลอง 260 ปี แห่งการสถาปนานิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา ซึ่งรัฐบาลศรีลังกา ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อต้อนรับคณะของนายกรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ และเดินทางไปยังวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เพื่อร่วมชมพิธีอุปสัมปทาพระภิกษุ 2 รูปจากฝ่ายมัลวัตตะ และฝ่ายอัสกิริยะ ซึ่งพระธาตุเขี้ยวแก้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ประจำเมืองแคนดี้และประเทศศรีลังกา
และในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฉลองครบรอบ 260 ปี การประดิษฐานพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ ของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติ และได้เยี่ยมชมนิทรรศการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งปรับปรุงโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
by
Watsana
1 มิถุนายน 2556 เวลา 10:59 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น