แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กับตัวตนใหม่ของชุมชนบนพื้นที่สูง

ที่มา ประชาไท


บทความชิ้นที่ 2 ของ พุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง และ อัจฉรา รักยุติธรรมในชุดบทความ“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์: ทางเลือกและทางรอดของเกษตรกรบนพื้นที่สูงภาคเหนือ” เป็นการศึกษาชาวบ้านที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูงในจังหวัด เชียงใหม่ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ชาวบ้านหรือเกษตรกรบนพื้นที่สูง ไม่ได้เป็นมนุษย์ที่ด้อยค่าและเป็นฝ่ายถูกกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่ชาวบ้านหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนการทำเกษตรในระบบไร่หมุนเวียน ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านตกเป็นเหยื่อของทุนนิยม หากแต่เป็น “ทางเลือก” ที่จะดำรงอยู่และใช้ประโยชน์จากกระแสทุนนิยม ท่ามกลางแรงกดดันรอบด้านและทางเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัด ในการศึกษาชุดความ รู้นี้ ทางประชาไทจะทยอยนำเสนอบทวิเคราะห์ที่มีความเชื่อมโยงกับประเด็นข้างต้น จำนวน 6ชิ้น

อนึ่ง ภายในไตรมาสที่สองของปี  2556 ประชาไท จะทยอยนำเสนอบทความที่จะพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตและความสัมพันธ์การผลิต ของชนบทไทยในปัจจุบัน 4ประเด็นคือเกษตรอินทรีย์, เกษตรพันธสัญญากรณีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือ,พืชเศรษฐกิจในภาคอีสาน และการทำนาปรังในภาคกลางที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้
ในสนามการต่อสู้ต่อรองเพื่อแย่งชิงการจัดการทรัพยากรกับรัฐ เกษตรกรบนพื้นที่สูงถูกจำกัดให้มีฐานะเป็นได้แค่ผู้ปกป้องป่า แต่สนามการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อปากท้องการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ ได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงได้สร้างตัวตนแบบใหม่เพื่อที่จะทัดเทียม กับประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม
 


 
นำเสนอตัวตน

กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นครั้งแรกที่พวกเราเข้าไปบ้านก่อวิละ (นามสมมติ) และมีโอกาสรู้จักกับ “พล” (นามสมมติ) ผู้นำชุมชนคนหนึ่ง พวกเราแนะนำตัวว่าเป็นนักศึกษาและอ้างถึงนักพัฒนาเอกชนที่เล่าให้พวกเรา รู้จักหมู่บ้านนี้ การแนะนำตัวแบบนั้นทำให้พลเข้าใจเอาเองว่าพวกเราคิดแบบเดียวกันกับกลุ่มคน ที่พวกเราอ้างถึง เขาจึงกล่าวว่า
 
“ไร่หมุนเวียนที่นี่ มีอะไรให้น่าศึกษาอีกเยอะ”
 
ความจริงแล้วพวกเรามาศึกษาเรื่องการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ และเหตุที่เลือกหมู่บ้านนี้ก็เพราะทราบมาว่าทุกครัวเรือนที่นี่ปลูกข้าวโพด เชิงพาณิชย์เป็นหลักโดยแทบจะไม่มีครัวเรือนใดทำ “ไร่หมุนเวียน” ในแบบ “ดั้งเดิม” ตามที่เข้าใจกันทั่วไปอีกแล้ว
 
พวกเราตระหนักว่าชาวบ้านย่อมมีความระแวดระวังและพยายามกลั่นกรองเรื่อง ราวที่จะนำเสนอเพื่อสร้างความพอใจแก่ผู้ฟัง เช่นเดียวกันกับที่ผู้นำเสนอเรื่องราวผ่านสื่อสาธารณะหรือแม้แต่งานวิชาการ ก็ได้เลือกนำเสนอภาพแทนปาเกอะญอเฉพาะเพียงบางแง่มุม แต่ภาพแทนนั้นได้ส่งผลให้หลายคนติดอยู่กับภาพแทนแบบโรแมนติกจนไม่ได้ให้ความ สำคัญกับความเป็นไปและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง
 
ในพื้นที่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงสิทธิเหนือทรัพยากรกับรัฐ ชาวบ้านบนพื้นที่สูงมักถูกผูกติดอยู่กับภาพลักษณ์ “คนอยู่กับป่า” ปาเกอะญอถูกนำเสนอเพียงแบบเดียว คือ การเป็นนักอนุรักษ์ แต่ในชีวิตประจำวันชาวบ้านซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากหน้าหลายตาไม่ได้ยึด ติดกับภาพแทนแบบใดแบบหนึ่ง พวกเขาเลือกนำเสนอตัวตนอย่างระมัดระวังและเลื่อนไหลผันแปรไปตามสถานการณ์ที่ เผชิญอยู่ต่อหน้า
 
เปลี่ยนระบบการผลิต เปลี่ยนชุมชน
 
บ้านก่อวิละตั้งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ที่เคยทำไร่หมุนเวียนถูกเปลี่ยนเป็น “ไร่ถาวร” ขนาดใหญ่เพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ความเปลี่ยนแปลงในชุมชนบนพื้นที่สูงมีเหตุปัจจัยและเงื่อนไขแวดล้อมมากมาย นำพาให้แต่ละชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
 
บ้านก่อวิละปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกครัวเรือน แต่ละปีใช้เมล็ดพันธุ์ 50-200 กิโลกรัมต่อครัวเรือน (คิดเป็นเนื้อที่ปลูก 10-40ไร่) เริ่มปลูกปลายเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน นอกจากการทำไร่ข้าวโพดแล้ว ในช่วงฤดูฝนชาวบ้านยังคงปลูกข้าวนาและข้าวไร่เพื่อบริโภคในครัวเรือน ขณะที่ในฤดูแล้งมีการปลูกพืชเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ในที่ดินที่ใกล้แหล่งน้ำหรือสามารถต่อท่อส่งน้ำไปยังแปลงเกษตรได้ โดยเฉพาะหอมแดง นอกจากนี้ชาวบ้านบางส่วนยังเลี้ยงวัว และมีหนึ่งครัวเรือนที่เลี้ยงแพะ
 
การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจได้ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน ทำให้พวกเขามีกำลังซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค มากขึ้น ครัวเรือนที่ทำนามีรถไถเดินตามขนาดเล็ก และทั้งชุมชนมีสองครัวเรือนที่ซื้อรถโม่เอาไว้รับจ้างชาวบ้านในชุมชนโม่ เมล็ดข้าวโพดออกจากฝักในฤดูเก็บเกี่ยว ไม่กี่ปีที่ผ่านมาในชุมชนมีรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งยานพาหนะเหล่านี้เป็นอุปกรณ์การผลิตที่สำคัญในการขนส่งปัจจัยการผลิตและ ผลผลิตระหว่างชุมชนกับไร่นา และระหว่างชุมชนกับตัวอำเภอ
 
การปลูกพืชเศรษฐกิจกลายเป็นแรงผลักดันและเป็นเหตุผลที่ชาวบ้านใช้เรียก ร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผล ผลิตการเกษตร ที่ผ่านมาการพัฒนาถนนจากตัวอำเภอมายังหมู่บ้านถูกจำกัดเพราะที่ดินทั้งหมด อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หน่วยงานที่มีอำนาจเหนือพื้นที่จึงไม่อนุญาตให้มีพัฒนาถนนและสาธารณูปโภค ต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น เฉพาะบางช่วงของถนนในระยะทางทั้งหมด16 กิโลเมตรเท่านั้นที่ได้รับการปรับปรุงเป็นคอนกรีต ขณะที่ส่วนที่เป็นดินลูกรังยังคงทำให้การเดินทางในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความ ยากลำบาก โชคดีที่สภาพถนนดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรเชิงพาณิชย์มากนักเพราะ ชาวบ้านขนผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหอมแดง ในช่วงฤดูแล้ง  
 
เสียงเรียกร้องให้ปรับปรุงถนนดังขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยายเพิ่มขึ้น ในที่สุดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากชุมชนที่ปลูกข้าวโพด ทั้งบ้านก่อวิละและหมู่บ้านอื่น ๆ ทำโครงการปรับปรุงถนนโดยไม่รอการอนุมัติจากหน่วยงานที่มีอำนาจเหนือพื้นที่ (เชื่อกันว่าไม่ว่าอย่างไรหน่วยงานก็จะไม่อนุมัติให้ปรับปรุงถนน) แต่เนื่องจากงบประมาณของ อบต. มีจำกัดการปรับปรุงจึงค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ทาง อบต. ยังพยายามประสานสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบทเพื่อขอช่วยปรับปรุงถนนเพิ่มเติม
 
 
เปลี่ยนระบบการผลิต เปลี่ยนตัวตน
 
การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป จากที่ไม่ค่อยเร่งรีบกลายเป็นวิถีชีวิตที่คร่ำเคร่ง โหมทำงานหนัก ความตึงเครียดทางด้านเศรษฐกิจทำให้ชาวบ้านปรับตัวด้วยการสร้างความหลากหลาย ในระบบการผลิต เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเลือกและหมุนเวียนพืชปลูก การจัดการน้ำ และการบริหารจัดการแรงงาน
 
วิถีการผลิตที่เข้มข้นขึ้นทำให้ในชุมชนต้องการแรงงานตลอดทั้งปี พลบอกว่าหนุ่มสาวในชุมชนนี้ไม่ค่อยออกไปเป็นแรงงานรับจ้างในเมืองเหมือนคนบน พื้นที่สูงอื่น ๆ  พลไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เชิงโรแมนติกทำนองที่ว่าคนหนุ่มสาว “รักถิ่นฐานบ้านเกิด” แต่เขาอธิบายว่าที่คนหนุ่มสาวอยู่ติดบ้านก็เพราะพวกเขามีงานทำและสามารถ เลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องดิ้นรถออกไปรับจ้าง ในช่วงที่พวกเราอยู่ในหมู่บ้านสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในหมู่บ้านมีแรง งานวัยหนุ่มสาวอยู่เป็นจำนวนมาก หนุ่มสาวหลายคู่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย บางคู่แต่งกันขณะที่ฝ่ายชายมีอายุ 16 ปี ขณะที่ฝ่ายหญิงมีอายุเพียง 13 ปี นอกจากนั้นพวกเรายังทราบว่าหนุ่มสาวหลายคนเลือกที่จะไม่เรียนต่อในระดับ มัธยมศึกษา
 
ในช่วงเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นช่วงที่ต้องการแรงงานอย่างเข้มข้น ชาวบ้านใช้วิธีแลกเปลี่ยนแรงงานในกลุ่มเครือญาติและเพื่อนบ้าน แต่ถ้ายังไม่พออีกก็จะจ้างแรงงานจากนอกชุมชน บางกรณีต้องไปหาแรงงานรับจ้างมาจากอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่จัดหาที่พักและอาหารตลอดช่วงเวลาของการทำงานซึ่งนานเป็น สัปดาห์ไปจนถึงเป็นเดือน ค่าจ้างแรงงานในหมู่บ้านอยู่ที่วันละ 120 บาท แต่หากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตซึ่งต้องการแรงงานอย่างมากค่าจ้างอาจสูงถึง วันละ 180 บาท ในช่วงเก็บข้าวโพดแรงงานที่นำมอเตอร์ไซค์มาลำเลียงผลผลิตออกจากแปลงไปยังจุด กองพักเพื่อรอโม่แยกเมล็ดได้ค่าจ้างวันละ 200 บาท
 
ในบ้านก่อวิละขนาด 70 กว่าหลังคาเรือน แทบทุกครัวเรือนมีมอเตอร์ไซค์และบางครัวเรือนมีหลายคัน พลบอกว่าใน พ.ศ.2551 ที่เขาซื้อรถปิกอัพมือสองทั้งหมู่บ้านมีรถยนต์ไม่เกินห้าคัน แต่ในช่วงต้นปี พ.ศ.2553 รถปิกอัพเพิ่มขึ้นเป็น 27 คัน ชาวบ้านซื้อรถยนต์ด้วยเงินจากการปลูกข้าวโพดและหอมแดงขาย บางส่วนกู้เงินจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.เชียงใหม่ สาขาแม่แจ่ม (สกต.) ด้วยคำอธิบายว่ารถยนต์เป็นอุปกรณ์การเกษตรแบบหนึ่ง ในชุมชนมีหนี้สินกันทุกครัวเรือนแต่มี 16 ครัวเรือนที่มียอดหนี้สูง 130,000 บาท ขึ้นไป ครัวเรือนเหล่านี้ทั้งหมดมีรถยนต์ ส่วนใหญ่เป็นการซื้อรถมือสอง ในจำนวนนี้ มี 13 ครัวเรือนที่กู้เงินจาก สกต. โดยมียอดกู้ตั้งแต่ 1 แสนบาทจนถึง 2 แสนบาท
 
แน่นอนว่ารถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ถูกนำมาใช้ทำการเกษตร ขณะเดียวกันยานพาหนะเหล่านี้ก็เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้การใช้ชีวิต ของชาวบ้าน “สะดวกสบาย” มากขึ้น ในสายตาของหลายคนรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์เป็นปัจจัยชี้วัด “ความฟุ่มเฟือย” ของชาวชนบท แต่สำหรับชาวไร่ชาวนายานพาหนะพวกนี้อาจหมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
 
ในช่วงที่พวกเราเข้า-ออกหมู่บ้านเป็นเวลาหลายเดือนพลมักชวนพวกเราติดรถ ยนต์ของเขาไป “เที่ยวป่า” หรือบางครั้งเขาตั้งใจพาพวกเรา “ไปเที่ยว” เป็นการเฉพาะ เขาขับรถยนต์ลัดเลาะไปตามสันดอยและแวะทักทายเยี่ยมเยียนผู้คนตามหมู่บ้าน ต่าง ๆ มีครั้งหนึ่งพวกเราใช้เวลาช่วงวันหยุดสงกรานต์เพื่อ “ทำงาน” เก็บข้อมูลในหมู่บ้าน ปรากฏว่าพลใช้วันสงกรานต์เพื่อ “ไปเที่ยว” การเดินทางไปต่างถิ่นเพื่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง หรือการไปเที่ยวป่าไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่ในวัฒนธรรมปาเกอะญอ แต่ที่น่าแปลกใจคือพลพาพวกเราไปเที่ยวที่ยอดดอยอินทนนท์ในบริเวณซึ่งเป็นที่ นิยมของนักท่องเที่ยวจากเชียงใหม่และที่อื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่หมู่บ้านก่อวิละเองก็อยู่ในเทือกเขาถนนธงชัยอันเป็นที่ตั้งของดอยอิน ทนนท์ อยู่แล้ว พลขับรถปิกอัพขับเคลื่อนสี่ล้อของเขาบรรทุกญาติพี่น้องไปเต็มลำรถ เขาบอกว่าเป็นการ “เที่ยวพักผ่อนวันหยุด นานทีปีหน” ซึ่งพวกเราเห็นว่านั่นคือวิถีชีวิตแบบคนในเมืองซึ่งแลดูแปลกไปจากวิถีชีวิต ของปาเกอะญอ “ดั้งเดิม” ที่ “เรียบง่าย” แบบที่พวกเราเคยเข้าใจ
 
 
เรามักเข้าใจกันว่าเกษตรกรรายย่อยเพลี่ยงพล้ำในระบบทุนนิยมจนสิ้นเนื้อ ประดาตัว  ซึ่งหากสำรวจตัวเลขเราอาจพบว่าการปลูกข้าวโพดและหอมแดงไม่ได้ทำให้ชาวบ้าน ก่อวิละ “ร่ำรวย” ขึ้นมา ตรงกันข้ามกลับยังมีหนี้สินมากขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราพบก็คือการผลิตพืชเศรษฐกิจได้ช่วย ให้ชาวบ้านก่อวิละมีเงินมาลงทุนพัฒนาระบบการผลิต มีทุนหมุนเวียน และมีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยคล่องมือมากขึ้น นอกจากนั้นเรายังพบว่าชาวบ้านหลายคนสามารถสะสมทุนได้มากขึ้น ซึ่งทุนในที่นี้คือที่ดิน 
 
การสำรวจพบว่าชาวบ้าน 17 ครัวเรือน ซื้อที่ดินเพิ่มจากคนเมืองที่อยู่ชุมชนถัดลงไปรวมทั้งสิ้น 23 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 157 ไร่ เป็นจำนวนเงินรวม 1,121,800 บาท เจ้าของที่ดินเดิมโดยส่วนใหญ่ขายที่ดินเพราะไม่มีแรงงานทำเกษตรเนื่องจากลูก หลานในหมู่บ้านออกไปทำงานในเมืองกันหมด ชาวบ้านก่อวิละเริ่มซื้อที่ดินกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ช่วงแรก ๆ ซื้อเฉพาะที่นาไว้ปลูกข้าว แต่เจ้าของที่ดินบางรายขายรวมทั้งที่นาและที่ไร่ จนกระทั้งปี พ.ศ. 2551 ชาวบ้านจึงเริ่มหันมาซื้อที่ไร่กันมากขึ้น
 
ในสภาวะที่ชาวบ้านก่อวิละไม่มีความมั่นคงในสิทธิเหนือที่ดิน การซื้อที่ดินจากคนเมืองไม่ได้ช่วยให้พวกเขามั่นคงมากขึ้น เพราะที่ดินที่ซื้อมาก็ไม่ได้มีเอกสารสิทธิใด ๆ แต่ผู้ซื้อที่ดินได้ขยายกำลังการผลิตของตนในที่ดินที่ซื้อมาอย่างเต็มกำลัง โดยหวังจะสร้างรายได้เพิ่ม และจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังสามารถที่จะสะสมทุนเพิ่มขึ้นไปอีก  อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเน้นย้ำว่าไม่ใช่ชาวบ้านทั้งหมดที่สามารถสะสมทุนเช่นนี้ เพราะแต่ละครัวเรือนในบ้านก่อวิละมีความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจและ สถานภาพทางสังคมจึงทำให้โอกาสสะสมทุนของแต่ละครัวเรือนมีไม่เท่ากัน
 
ตัวตนแบบไหน
 
ผู้เขียนเชื่อว่าชาวบ้านก่อวิละโดยส่วนใหญ่รับรู้ว่าคนภายนอกอยากให้ พวกเขาดำเนินชีวิตและนำเสนอตัวตนอย่างไร  แต่ระบบการผลิตและวิถีชีวิตที่พวกเราได้เรียนรู้ตลอดหลายเดือนที่เข้า-ออก หมู่บ้านเป็นตัวตนที่พวกเขาเลือกที่จะเป็นอยู่จริง อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาขณะนั้น ท่ามกลางสภาวะและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่พวกเขาเผชิญ    
 
ตัวตนแบบที่ชาวบ้านก่อวิละเลือกอาจไม่ “เรียบง่าย” และ “เป็นมิตรกับธรรมชาติ” แบบที่หลายคนอยากเห็น แต่ตัวตนที่ไปไกลจากภาพ “ชาวเขา” ผู้ “ด้อยพัฒนา” ล้าหลัง คงเป็นตัวตนที่พึงน่าปรารถนาสำหรับชาวบ้านเอง และสิ่งที่มากไปกว่าภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาคือ พวกเขาเชื่อว่าวิถีชีวิตแบบนี้เป็นชีวิตที่ “ดีขึ้น” ในแบบที่พวกเขาต้องการ มีรายได้และเงินหมุนเวียนคล่องมือจนสามารถซื้อที่ดินทำการผลิตเพื่อสะสมทุน เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนั้นยังทำให้พวกเขามีอำนาจและอาจทัดเทียมกับคนอื่นได้มากขึ้น เช่น สามารถผลักดันให้มีการปรับปรุงถนนหนทางเข้าหมู่บ้าน และได้เดินทางไปเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของคนเมือง เป็นต้น
 
หากเราถกเถียงกันเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้านบนพื้นที่สูงภายใต้โจทย์ แบบเดิม ๆ ด้วยกรอบคิดที่จำกัดอยู่เพียงแต่เรื่อง “อนุรักษ์ธรรมชาติ” เพื่อผลประโยชน์ของ “ส่วนรวม” ชาวบ้านก่อวิละจะถูกตัดสินว่าไม่มีสิทธิและความชอบธรรมใดที่มีวิถีการผลิต และการดำเนินชีวิตแบบที่เป็นอยู่  แต่หากเรายอมรับว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่สูงหรือพื้นราบก็ควรจะ มีสิทธินิยามและเลือก “ชีวิตที่ดี” แบบที่ตนเองต้องการ พวกเราก็ควรพยายามทำความเข้าใจกับตัวตนของชาวบ้านก่อวิละในแง่มุมนี้ด้วย
 
ผู้เขียนไม่กล้าตัดสินว่าวิถีชีวิตที่ชาวบ้านก่อวิละเลือกและแลกมานี้ ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า ยั่งยืนพอไหม เพราะพวกเราเห็นอยู่แล้วว่าในสังคมมีคนที่คอยบอกว่าคนอื่นควรหรือไม่ควรทำ อะไรมากเกินพอแล้ว แต่พวกเราเห็นว่าสังคมยังขาดความเข้าใจที่เพียงพอว่าเหตุใดคนในแต่ละแห่งแต่ ละที่จึงเลือกวิถีชีวิตแบบที่เขาเป็นอยู่ และเหตุใดพวกเขาจึงเห็นว่านั่นคือ “ชีวิตที่ดี”
 
ผู้เขียนมองว่า “ชีวิตที่ดี” มักเป็นนิยามจากการเปรียบเทียบ หากไม่มีถนนลาดยางคุณภาพดีแบบในเมือง ไม่มีรถยนต์ที่คนเมืองใช้กันเกร่อ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่คนเมืองชอบไปพักผ่อนในวันหยุด ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพที่ทำให้ชีวิตคนในเมืองสะดวกสบายไปเสีย ทุกอย่าง คนบนพื้นที่สูงก็อาจไม่ดิ้นรนปรับเปลี่ยนระบบการผลิตเพื่อจะได้มีตัวตนแบบ ใหม่ที่มีความสะดวกสบายและมีศักดิ์ศรีทัดเทียมกับคนเมือง
 
ดังนั้น หากคนเมืองอยากกำหนดให้ตัวตนของคนบนพื้นที่สูงเป็น “นักอนุรักษ์” ที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายเป็นมิตรกับธรรมชาติแล้วละก็ คนเมืองอาจต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองให้ไม่สุขสบายกว่า ไม่มีมากกว่า และไม่อยู่เหนือกว่าจนเป็นที่เปรียบเทียบของคนบนพื้นที่สูงเสียก่อน 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น