แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กานดา นาคน้อย: ข้าว เหล้า ไวน์

ที่มา ประชาไท


ช่วงนี้รัฐบาลโดนโจมตีว่านโยบายจำนำข้าวสร้างภาระทางการคลังมาก มายมหาศาล   ยังไม่ชัดเจนว่ามหาศาลเท่าการขาดทุนขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการ เงิน(ปรส.)หรือเท่าการเพิ่มงบประมาณกลาโหมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐประหารปี 2549หรือไม่?    บ้างก็เสนอว่านโยบายประกันราคาข้าวดีกว่านโยบายจำนำข้าว     ที่จริงแล้วมีนโยบายช่วยชาวนาที่ดีกว่าการแทรกแซงราคาข้าวแต่ยังไม่มีรัฐบาล ไหนสนใจทำ  อาทิ  การจัดตั้งโรงสีในรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อลดอำนาจตลาดของโรงสีเอกชน   เปิดเสรีธุรกิจสุราเพื่อส่งเสริมการแปรรูปข้าว   ฯลฯ
ไทยเปิดแล้วตั้งแต่พศ. 2546แล้วไม่ใช่หรือ?
แม้ว่าในยุครัฐบาลทักษิณ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรทำสุรากลั่น ชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น   การส่งเสริมดังกล่าวมีข้อจำกัดมากจนเกินกว่าจะเรียกได้ว่าไทยเปิดเสรีสุรา แล้ว   ข้อจำกัดที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1.    อนุญาตให้ผลิตสุราชุมชนแบบ“สุรากลั่น”แต่ไม่อนุญาตให้ผลิต“สุราแช่”  และกำหนดว่าสุรากลั่นชุมชนต้องมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรีแต่ไม่เกิน 40 ดีกรี
สุราแช่อาศัยการหมักซึ่งให้สุราที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าสุรากลั่น   สุราแช่มีแอลกอฮอล์ระหว่าง 4-23 ดีกรี (อาทิ ไวน์คูลเลอร์  เบียร์ ไวน์  พอร์ต)   ประเด็นสำคัญคือมติครม.สงวนสุราแช่ไว้ให้ผู้ผลิตรายใหญ่ไม่กี่ราย   การไม่เปิดเสรีหมายความว่ารัฐบาลยินยอมให้ผู้ผลิตสุราไม่กี่รายเป็นอภิมหา เศรษฐีโดยไม่แบ่งกำไรให้ผู้ผลิตชุมชน   ประชาชนที่ถือศีล 5 อาจจะหวาดกลัวว่าการเปิดเสรีจะทำให้อาชญากรรมเพิ่มขึ้น   ขอแนะนำให้ศึกษากรณีของญี่ปุ่น   ญี่ปุ่นอนุญาตให้รายย่อยผลิตสุราแช่ได้  ญี่ปุ่นมีสุราแช่สารพัดยี่ห้อจนนับไม่ถ้วน    แต่ญี่ปุ่นมีอาชญากรรมน้อยติดอันดับโลก 
2.    กำหนดว่าสุรากลั่นชุมชนต้องติดฉลากว่า“สุราขาว”
การจำกัดฉลากว่าสุราขาวหรือที่เรียกกันว่า “เหล้าขาว”ทำให้มีภาพพจน์ว่าสุราชุมชนเป็นสินค้าคุณภาพต่ำทั้งๆที่สุรากลั่น ในต่างประเทศมีคุณภาพหลากหลายและมีชื่อเรียกสารพัดแล้วแต่ว่าใช้วัตถุดิบ อะไร   ที่จริงแล้วสุรากลั่นที่ตีตลาดโลกจนขายดีทีสุดในโลกคือสุรากลั่นเกาหลีใต้ ที่ทำจากข้าว(เดี๋ยวนี้ใช้แป้งชนิดต่างๆรวมทั้งแป้งมันสำปะหลังด้วย)    รัฐบาลควรยกเลิกการจำกัดฉลากสุราชุมชนด้วยคำว่า “สุราขาว”และตั้งชื่อใหม่ตามแต่วัตถุดิบเพื่อยกระดับภาพพจน์ของสุรากลั่น     ที่สำคัญ   ถ้ารัฐบาลอนุญาตให้ผู้ผลิตสุราชุมชนผลิตสุราแช่ได้   สุราชุมชนสามารถติดฉลาก “ไวน์คูลเลอร์”หรือ “ไวน์” หรือ “เบียร์” ได้เหมือนผู้ผลิตรายใหญ่   ไวน์ไม่จำเป็นต้องผลิตจากองุ่นเท่านั้น    ในต่างประเทศมีไวน์ข้าวสารพัดยี่ห้อ   ไวน์ผลไม้ก็มีสารพัดชนิด   เช่น ไวน์สัปปะรด   แทนที่รัฐบาลไทยจะสงวนฉลาก “ไวน์”ไว้ให้ไวน์นำเข้าและไวน์องุ่นของผู้ผลิตรายใหญ่   รัฐบาลน่าจะให้ฉลาก“ไวน์”กับสุราชุมชนเพื่อขยายตลาดข้าว(และสินค้าเกษตร ต่างๆ)ให้กว้างขึ้น
3.    อำนาจของอธิบดีกรมสรรพสามิตที่จะอนุญาตให้ผลิตสุราชุมชนหรือไม่ยังอ้างอิงพรบ.สุราพศ. 2493 ที่กีดกันการแข่งขัน
สาระสำคัญของพรบ.ดังกล่าวคือการส่งเสริมการผูกขาดการผลิตและจำหน่ายสุรา โดยผู้ผลิตรายใหญ่ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล   การกีดกันด้วยอัตราภาษีนำเข้าทำให้ผู้ผลิตในประเทศไม่กี่รายที่รัฐบาลคุ้ม ครองอยู่ขายสุราด้วยราคาแพงได้    พรบ.สุราพศ.2493โดนแก้มาหลายครั้งโดยเฉพาะทีเกี่ยวข้องกับอัตราภาษีแต่ ยังไม่ยกเลิก  ที่สำคัญ  อำนาจของอธิบดีกรมสรรพสามิตที่จะอนุญาตให้ผลิตสุราหรือนั้นไม่เคยเปลี่ยน แปลง   พรบ.นี้เก่าแก่ล้าหลังและสนับสนุนการผูกขาดยิ่งกว่าพรบ.การธนาคารพาณิชย์  
ก้าวไปให้พ้นการจำนำข้าว
การเปิดเสรีสุราสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการตลาดเพื่อช่วยชาวนาและเกษตรกร โดยรวมในระยะยาวได้   การเปิดเสรีสุราเป็นนโยบายทั่วไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว   ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  สหรัฐฯ  หรือประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปตะวันตก   การเปิดเสรีไม่ได้หมายความว่าใครก็ลุกขึ้นมาผลิตสุราขายได้เหมือนขาย เสื้อ   แต่หมายความว่ากระบวนการให้ใบอนุญาตโปร่งใสและตรวจสอบได้กว่ากระบวนการของ ไทย   และกฎหมายสนับสนุนการแข่งขันไม่ใช่ส่งเสริมการผูกขาด     การเปิดเสรีสุราดีกว่าการจำนำข้าวที่มีผลระยะสั้น    ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกผันผวนมากดังนั้นรัฐบาลควรเลิกยึดติดกับ สถานะ“ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในตลาดโลก”   การเปิดเสรีสุราจะช่วยขยายตลาดในประเทศให้แก่ข้าวและผลผลิตการเกษตรอื่นๆ   
ว่าแต่ว่านักการเมืองที่โจมตีการจำนำข้าวจะผลักดันการเปิดเสรีสุราไหม?   หรือว่าขี่หลังสิงห์หลังช้างแล้วลงไม่ได้?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น