แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จากจลาจลที่บราซิลสู่การประท้วงหน้ากากขาว

ที่มา ประชาไท


เดิมกะจะเล่าเรื่องการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 และสัปดาห์หนังสือการเมือง-ประวัติศาสตร์ที่ร้านทีพีนิวส์ซึ่งเริ่มต้นแล้ว ในวันนี้ แต่มีข่าวคืบหน้าจากเหตุจลาจลประท้วงในบราซิลที่น่าสน ใจมาก เราสนทนาเรื่องนี้มาแล้วสองวัน ผมต้องขออีกสักวัน เพื่อเล่าเรื่องต่อให้สมบูรณ์ พรุ่งนี้คงจะได้เข้าเรื่อง 24 มิถุนา และหนังสือดีบางเล่มที่อาจช่วยให้ชาวประชาธิปไตยเราเดินถูกทางขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงเจตนา วิธีการ จุดเด่น และจุดด้อยจากสมัยคณะราษฎร์มาจนถึงสมัยปัจจุบัน กรณีศึกษาล่าสุดจากบราซิลอาจทำให้เรามองเห็นตัวเราชัดเจนขึ้นในหลายทางคล้าย กับส่องกระจก ส่วนไหนเป็นประเพณีการเมืองของเขาที่เราไม่ปรารถนาจะรับ เราก็ถามประชาชนและผลักออกไว้ที่ด้านข้าง จุดที่อยากเพ่งมองลงไปในวันนี้ไม่ใช่ตัวขบวนประท้วงหรือสภาพการประท้วง แต่เป็นผลกระทบต่อผู้ที่ทำหน้าที่รัฐบาลอยู่ โดยเฉพาะประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน
 
ประธานาธิบดีคนปัจจุบันแห่งสาธารณรัฐบราซิลเป็นสุภาพสตรี มีชื่อว่า ดิลม่า รุสเสฟฟ์ อายุ 65 ปี เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 ต่อจาก หลุยส์ ลูล่า เดอ ซิลวา ผู้เป็นอดีตประธานาธิบดีที่นางรุสเสฟฟ์ทำหน้าที่ปลัดบัญชาการทำเนียบ ประธานาธิบดี หรือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาหมายเลขหนึ่งมาก่อนนั่นเอง ประธานาธิบดีลูล่าและรุสเสฟฟ์จึงสังกัดพรรคการเมืองเดียวกัน คือพรรคแรงงานบราซิล (Workers’ Party) ความแปลกประหลาดของประธานาธิบดีรุสเสฟฟ์มาจากภูมิหลังแต่เดิมของครอบครัวเธอ ในขณะที่อดีตประธานาธิบดีลูล่าเป็นนักวิชาการฝ่ายซ้ายที่ใช้ชีวิตคลุกคลีมา กับชนชั้นกรรมกรและสื่อสารกับคนจนของประเทศได้ดี 
 
ประธานาธิบดีรุสเสฟฟ์กลับเป็นลูกสาวเศรษฐีเชื้อสายบัลแกเรียที่ มั่งคั่ง เธอเติบโตแบบชนชั้นกลางค่อนข้างสูงมาตลอดชีวิต แต่เลือกเป็นนักสังคมนิยมในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยในภายหลัง ชื่อเสียงของเธอเริ่มขจรขจายเมื่อเธอร่วมต่อสู้กับเผด็จการทหารในช่วงปี พ.ศ.2513-2515 คล้ายๆ ขบวนการนักศึกษาไทยที่เริ่มเผชิญหน้ากับระบอบถนอม-ประภาส เธอถูกจับและถูกทรมานหลายครั้ง เมื่อออกจากคุกก็ร่วมตั้งพรรคการเมืองชื่อแรงงานประชาธิปไตยขึ้นมา ได้รับตำแหน่งสูงในระดับท้องถิ่นและได้เป็นรัฐมนตรีระดับชาติหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็เกิดความขัดแย้งในช่วงรัฐบาลประธานาธิบดีโอลิวิโอ้ ดูดร้าและตัดสินใจย้ายพรรคมาสู่พรรคแรงงานบราซิล จนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในช่วงที่ “ครูใหญ่” คือลูล่าได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ส่วนตำแหน่งปลัดบัญชาการทำเนียบประธานาธิบดีนั้น เธอมาเป็นในภายหลัง ซึ่งกลายเป็นฐานการเมืองที่ผลักดันให้เธอเป็นทายาททางการเมืองของ ประธานาธิบดีลูล่าและรับตำแหน่งต่อจากลูล่าจนปัจจุบัน
 
เหตุที่ต้องเล่าประวัติของประธานาธิบดีรุสเสฟฟ์มายืดยาว เพราะเกี่ยวกับเหตุประท้วงและคำปราศรัยฉุกเฉินของนางเมื่อคืนนี้ เมื่อเห็นแล้วว่าการประท้วงเพราะรัฐบาลขึ้นค่ารถเมล์และขนส่งมวลชนกลายสภาพ เป็นการจลาจล ด้วยเรื่องที่พอกพูนขึ้นมาเป็นการต่อต้านโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ประธานาธิบดีรุสเสฟฟ์ก็แสดงความรู้ร้อนรู้หนาวโดยประกาศเลื่อนเดินทางไป เยือนประเทศญี่ปุ่นที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นปี และให้สัมภาษณ์ว่านางรู้สึก “ภูมิใจ” ที่เห็นคนบราซิลใช้สิทธิพลเมืองอย่างเต็มที่ในการชุมนุมประท้วง แต่แล้วการประท้วงก็ยังดำเนินต่อไป ทั้งที่กรุงบราซิเลีย นครเซาเปาโล นครริโอเดอจาเนโร่ และอีกหลายต่อหลายจุด ทำท่าจะขยายตัวไปเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการประท้วงการแข่งขันฟุตบอลนัดต่างๆ รวมทั้งฟุตบอลโลกที่บราซิลเป็นเจ้าภาพในปีหน้า ประชาชนกลุ่มนี้รู้สึกว่ารัฐบาลใช้งบประมาณเกินตัวจนกระทบต่อสวัสดิการสังคม ด้านอื่นๆ สุดท้ายนางรุสเสฟฟ์ตัดสินใจเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดฉุกเฉินเมื่อวานนี้ หลังจากนั้นก็นำมาตรการที่สรุปได้ปราศรัยให้ประชาชนทั่วประเทศฟังทาง โทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ทุกประเภท สิ่งที่ประธานาธิบดีบราซิลกล่าวนั้นเรียกได้ว่าเป็น “สัญญาประชาคม” และน่าจะนำมาใคร่ครวญให้มาก
 
นางรุสเสฟฟ์ประกาศว่า รัฐบาลบราซิล “ได้ยิน” เสียงตะโกนของประชาชนในครั้งนี้อย่างชัดเจน นางออกตัวว่าการควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งมีการใช้น้ำและแก๊สน้ำตา เป็นมาตรการปกติในการจำกัดความเสียหายจากการจลาจล มิใช่การสื่อสารว่ารัฐบาลปฏิเสธที่จะฟัง นางประกาศว่าจากนี้เป็นต้นไป รัฐบาลจะวางแผนการใหม่ที่จะปฏิรูประบบขนส่งมวลชนของประเทศ โดยจะใช้แนวคิดแบบสังคมนิยมมากขึ้นในการผลักดันนโยบายเหล่านั้น ถึงจะต้องผสมผสานกับการจัดการแบบทุนนิยม ซึ่งเอาความโลภของนักธุรกิจมาเป็นเครื่องมือกระตุ้นประสิทธิภาพ (ข้อหลังนี้ผมพูดเองครับ ไม่ใช่นางรุสเสฟฟ์) 
 
ส่วนเรื่องสำคัญเรื่องที่สองคือ จะปรับโครงสร้างการนำรายได้จากน้ำมันเสียใหม่ โดยจะจัดเงินรายได้เหล่านี้ให้กับการศึกษามากขึ้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอีกเงื่อนไขหนึ่งของผู้ประท้วง 
 
เรื่องที่สามคือการปฏิรูประบบรักษาพยาบาล รัฐบาลจะจ้างแพทย์จากทั่วโลกมาทำงานในบราซิลเพื่อเพิ่มจำนวนแพทย์ที่ขาดแคลน อย่างหนักจนกระทบต่อบริการสุขภาพในภาพรวม 
 
เรื่องที่สี่คือนางจะพบปะกับกลุ่มต่างๆ ที่กำลังประท้วงจลาจลอยู่โดยให้จัดส่งผู้แทนเข้ามาคุยกันอย่างทั่วถึง 
 
เรื่องสุดท้ายคือความเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลนั้น นางปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก แต่สัญญาว่าจะปรับวิธีการจัดการแข่งขันให้กระเทือนต่อประชาชนน้อยที่สุด นางย้ำว่า รายจ่ายและการลงทุนทั้งหมดมิได้มาจากเงินภาษีของประชาชนเลย แต่มาจากค่าธรรมเนียมซึ่งบริษัทธุรกิจทั้งหลายต้องจ่ายล่วงหน้าให้รัฐบาล เพื่อให้ได้สัมปทานใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการจัดงาน นางจึงจะเดินหน้าต่อไป แต่จะรับฟังความเห็นจากผู้ประท้วงเพื่อนำมาปรับปรุงในรายละเอียด
 
คำพูดที่ผมติดใจและนำมาคิดต่อ มาจากประโยคเกือบสุดท้ายที่นางกล่าวเป็นภาษาปอร์ตุเกส ซึ่งแปลเป็นอังกฤษว่า "I want institutions that are more transparent, more resistant to wrongdoing" เมื่อแปลเป็นไทยคงออกมาในทำนองที่ว่า “ดิฉันต้องการจะเห็นสถาบันทางสังคมต่างๆ โปร่งใส และมีอำนาจต้านทานการกระทำผิดต่างๆ มากขึ้น” 
 
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ในเมืองไทยของเรานั้นมักจะชี้ผิดชี้ ถูกกันที่ตัวละครไม่กี่ตัว รัฐบาล ฝ่ายค้าน กองทัพ ศาล องค์กรอิสระ ฯลฯ องค์กรทางสังคมพวกนี้เรียกรวมๆ ได้ว่า สถาบันทางสังคม คือการรวมตัวของคน ระบบ แผนงาน ค่านิยม ผลประโยชน์ จนมีบุคลิกภาพของตัวเองขึ้นมา เกิดประเพณีและจารีตแบบของตนเองขึ้นมา จนบางทีก็แปลกแยกไปจากคนอื่นๆ ในสังคมเดียวกันไปเลย ดูหน่วยงานอย่างกระทรวงการต่างประเทศ การบินไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักพระราชวัง เป็นต้น สถาบันทางสังคมแบบนี้เขาถือตัวของเขาว่าเป็นอิสระอยู่ภายในกำกับของรัฐบาล เวลาต้องการอะไรจากรัฐบาลเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล แต่เวลารัฐบาลต้องการอะไรจากเขา โดยที่เขาอาจไม่เห็นด้วย ก็จะเกิดการแข็งข้อเป็นอิสระขึ้นมาทันทีเดี๋ยวนั้น และวิ่งไปขอสถาบันทางสังคมที่ใหญ่กว่าเป็นที่พึ่งและคุ้มครอง สถาบันที่นางรุสเสฟฟ์พูดถึง จึงสามารถเบ่งตัวขึ้นเป็นรัฐน้อยๆ จนเป็น “อิสระ” อยู่ในภายในรัฐใหญ่ได้ บางครั้งก็ถึงขั้นแปรพักตร์ไปร่วมมือกับสถาบันทางสังคมอื่นๆ ในรัฐ เช่น กองทัพ เป็นต้น เอาอาวุธมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลเลยก็มี นางรุสเสฟฟ์จึงกำลังพูดถึงส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในสังคม และพูดอย่างถูกต้องด้วยว่า ต้องปฏิรูปสถาบันทางสังคมเหล่านี้ควบคู่ไปกับประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นสถาบันพวกนี้จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่กัดกินร่างกายของตัวรัฐเอง จนรัฐอยู่ไม่ได้ในที่สุด
 
รายละเอียดเล็กๆ ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ มีคนกลุ่มหนึ่งใช้หน้ากากขาว (“V For Vendetta”) เป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงในครั้งนี้ด้วย ผมจึงนึกขึ้นได้ว่าคนที่ใส่หน้ากากขาวในเมืองไทยขณะนี้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้ประท้วงโดยบริสุทธิ์ใจเพราะไม่ชอบการกระทำบางอย่างของรัฐบาล จริงๆ ไม่ได้ออกมาเพื่อเล่นการเมืองกับใครเลย กลุ่มที่สองซึ่งเอาสัญลักษณ์หมูหมากาไก่อะไรก็ได้มาต่อต้านฝ่ายเสื้อแดง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเหลืองและหลากสีเก่า กลุ่มสุดท้ายเป็นนักยุทธศาสตร์ของฝ่ายอำมาตย์ศักดินาซึ่งกำลังหวังว่าจะพลิก เรื่องทั้งหมดของการทำลายประชาธิปไตยให้เป็นการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้งทุกยุค และทำให้ตัวเองอยู่ในฝ่าย “คนดี” เหมือนช่วงที่สังคมแบ่งออกเป็น “เทพ” และ “มาร” ในห้วงก่อนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อ พ.ศ.2535
 
กลุ่มหลังนี่ล่ะครับที่ควรระมัดระวัง เพราะเขาจะอาศัยความบริสุทธิ์ใจของกลุ่มแรก มาทำลายการพัฒนาประชาธิปไตยโดยคนในกลุ่มแรกก็อาจไม่รู้ตัวเลย เมื่อประธานาธิบดีบราซิลจี้จุดสำคัญได้ถึงขนาดนี้ เราควรหันมามองเมืองไทยและแยกแยะเสียให้ชัดระหว่าง 1) หน้ากากขาว 2) หน้ากากเก่า และ 3) หน้ากากผี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น