แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เดอะ การ์เดียน แฉสำนักงานข่าวกรองอังกฤษสอดแนมโหดกว่า NSA

ที่มา ประชาไท


เดอะการ์เดียนเปิดโปงปฏิบัติการ Tempora ของสำนักงานข่าวกรองอังกฤษ (GCHQ) จากเอกสารชุดล่าสุดของเอ็ดเวิร์ด สโนวเดน ซึ่งเผยว่าเป็นโครงการสอดแนมข้อมูลอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ที่ใหญ่ยิ่งกว่า โครงการของหน่วยความมั่นคงสหรัฐฯ (NSA)
สำนักข่าวเดอะ การ์เดียน เปิดเผยเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่าสำนักงานข่าวกรองของอังกฤษ (GCHQ) สามารถลักลอบเข้าถึงการส่งผ่านข้อมูลการใช้โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตของโลก ได้ และได้ทำการประมวลผลข้อมูลลับส่วนตัวโดยมีการแชร์ข้อมูลนั้นกับองค์กร พันธมิตรของอเมริกันอย่างสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA)
โครงการดังกล่าวของอังกฤษถูกเปิดโปงโดยเอ็ดเวิร์ด สโนวเดน ผู้ที่เคยเปิดโปงโครงการสอดแนมของสหรัฐฯ มาก่อนหน้านี้ โดยสโนวเดนได้ส่งเอกสารถึงเดอะ การ์เดียน โดยบอกว่าเขาต้องการเผยให้เห็นโครงการสอดแนมที่น่าสงสัยและมีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมา
"มันไม่ใช่แค่ปัญหาของสหรัฐฯ อย่างเดียว อังกฤษเองก็มีอาวุธใหญ่ในการต่อสู้นี้" สโนวเดนกล่าว "พวกนั้น (GCHQ) แย่ยิ่งกว่าสหรัฐฯ เสียอีก"
ปฏิบัติการสอดแนมข้อมูลของอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Tempora ซึ่งมีการดำเนินการมาเป็นเวลาราว 18 เดือนแล้ว และมีความเป็นไปได้ที่ปฏิบัติการของอังกฤษจะทำให้พวกเขาได้รับ Metadata (ข้อมูลเบื้องต้นที่ระบุว่าใครติดต่อกับใครโดยไม่ต้องมีเนื้อความ) มากกว่า NSA เสียอีก
Tempora เป็นเสมือน "หน้าต่าง" หรือ "ตัวกลางของอินเตอร์เน็ต" สำหรับผู้ใช้เวิร์ลไวด์เว็บ 2 พันล้านคน ซึ่งสามารถดูดข้อมูลการสื่อสารทุกประเภทไว้ได้
เดอะ การ์เดียนระบุว่า องค์กรข่าวกรองอังกฤษมีความทะเยอทะยานในการควบคุมอินเตอร์เน็ตและแสวงหา ประโยชน์จากระบบโทรคมนาคมโลก ด้วยวิธีการสอดแนมอินเตอร์เน็ตและดักฟังโทรศัพท์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย GCHQ ใช้ความสามารถเข้าไปยังแหล่งเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มาจากใยแก้วนำแสง ซึ่งข้อมูลจะคงอยู่เป็นเวลา 30 วัน ทำให้พวกเขาสามารถลอบเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลได้
โครงการสอดแนมของทั้ง GCHQ และ NSA ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างได้ไม่ว่าจะเป็นของผู้ต้องสงสัยหรือของ ผู้บริสุทธิ์ ประเภทข้อมูลมีทั้งการบันทึกการพูดคุยโทรศัพท์ เนื้อหาในอีเมลล์ ข้อความในเฟซบุ๊ค และข้อมูลประวัติการเข้าถึงเว็บไซต์ (history) ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยแม้ว่าพวกเขาจะอ้างว่าเป็นการกระทำถูกต้องตามกฏหมาย แต่ตามระบบของหมายค้นแล้วควรมีการจำกัดขอบข่ายของเป้าหมาย
เดอะ การ์เดียน แหล่งข่าวผู้มีความรู้ด้านข่าวกรองผู้หนึ่งเห็นตรงกับฝ่ายทางการว่า ข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมอย่างถูกต้องตามกฏหมายภายใต้ระบบที่มีการคุ้ม ครองอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถให้ข้อมูลสำคัญในการตรวจจับและป้องกันอาชญากรรมร้ายแรง ได้

อ้างกฏหมายเก่ามาใช้กับเทคโนโลยีใหม่
เอกสารดังกล่าวเปิดเผยว่า เมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา GCHQ ได้รับ "ข้อมูลการใช้โทรศัพท์" 600 ล้านรายต่อวัน โดยพวกเขาได้เจาะใยแก้วนำแสง 200 แหล่งและสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างน้อย 46 แหล่งภายในเวลาเดียวกัน ในแต่ละใยแก้วสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ 10 กิกะบิท (พันล้านบิท) ต่อวินาที นั่นหมายความว่าตามทฤษฏีแล้วมันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่า 21 เพตาไบต์ (พันล้านล้านไบต์) ต่อวัน  และทาง GCHQ ยังได้พยายามขยายความสามารถโดยมีเป้าหมายให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ในระดับ เทระบิท (ล้านล้านบิท) ในคราวเดียว
โดยทาง GCHQ ใช้วิธีการติดตั้งระบบดักข้อมูลไว้ที่ใยแก้วนำแสงซึ่งพาดข้ามมหาสมุทร แอตแลนติก พวกเขาได้มีการตกลงอย่างลับๆ กับบริษัทธุรกิจที่มีการระบุไว้ในเอกสารว่า "ผู้ให้ความร่วมมือช่วยดักข้อมูล"
ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองบอกว่ามีเรื่องของกระบวนการจดทะเบียนทำให้บริษัทจำใจต้องร่วมมือกับ GCHQ อย่างไม่มีทางเลือก
แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญยังได้กล่าวอีกว่าวิธีการของ GCHQ เหมือนเป็นการ "งมเข็มในมหาสมุทร" แต่พวกเขาก็มีวิธีการตรวจหาแต่ "เข็ม" ที่เป็นเป้าหมายนั้นโดยไม่จำเป็นต้องอ่านข้อมูลอื่นๆ และเมื่อเจอเป้าหมายแล้วจะมีการบันทึกไว้ให้คณะกรรมการดักข้อมูลได้พิจารณา โดยเป้าหมายที่ระบุถึงคือเรื่องด้านความมั่นคง การก่อการร้าย องค์กรมาเฟีย และเรื่องสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ
แต่เดอะ การ์เดียน ก็ยังคงตั้งข้อสงสัยในแง่ความชอบธรรมทางกฏหมาย เนื่องจากที่ปรึกษาด้านกฏหมายของ GCHQ ยอมให้องค์กรนำกฏหมายเก่ามาใช้กับเทคโนโลยีใหม่ คือกฏหมายข้อบังคับอำนาจสอบสวน (RIPA) ปี 2000 ซึ่งระบุให้การลอบดักข้อมูลเป้าหมายต้องมีหมายอนุญาตค้นที่เซนต์รับรองโดย รัฐมนตรีมหาดไทยหรือรัฐมนตรีการต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามทาง GCHQ ได้ใช้ข้อได้เปรียบทางกฏหมายโดยให้รัฐมนตรีต่างประเทศเซนต์รับรองการดัก ข้อมูลในหลายรูปแบบตราบใดที่ข้อมูลการสื่อสารด้านใดด้านหนึ่งอยู่ที่ต่าง ประเทศ และกฏหมายเมื่อ 13 ปีที่แล้วก็ไม่ได้ระบุขอบข่าย ทำให้ GCHQ ใช้ช่องโหว่ตรงจุดนี้ได้
นอกจากนี้การจำแนกประเภทเป้าหมายเช่นการก่อการร้าย, การค้ายาเสพติด, การฉ้อโกง ก็เป็นเรื่องปิดลับและไม่มีการนำมาถกเถียงในที่สาธารณะ
ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2012 นักวิเคราะห์ 300 คนจาก GCHQ และ 250 คนจาก NSA ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบข้อมูลจำนวนมาก เดอะ การ์เดียน กล่าวว่ามีพนักงาน NSA ทั้งหมด 850,000 คน และบริษัทเอกชนของสหรัฐฯ ที่มีสิทธิเข้าถึงเอกสารลับสุดยอดสามารถเข้าดูฐานข้อมูล ของ GCHQ ได้

เรียบเรียงจาก
GCHQ taps fibre-optic cables for secret access to world's communications, The Guardian, 21-06-2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น