แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

3 ทางถอย "ม็อบราชดำเนิน" เส้นตาย 12 วันชี้ชะตา "รัฐบาลยิ่งลักษณ์"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

 http://www.prachachat.net/online/2013/11/13847401161384740158l.jpg


updated: 18 พ.ย. 2556 เวลา 08:59:22 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ในวัย 64 ปีของหัวหน้าแกนนำชื่อ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขาได้เปรยไว้กับสมาชิกมวลชนสีฟ้าก่อนหน้านี้มาแรมเดือนว่า "เมื่อถึงเวลาผมจะลาออก และพามวลชนไปสู้บนถนน"

นำมาซึ่งแนวร่วม-อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อีก 8 คนที่ยอมสละทิ้งตำแหน่ง-ธรรมเนียมการเมืองจากพรรคอนุรักษนิยม เพื่อหันหน้านำมวลชนสู่ท้องถนน เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วันนี้ชื่อของนายสุเทพ+8 แกนนำที่หันมาสวมหมวกนักรบริมถนน พวกเขาพามวลชนเดินมาไกลกว่า 18 วัน

เป็น 8 อดีต ส.ส. ที่ประกอบด้วย ถาวร เสนเนียม-ชุมพล จุลใส-สาทิตย์ วงศ์หนองเตย-วิทยา แก้วภราดัย-ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์-เอกนัฏ พร้อมพันธุ์-อิสสระ สมชัย

นับตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 56 "สุเทพและคณะ" นำพามวลชนชุมนุมตามแนวทาง "สงบ-สันติ" ต่อสู้ร่วมกัน กินนอนริมถนน

ในรอบ 18 วันพวกเขายกระดับการชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้รัฐบาลร่นถอยและยากที่จะปฏิเสธ

ทั้งการเดินเท้าพามวลชนยึดฐานที่มั่นจาก "สถานีสามเสน" สู่ "ถนนราชดำเนิน"

ทั้ง การกระจายกำลังของแนวร่วม ส.ส.ปชป. ดึงประชาชน นักธุรกิจ นักวิชาการ ชุมนุมเป่านกหวีดต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ตามย่านเศรษฐกิจสำคัญ รอบกรุงเทพมหานคร ทั้งการประกาศลาออกจาก ส.ส.

ทั้ง 9 คนของ ปชป.ที่มาพร้อมแนวทางการต่อสู้อย่างสันติวิธี หรืออารยะขัดขืน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การหยุดงาน หยุดสอน หยุดเรียน เพื่อเข้าร่วมชุมนุม 2.ชะลอการชำระภาษี เพื่อแสดงจุดยืนว่าประชาชนไม่ยอมให้นำเงินไปก่อการทุจริต 3.ติดธงชาติทุกบ้าน ทุกสำนักงาน บนยานพาหนะ หรือแม้กระทั่งบนเครื่องแต่งกาย และ 4.เป่านกหวีด ทันทีที่พบนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี เพื่อแสดงการคัดค้านในเชิงสัญลักษณ์

18 วันที่ผ่านมา เงื่อนไขการต่อสู้ถูกขยายผล-กดดันเพิ่มขึ้น แม้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะร่นถอยถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม-ปรองดองรวม 6 ฉบับออกจากสภา

แม้ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะลงมติคว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกอยู่ในสถานะ "รอ" โดยไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ กระทั่งการเสนอชื่อถอนร่างหรือยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญส่งผลให้สถานการณ์ การเมืองเริ่มเดินทางใกล้เคียงสภาวะ "เดดล็อก" จากเงื่อนไขร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องอยู่ในสถานะ "ทิ้งร้าง" นานกว่า 180 วัน

สวน ทางคำปราศรัยของนายสุเทพ ที่กำหนด "เส้นตาย" สิ้นเดือนพฤศจิกายน หรือ 12 วันหลังจากนี้ การชุมนุมต้องจบและประชาชนต้องได้รับชัยชนะ เป็น 12 วันที่เหล่าแกนนำยังยืนยันหลักการว่า "ม็อบราชดำเนิน" ต้องการล้างบาง-ฝังกลบร่างกฎหมายที่เชื่อมโยงถึงการกลับบ้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

แต่แฝงด้วยนัยทางการเมืองที่ถูกขยายผลถึงการนำพามวลชนเพื่อหวังผลล้มรัฐบาล

"เอก นัฏ พร้อมพันธุ์" ที่เป็นทั้งคนใกล้ชิดของนายสุเทพ และคนในวงประชุมแกนนำ "ม็อบราชดำเนิน" ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว เขายืนยันว่าเป้าหมายของการชุมนุมยังอยู่ที่กฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งมิอาจชะล่าใจสั่งเลิกชุมนุม เพื่อเฝ้ารอเวลาอีก 180 วัน

"หาก ปล่อยไว้ถึงวันที่กฎหมายกลับมาอยู่ในสถานะที่ ส.ส.หยิบขึ้นมาพิจารณาได้ทันที ถึงเวลานั้นพวกเขาอาจผลักดันมันผ่านไปได้อย่างสะดวก โดยที่เราไม่สามารถทำอะไรได้"

"ใครจะพูดอย่างไรก็ได้ แต่การยกระดับการชุมนุมของเราทุกครั้ง ผมว่าถูกจังหวะที่สุด เพราะกฎหมายนิรโทษฯมันยังอยู่ ต่อให้ต้องสู้อีก 180 วัน หรืออีก 2 ปี เราก็ต้องสู้"

12 วันจากนี้คือเงื่อนเวลาสุดท้ายที่ "สุเทพและคณะ" ยังคงต้องยกระดับการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการกำหนดเงื่อนไขเลิกการชุมนุมไว้รัดกุม

หากพิจารณาจากเงื่อนเวลาเดือนพฤศจิกายน อาจมีความเป็นไปได้ 3 ข้อ ที่ "ม็อบราชดำเนิน" จะยุติการชุมนุม

แนว ทางแรก คือ การนำมวลชนเฝ้ารอผลลัพธ์-การตรวจสอบจากองค์กรอิสระ ทั้งจากศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ทั้งกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย 4 คำร้อง ประเด็นที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภา 312 คน ร่วมกันลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. ที่อาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68โดยต้องลุ้นระทึกกันทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม ฝ่ายการเมือง และรัฐบาล ในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 11.00 น.

ทั้งปมทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และประเด็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจากโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่อยู่ในมือ ป.ป.ช. ซึ่งอยู่ในสถานะรอพิจารณาในทุกเมื่อ

แนว ทางที่ 2 คือ การโหนกระแสมวลชนเฝ้ารอการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่วิปฝ่ายค้านได้กำหนดประเด็น-ตัวผู้เล่นไว้เรียบร้อย เหลือเพียงรอเวลาที่เหมาะสมในการยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา

โดย เบื้องต้นคาดว่าจะมีการดำเนินการยื่นเรื่องภายในสัปดาห์นี้ ก่อนหมดสมัยประชุม 1 สัปดาห์ เพื่ออาศัยเสียงนกหวีดริมถนนร่วมกดดันควบคู่การอภิปรายในรัฐสภา ขยายผลประเด็นนิรโทษกรรมสู่การบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีราย บุคคล

แนวทางที่ 3 คือ การปิดเกมเร่งกดดันให้รัฐบาลยุบสภาภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน โดยแนวทางดังกล่าว แกนนำ ปชป.หลายฝ่ายยังกังวลว่า หากกระแสนิยมพรรคเพื่อไทยยังแรง และสามารถครอบครองเสียงข้างมากในสภาได้อีกครั้ง อาจสุ่มเสี่ยงที่การเมืองจะล้มทั้งกระดาน

เพราะร่างกฎหมายนิรโทษ กรรมจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง ทันทีที่รัฐบาลใหม่ยืนยันให้เดินหน้าต่อโดยไม่ต้องรอนานตามเงื่อนเวลาเดิม ที่ 180 วัน

ขณะที่ฝั่งพรรคเพื่อไทยที่อยู่ในสถานะตั้งรับ จากปากคำ "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" รมว.มหาดไทย ผู้ควบตำแหน่งหัวหน้าพรรคบอกว่า หากอ่านแผนของการเคลื่อนไหวริมถนนในช่วง 18 วันที่ผ่านมา ทำให้พรรครู้ดีว่าต้องระวังและตั้งรับทุกมิติทางการเมือง

"เป็นช่วง เวลาที่จะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งการวินิจฉัยคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จึงยังเชื่อว่ามีทฤษฎีสมคบคิด ร่วมมือกันล้มรัฐบาลระหว่างกลุ่มที่เคยล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช มาแล้ว"

"ฝ่ายตรงข้ามพยายามเอาการตัดสินของศาลรัฐ ธรรมนูญกับการตรวจสอบของ ป.ป.ช.มากดดันรัฐบาล ควบคู่ไปกับการเดินเกมเคลื่อนไหวชุมนุมนอกสภา ซึ่งรัฐบาลเข้าใจขบวนการดังกล่าวและตั้งรับไว้เป็นอย่างดี"

สวนทาง กับบรรยากาศภายในพรรคเพื่อไทยขณะนี้ ที่ใจคอ ส.ส.เต้นไม่เป็นจังหวะ เพราะสัญญาณที่หลายคนได้รับจากท่าทีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 20 พ.ย.นี้ มีความเป็นไปได้ที่จะออกมาเป็นลบทุกทาง แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะลบมากหรือลบน้อย

พรรคเพื่อไทยประเมินผลลบที่เป็น ไปได้ 2 แนวทาง คือ 1.ศาลรัฐธรรมนูญตีตกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. โดยบอกว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และตีตกไปโดยไม่มีผลสะเทือนถึงพรรคและตัวสมาชิกรัฐสภา

2.ศาลรัฐ ธรรมนูญตีความว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อันเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันมีคำสั่งให้ยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.ทั้ง 312 คน

ส.ส.อีสานบางรายถึงกับตัดพ้อว่า "ไม่เป็นไร ยุบเรามาหลายครั้ง เราก็ไปอยู่พรรคที่ตั้งสำรองไว้ คือ พรรคเพื่อธรรม"

ส.ส.ภาคเหนือบางคนระบายว่า "ถ้าตัดสิทธิเราอีก พรรคจะเอาคนที่ไหนมาลงสมัคร ส.ส."

ส.ส.บางรายหวังว่าจะได้รับสัญญาณ "บวก" จากศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ 20 พ.ย.

ยิ่ง ส.ส. พรรคเพื่อไทยเฝ้ามองท่าทีของ "สุเทพและคณะ" บนเวทีราชดำเนิน

ยิ่งออกอาการหวาดวิตกเพราะเชื่อว่าแกนนำมวลชนได้รับสัญญาณดีจากมือที่มองไม่เห็น ถึงกล้าตัดสินใจเดินหน้าแบบแตกหักทุกฝีก้าว

ไม่ แปลก หากทีมยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยจะเร่งกำหนดตารางการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ เมืองทองธานี 3 วันรวด คือ 18-20 พ.ย. เพื่อรอฟังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญพร้อมกัน

"จตุพร พรหมพันธุ์" แกนนำคนเสื้อแดงวิเคราะห์ว่า ถ้าศาลวินิจฉัยให้ ส.ส.และ ส.ว.พ้นจากตำแหน่ง และยุบพรรคทั้งหมด พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ พุ่งเป้าไปที่นายกฯเพื่อไม่ให้ยุบสภาได้

สุดท้ายในสภาจะเหลือ ส.ส. ประชาธิปัตย์ และ ส.ว.สรรหา บ้านเมืองกำลังเดินไปสู่ภาวะสุญญากาศ และหันไปหาแนวทางนายกฯพระราชทานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7

ส่วนคำตอบจะเป็นเช่นไร


อย่างเร็วที่สุดต้องร่วมลุ้นกันวันที่ 20 พ.ย.นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น