แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ภาวะภัยทางศีลธรรมในทางการเมือง” เสียงกระซิบอันแผ่วเบาถึงหูพรรคเพื่อไทย

ที่มา ประชาไท


ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนกระทั่งหลังปี พ.ศ.2549 และ ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ได้มีงานศึกษาที่เสนอชุดความรู้คำอธิบายการเมืองไทยสมัยใหม่จำนวนมาก ซึ่งอธิบายคนกลุ่มใหม่ในสังคมไทยที่ต้องพื้นที่ทางการเมืองหรือเรียกตาม อภิชาต สถิตนิรามัย และ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่ากลุ่ม “ชนชั้นกลางระดับล่าง”
กลุ่มคน “ชนชั้นกลางระดับล่าง” มีประวัติศาสตร์การพัฒนาตัวตนขึ้นมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตั้งแต่ ช่วงทศวรรษ 2520 ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ คือ การปรับเปลี่ยนจากเกษตรกรเต็มเวลา เป็นเกษตรกรแบบบางส่วน หรือ ทำงานเกษตรไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วย อาจเรียกได้ว่า คนในเศรษฐกิจนอกระบบ (informal sector) แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองเลย จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้จัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ ให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจในการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหาภาค รวมถึงสร้างนโยบายประชานิยมให้เป็นจริง ทำให้ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” เลือกพรรคไทยรักไทยเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการเข้าถึงพื้นที่ทางการเมือง[1]
ดังนั้นแล้วเมื่อพรรคไทยรักไทยเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองหนึ่งของ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” ก็เท่ากับว่า การล้มกระดานหรือยึดเครื่องมือทางการเมืองของพวกเขาด้วยการรัฐประหารปี พ.ศ.2549 ไม่มีผลใดๆ เลย เพราะอย่างไรเสีย “ชนชั้นกลางระดับล่าง” ก็ยังคงอยู่และเลือกเครื่องมือทางการเมืองที่ทำให้พวกเขามีพื้นที่ทางการ เมือง หากแต่พรรคไทยรักไทย หรือ พรรคเพื่อไทยกลับไม่คิดว่าตนเองเป็นเพียงเครื่องมือของ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” คิดว่าตนเองคือผู้ให้กำเนิด “คนเสื้อแดง” เลยไม่ทันระวังย่างก้าวทางการเมือง ไม่ระวัง 1 คือ ใช้นโยบายประชานิยมแบบล้นเกิน เพราะคงคิดว่านโยบายประชานิยมเป็นเส้นเลือดใหญ่เชื่อมต่อพรรคและ “คนเสื้อแดง” อย่างเหนียวแน่น ไม่ระวัง 2 คือ เชื่อว่า “คนเสื้อแดง” มีวัฒนธรรมทางการเมือง หรือ ความคิดทางการเมืองเหมือนกับพรรค จนนำไปสู่ความเชื่อผิดๆ ที่ว่าหากพรรคเพื่อไทยนำ “คนเสื้อแดง” ก็จะตาม
พรรคเพื่อไทยในฐานะเครื่องมือทางการเมืองของ “คนเสื้อแดง” คงไม่สามารถทำอะไรให้มากไปกว่าการฟังเสียง “คนเสื้อแดง” ซึ่งก็ไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว เพราะแดงนั้นมีหลายเฉด[2] ดังนั้นการเสนอ “นิรโทษกรรมแบบยกเข่ง” จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2553 “คนเสื้อแดง” จำนวนหนึ่งที่เสียสละชีวิต บางส่วนอยู่ในเรือนจำ เขาไม่ได้แลกชีวิตและอิสรภาพของเขาเพื่อความอยู่รอดของพรรคเพื่อไทย แต่เขาอุทิศชีวิตและอิสรภาพให้กับ “ประชาธิปไตย” และพื้นที่ทางการเมืองของพวกเขาต่างหาก
ด้านหนึ่งพรรคเพื่อไทยต้องไม่อ้างความ “สงบทางการเมือง” เพื่อกลบเกลื่อนหรือเล่นซ่อนแอบกับความรุนแรงทางการเมืองอีกต่อไป เพราะไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง แบบ เดือนตุลา 2516 – 2519, 2535 และ 2553 ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้[3] เพราะ การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งเปรียบเสมือนการสร้าง  Moral Hazard หรือ “ภาวะภัยทางศีลธรรมในทางการเมือง” การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งนั้นเหมือนกับการสร้างหลักประกันว่า ผู้นำทางการเมืองที่สั่งการจนก่อให้เกิดความรุนแรงสามารถรอดจากการดำเนินคดี และกระบวนการยุติธรรมได้ในอนาคต



[1] สังเคราะห์จาก อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, “การเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์”, [แหล่งข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/attachak/20110527/392611/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html (เข้าสู่ระบบวันที่ 31/10/2556)
[2] จะเห็นได้ว่ามีเสื้อแดง 2 กลุ่มที่เห็นด้วยและคัดค้านการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง หรือ สุดซอย เช่น แดงแบบ เฉลิม อยู่บำรุง โปรดดู “เฉลิมออกรพ.หนุนนิรโทษกรรมสุดซอย”, [แหล่งข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/256073/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2 (เข้าสู่ระบบวันที่ 31/10/2556), “แดงปทุมฯ-ญาติวีรชนบุกเพื่อไทยหนุนนิรโทษกรรมสุดซอย”, [แหล่งข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=700083 (เข้าสู่ระบบวันที่ 31/10/2556)  อีกด้านหนึ่งคือกลุ่ม ไม่เห็นด้วยนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง และ สุดซอย โปรดดู “นปช.แดงเชียงใหม่-แดงเสรีชนลำพูน ชุมนุมค้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง” [แหล่งข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา http://prachatai.com/journal/2013/10/49436 (เข้าสู่ระบบวันที่ 31/10/2556)
[3] สังเคราะห์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, “หยุดการบิดเบือนกฎหมายนิรโทษกรรม หยุดการตระบัดสัตย์ของพรรคเพื่อไทย”, [แหล่งข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา http://thaipublica.org/2013/10/against-the-amnesty-bill/ (เข้าสู่ระบบวันที่ 31/10/2556)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น