แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"สมคิด" ย้ำ คำวินิจฉัยศาล รธน. ผูกพันทุกองค์กร แนะรัฐบาลถอนคืน

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ


updated: 22 พ.ย. 2556 เวลา 14:53:55 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาส.ว.ขัดกับรัฐธรรมนูญ ว่า มองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันธ์ทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งชัดเจนว่าทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรี รัฐสภาต้องปฏิบัติตาม ฉะนั้นเมื่อศาลวินิจฉัยเช่นนี้ร่างรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.ต้องตกไป และเท่าที่อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญเน้นหนักไปที่กระบวนการตราแต่ยังไม่ได้ลงไปที่เนื้อหา ของการแก้ไขจาก ส.ว.สรรหา ผสมเลือกตั้งไปสู่การเลือกตั้งทั้งหมด ดังนั้นเมื่อมีการเสนอร่างไปยังพระมหากษัตริย์แล้ว โดยหลักการรัฐบาลต้องไปถอนร่างออกมา
นายสมคิดกล่าวว่า ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกมาปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตนไม่เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะทำเช่นนั้น เพราะหากปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญได้ อนาคตก็จะมีการปฏิเสธอำนาจของศาลอาญา ศาลยุติธรรม จะเกิดปัญหาเรื่องกลียุคกับระบบกฎหมายไทยได้ และถ้าทำแบบนี้ต่อไปคนก็จะไม่รับอำนาจของรัฐสภา รัฐบาล ตำรวจ อัยการ และทุกองค์กร โดยอ้างว่าคำวินิจฉัยผิดพลาดบกพร่อง จึงคิดว่าแนวทางนี้ไม่ใช่แนวทางที่ดี  มองว่าเมื่อศาลวินิจฉัยแล้วก็ควรเคารพ ถ้าเห็นว่าผิดพลาดควรดำเนินการไปตามกฎหมายเช่น ยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง ฟ้องศาลแพ่งหรือ ศาลอาญา แต่การออกมาเรียกร้องและออกมาปฏิเสธอำนาจศาลแบบนี้จะทำให้ระบบกฎหมายล้ม เหลวโดยสิ้นเชิง
“ผมเป็นห่วงการที่ไม่ยอมรับ อำนาจศาลเพราะจะทำให้ประเทศปั่นป่วน ระบบกฎหมายซวนเซ ไม่มีใครกล้ายึดกฎหมาย เมื่อเพื่อไทยทำได้ ต่อไปพรรคประชาธิปัตย์ก็อาจจะออกมาปฏิเสธอำนาจของรัฐบาล รัฐสภา ม็อบกลุ่มต่างๆ อาจจะประกาศว่ารัฐบาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเกิดปัญหาอย่างร้ายแรงกับสังคมไทย” นายสมคิดกล่าว
นายสมคิดกล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาก้าวก่ายการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร เห็นว่าไม่ว่าอย่างไรศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องโดนต่อว่าเพราะรัฐธรรมนูญให้ศาล ตัดสินคดีการเมือง ศาลจึงหลีกหนีไม่ได้ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุด เมื่อศาลตัดสินก็ต้องถือคำพิพากษาให้เป็นที่สุด ทุกคนก็ต้องเคารพ หากไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิเอาผิดด้วยการฟ้องศาลอาญา ยื่นถอดถอนอกจากตำแหน่งได้ แต่หากไม่ใช้กระบวนการทางกฎหมาย มาปฏิเสธอำนาจเรียกร้องให้คนออกมาปฏิเสธอำนาจเช่นนี้ ก็จะเข้าเนื้อ สุดท้ายคนก็จะไม่เคารพสภาและรัฐบาล
เมื่อถามว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนเคยร่วมร่างรัฐธรรมนูญมาก่อน จะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ นายสมคิดกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ตัดสินคดีรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่ให้คนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญตัดสินคดีรัฐธรรมนูญแล้วจะให้ใครตัดสิน การไปร่างรัฐธรรมนูญ มันไม่ใช่มีส่วนได้เสีย เพราะถ้าคิดอย่างนั้นคงต้องปลด 3 ตุลาการออกจากตำแหน่ง การที่ทั้ง 3 คน เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หมายความว่าจะเห็นตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทย หรือเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นควรไปดูคำวินิจฉัยส่วนตนของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรบ้าง จะดีกว่า  
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยเตรียมฟ้องเอาผิดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยคดี ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. อยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ นายสมคิดกล่าวว่า เป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่มองว่าเมื่อมีคนมายื่นเรื่องร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการฯต้องทำหน้าที่วินิจฉัยคดี เพราะหน้าที่ของศาลก็ต้องตัดสินคดี


ข่าวสดออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น