แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ใครเจ๊าใครเจ๊ง? เหมาเข่ง-สุดซอย

ที่มา ข่าวสด

 

 "ลงคะแนนเลยจะได้ปล่อยให้ฆาตกรลอยนวล"



ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนแบบกลับตาลปัตรของส.ส.พรรคฝ่ายค้านในสภา



ในที่สุดหลังใช้เวลานาน 19 ชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงสายวันที่ 31 ต.ค. ไปจนถึงช่วงเวลาตี 4 เศษของวันที่ 1 พ.ย.



ที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ได้เร่งลงมติ ผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ในวาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง



จากนี้ต่อไปก็คงต้องคอยติดตามดูกันต่อไปว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะไปได้ถึงสุดซอยจริงหรือไม่



เพราะ นอกจากต้องไปลุ้นด่านวุฒิ สภา ตามที่ท่านประธานนิคม ไวรัช พานิช คาดการณ์ปฏิทินไว้ล่วงหน้า ว่าอาจนำร่างเข้าพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 8 หรือไม่ก็ 11 พ.ย.นี้



ซึ่งยังเดาไม่ออกว่าเมื่อเข้าไปแล้วจะผ่านฉลุย 3 วาระ



หรือว่าไม่ผ่าน แล้วส่งร่างคืนไปยังสภาผู้แทนฯ ก่อนนำกลับมาพิจารณาใหม่



หรือ ในกรณีวุฒิสภาให้มีการแก้ไขร่างพ.ร.บ. ก็ต้องส่งร่างแก้ไขกลับไปยังสภาผู้แทนฯ ถ้าสภาผู้แทนฯ รับทราบและเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันที



แต่ถ้าสภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบ ก็ ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอีกครั้ง แล้วรายงานต่อทั้งสองสภา



ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบ นายกรัฐมนตรี ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ ก็ต้องยับยั้งร่างนั้น ไว้ก่อน



จากสภาพความเป็นจริงในวุฒิสภา ที่ผ่านมาส.ว.ฝ่ายหนุนรัฐบาลกับส.ว. ฝ่ายไม่หนุนรัฐบาลมีลักษณะคู่คี่สูสี โดยฝ่ายหลังเป็นต่อเล็กน้อย



หลายครั้งต้องตัดสินกันด้วยเสียงส.ว.ที่เป็นกลางๆ



หนนี้จึงต้องรอดูว่าวุฒิสภาจะปล่อยผ่านร่างนิรโทษกรรมไปจนสุดซอยหรือจะลงมติยืนขวางปิดปากซอย



กล่าวกันว่าในชั้นวุฒิสภา นิรโทษกรรมเหมาเข่งสุดซอยจะผ่านหรือไม่ผ่าน โอกาสมีอยู่แบบ 50-50



ที่รัฐบาลน่าเป็นห่วงมากกว่า คือการลุ้นฝ่าด่านวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกกันว่าวาระที่ 4



ซึ่งพรรคฝ่ายค้านยืนยันเตรียมยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความแน่นอน



บรรดาผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมองว่าร่างพ.ร.บ. นิรโทษฯ ฉบับเหมาเข่งสุดซอยนี้



อาจ เป็นเพราะจัดทำขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบสนองใครบางคนที่ใจร้อน อยากได้สิ่งที่สูญเสียไปหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 กลับคืนโดยเร็ว



ผลคือทำให้ร่างกฎหมายมีข้อน่าเคลือบแคลงสงสัยอยู่มากมายเต็มไปหมด



ไม่ว่าประเด็นการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในชั้นกรรมาธิการ ที่อาจขัดต่อหลักการเดิมของร่างที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ในวาระแรก



และ ไม่เป็นไปตามที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก อ้างถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน เป็นเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา



เพราะในร่างที่เปลี่ยนแปลงจากหลักการเดิมก็ยังให้ยกเว้นไม่ใช้กับผู้กระทำความผิดกฎหมาย มาตรา 112



พรรค ฝ่ายค้านก็ตั้งข้อสังเกตว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 และเข้าข่ายร่างกฎหมายการเงินที่นายกรัฐมนตรีต้องลงนามรับรอง



นักนิติศาสตร์หลายคนยังมองว่าในการรับคำร้องตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหน้า



ศาลรัฐธรรมนูญอาจถูกโจมตีว่าใช้อำนาจตุลาการเข้าไปก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่สำหรับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น



ถือว่าอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับไว้วินิจฉัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์



ดัง นั้น จึงไม่ผิดไปจากความจริงมากนักที่ใครต่อใครหลายคนเชื่อว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งสุดซอยที่เพิ่งผ่านการพิจารณาวาระ 3 ของสภาผู้แทนฯ ไปสดๆ ร้อนๆ



ส่งผลให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตกอยู่ในสถานการณ์เปราะบางอีกครั้ง โดยเฉพาะมิตรภาพระหว่างพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มนปช.คนเสื้อแดง



อยู่ในขั้นล่อแหลมมากที่สุดในรอบ 2 ปี



คนเสื้อแดงนั้นเป็นฐานมวลชนขนาดใหญ่



มีส่วนสำคัญต่อชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งเดือนก.ค.2554



นปช.คนเสื้อแดงมีจุดยืนของตนเอง 3 เรื่อง คือ การต่อต้านรัฐประหารทุกรูปแบบ การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี"50



และ การเรียกร้องนำตัวคนสั่งการสลายการชุมนุมเสื้อแดงในเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 กระทั่งมีผู้เสียชีวิตมากถึง 99 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม



ข่าวดี คือล่าสุดอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีตผอ.ศอฉ.



ในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่า และพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็ง เห็นผล



ส่งคดีขึ้นไปจ่ออยู่หน้าประตูศาล โดยมีการนัดหมายนำตัวผู้ต้องหาทั้งสองส่งฟ้องต่อศาลในวันที่ 12 ธ.ค.



แต่ข่าวร้าย คือหากร่างพ.ร.บ. นิรโทษเหมาเข่ง เดินไปจนสุดซอย ได้จริง กระบวนการนำตัวคนผิดในเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง 99 ศพ มารับโทษ



ก็จะมีอันต้องยุติทั้งหมด



ฉะนั้นจึงเป็นความเคลื่อนไหวที่ต้องจับตากันต่อไป



กรณีพรรคประชาธิปัตย์เป่านกหวีดชุมนุมใหญ่ต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งสุดซอย



จะเป็นแค่การเล่นละครตบตาประชาชนแบบเนียนๆ



ปากกล้า ขาสั่นหรือไม่



นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศ พร้อมพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรม โดยไม่หวังพึ่งพาอานิสงส์จากการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง



ดูเผินๆ เหมือนเป็นการตบหน้ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ต้องการออกกฎหมายล้างผิดให้ "นายใหญ่" แลกกับการปล่อยให้ฆาตกร 99 ศพลอยนวล



แต่ก็เป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์มองข้ามช็อตไปแล้วว่า ถึงอย่างไรต่อให้ร่างนิรโทษกรรมเหมาเข่งผ่านสภาผู้แทนฯ วาระ 3 ไปได้



เมื่อไปถึงวุฒิสภา อาจไม่แน่



ยิ่งเมื่อไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ โอกาสที่ร่างดังกล่าวจะถูกนำออกมาบังคับใช้ได้จริงแทบไม่มี



การปลุกม็อบเร้าสถานการณ์ อาจทำให้เกิดบานปลายนำไปสู่สถานการณ์ใหม่ก็ได้



นัก สังเกตการณ์การเมืองเริ่มมีความห่วงใยกันว่า ถ้าม็อบขยายวงจะเป็นการเปิดประตูให้ "อำนาจพิเศษ" ยื่นมือเข้ามาแทรกแซงการเมืองเหมือนเมื่อปี"49 ได้หรือไม่



หากเกิดสถานการณ์พิเศษจริง ประชาธิปัตย์ก็รับส้มหล่นอีก



เพราะคดี 99 ศพ จะถูกปิดฉากด้วยวิธีการใหม่ ไม่ต้องเอาอิสรภาพของตัวเองไปเสี่ยงกับการต่อสู้คดีในชั้นศาล



หรือหากสุดท้ายรัฐบาลเดินหน้าไปเจอซอยตัน ต้องยุบสภาเลือกตั้งใหม่



พรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมเสี่ยงอยู่ดี เพราะเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ชนะถล่มทลายเหมือนครั้งก่อน



นั่นเพราะพรรคเพื่อไทยได้ผลักไสคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งออกห่างจากตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น