เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา นายเมธา มาสขาว
ผู้อำนวยการสถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social-Democracy Think Tank)
และผู้ประสานงานเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat Movement)
ได้เสนอข้อเสนอ “ความเป็นสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง”
ต่องานประชุมเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social-Democrat Movement)
ครั้งที่ 2/2555 ณ ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความเป็นสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง
การประชุมเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social-Democrat Movement) ครั้งที่ 2/2555
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมธา มาสขาว[i]
เครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย[ii]
วิกฤติสังคมไทยและความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 10
ปีที่ผ่านมานี้
กำลังสะท้อนถึงทิศทางประชาธิปไตยไทยที่กำลังเดินทางมาสู่ทางแพร่ง
และปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างแนวทาง “ประชาธิปไตยแบบอนุรักษ์นิยม” หรือประชาธิปไตยครึ่งใบแบบเก่า (semi democracy) และ “ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” (libertarian
democracy) ทั้งสองแนวทางดังกล่าว
ยังไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองที่
ถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำทั้งกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนใหม่แต่อย่างใด
และภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนี้
แนวทางประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบอนุรักษ์นิยม
ทั้งสองแบบต่างก็เติบโตได้ดีในสังคมไทย หากว่าปรองดองกันได้
โดยการแย่งชิงพื้นที่ระบบอุปถัมภ์นิยมเพื่อยึดโยงอำนาจของตนเอง
แต่พลังของภาคประชาชนจะไม่สามารถเติบโตได้เนื่องเพราะไม่อาจเป็นอิสระจากรัฐ
และทุนได้อย่างแท้จริงภายใต้โครงสร้างและแนวทางเหล่านี้
การเมืองในโครงสร้างนี้จึงไม่มีพื้นที่ของประชาชนที่มีที่ยืนที่ชัดเจน
และไม่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองทางชนชั้นหรือพรรคการเมืองเชิงอุดมการณ์ที่
หลากหลาย เช่น พรรคสังคมนิยม หรือพรรคสังคม-ประชาธิปไตย
หรือพรรคทางเลือกทางการเมืองอื่นๆ
ซึ่งเมื่อไม่มีพรรคการเมืองทางชนชั้นเข้าไปสู่อำนาจรัฐ จึงทำให้เกษตรกร
คนงาน ประชาชนชั้นล่างของสังคม
ถูกเลือกปฏิบัติมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา
ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า เราจะร่วมกันปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปทางไหน
อย่างไร ในอนาคตอันใกล้ จะเดินถอยหลังไปสู่ ประชาธิปไตยครึ่งใบ แบบเก่า หรือเราจะเดินต่อไปข้างหน้าเพื่อไปสู่ เสรีนิยมประชาธิปไตย (Libertarian
Democracy) แบบสหรัฐอเมริกา
ที่เน้นเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเท่านั้น
หรือว่ายังมีทิศทางอื่น ทางเลือกที่สามในสังคมไทย
นั่นคือทิศทางใหม่เพื่อไปสู่ “สังคมนิยมประชาธิปไตย” (Social-Democracy)
แบบหลายรัฐในสหภาพยุโรป
ที่ให้ความสำคัญทั้งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR.)
รวมทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR.)
ข้อเสนอทางการเมืองที่สำคัญ ตามแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย
เพื่อแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างที่รอวันผุปรักหักพังมาหลายทศวรรษ
และน่าจะเป็นทางออกจากวิกฤติของประเทศไทย มีดังนี้
1.ชนชั้นนำในสังคมไทย อันประกอบไปด้วย เครือข่ายเจ้านาย
เครือข่ายชินวัตร กองทัพ นักการเมือง กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนายทุน
ทั้งกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนใหม่
ต้องร่วมกันก้าวข้ามผลประโยชน์ตนเองไปสู่ผลประโยชน์ร่วมของสังคม
โดยไม่ใช้วิธีการต่อสู้ทางการเมืองด้วยการใช้ความรุนแรงหรือความตายของ
ประชาชนเป็นเครื่องมือ
และสนับสนุนการปฏิรูปสังคมใหม่อย่างสันติผ่านระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย
ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองที่หลากหลายทางอุดมการณ์
เพื่อต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภา
และสนับสนุนประชาชนในการเสนอทางเลือกใหม่ที่ไปมากกว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตย 2
กระแสในปัจจุบันไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยที่เน้นสังคม
หรือ สังคมนิยมประชาธิปไตย ที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม
เศรษฐกิจ และสร้างรัฐสวัสดิการ
เพื่อเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองทางเลือกใหม่ของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
และเป็นทางออกจากวิกฤติความขัดแย้งในปัจจุบัน
ปัจจุบันประเทศที่มีประชาธิปไตยทางการเมือง เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย
หรือ ‘Social-Democracy’ มากที่สุดในโลก ได้แก่ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์
นอร์เวย์ และเยอรมัน เป็นต้น
2.ต้องมีการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและให้
เป็นวาระหลักของประเทศไทย
โดยมีนโยบายการแก้ไขในระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมและการเมือง โดยเฉพาะปัญหาการครอบครองทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน
การกระจายรายได้และโภคทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม
ซึ่งนำมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำมหาศาลและเป็นปัญหาความขัดแย้งที่ฝังรากลึก
ในสังคมไทย
และมีมาตรการทางกฎหมายหรือนโยบายที่ลดความเหลื่อมล้ำในรูปแบบต่างๆ
เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น
รวมถึงแนวทางแก้ไขการเข้าผูกขาดทรัพย์สมบัติสาธารณะของเอกชน
หรือการสัมปทานของเอกชนที่เอื้อผลประโยชน์ต่อรัฐน้อยเกินไป
โดยรัฐจะต้องเข้ามาดูแลโภคทรัพย์ส่วนรวมของสังคมและกระจายประโยชน์สู่
ประชาชนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะทรัพย์สมบัติของประชาชนด้านพลังงาน
การปิโตรเลี่ยมและคลื่นความถี่ ฯลฯ โดยยุติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เอกชน
แต่ปฏิรูปการบริหารจัดการใหม่แบบทันสมัยโดยให้ประชาชนเป็นหุ้นส่วน
การซื้อคืนกิจการ ปตท.
การจัดการเรื่องพลังงานของประเทศเพื่อให้รัฐได้ประโยชน์เต็มที่
การขนส่งมวลชนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อทั้งประเทศ
และการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของสังคมอื่นๆ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนซึ่งเป็นวิกฤติของสังคมไทยที่ผ่านมา
นั้น
สังคมไทยต้องตั้งคำถามต่อทิศทางการนำพาประเทศด้วยระบบทุนนิยมเสรีที่ใช้กลไก
ตลาดโดยไม่แยแสต่อทุนผูกขาดใดๆ
ที่ควบคุมกลไกตลาดและเอาเปรียบสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง
จนประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุดในเอเชีย
ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยห่างกันถึง 15 เท่า
ขณะที่อินเดียและจีนห่างกันเพียง 8 เท่า ในปี 2553 ที่ผ่านมา
จำนวนคนจนในประเทศไทยยังมีอยู่ถึง 5,076,700 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 7.5
% ซึ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำจากเส้นความยากจนที่ 1,678บาทต่อคนต่อเดือน
ขณะที่คนรวยที่สุด 10% แรกของประเทศ มีรายได้รวมกันมากถึง 38.41%
ของรายได้รวมทั้งประเทศ กลุ่มคนจนที่สุด 10% แรกของประเทศมีรายได้เพียง
1.69% ของรายได้รวมเท่านั้น
ความขัดแย้งจากปัญหาการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมเหล่านี้
คือความขัดแย้งหลักของสังคมที่รอวันปะทุความรุนแรง
รัฐบาลจะต้องเข้ามาจัดการเศรษฐกิจแบบผสมผสานโดยเร็ว
และควบคุมการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สมบัติสาธารณะของสังคมอย่างเต็ม
ที่ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความถี่ โทรคมนาคม อากาศ ดิน น้ำ ป่า
น้ำมันและพลังงาน
หรือสิ่งที่มนุษย์ไม่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเองอื่นใดควรถือว่าควรเป็นกรรมสิทธิ์
ของสังคม
3.ต้องมีการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางสังคมอย่างเร่งด่วน และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศรัฐสวัสดิการ เพื่อ
แก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในระบบทุนนิยมที่รัฐปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
ทางรายได้มหาศาลจากการคุ้มครองดูแลของรัฐเอง โดยอาจมีการนำเอานโยบายใน “เค้าโครงการเศรษฐกิจ”
ของนายปรีดี พนมพยงค์ ขึ้นมาทบทวนและปรับใช้ใหม่ โดยเฉพาะ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร และแนวคิดของ ดร.ป๋วย
อึ้งภากรณ์ เรื่อง “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายอย่างแท้จริง
รวมถึงสร้างพันธกิจและหน้าที่ของรัฐบาลไม่ว่าจะมาจากพรรคการเมืองใด
จะต้องมีหน้าที่ดูแลสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน สร้างรัฐสวัสดิการและ
การบริการสาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในด้านการศึกษา
การสาธารณสุข การประกันสังคม การประกันการว่างงานและการสนับสนุนระบบสหกรณ์
โดยทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศของตนโดยเสมอภาค
4.รัฐต้องทำให้การศึกษาเป็นเสรีภาพของประชาชนที่เข้าถึงได้โดยเสมอภาค
เป็นบริการสาธารณะและไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง
โดยมีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ทั้งในเชิงรูปแบบและเนื้อหา
โดยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ตอบสนองต่อสังคมและชุมชนท้องที่อย่างเต็มที่
มากกว่าการผลิตบัณฑิตตอบสนองกลไกตลาดอย่างเดียว
โดยรัฐบาลควรยุติการนำมหาวิทยาลัยของรัฐเข้าสู่ระบบตลาดและแปรรูปไปเป็นของ
คณะบุคคล การศึกษาต้องเรียนฟรีถึงปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ตามหลักด้านเสรีภาพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนที่ใคร่ศึกษาหาความรู้ควรได้รับสิทธิดังกล่าวอย่าง
เสมอภาค มิใช่เพียงเปิดโอกาสอย่างจำกัดทางด้านการศึกษาเท่านั้น
โดยอาจผลักดันให้มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดละ 1
แห่งทั่วประเทศเป็นการให้การบริการสาธารณะด้านการศึกษาแก่ทุกคนที่สนใจ
และมีการเปิดการเรียนรู้พลเมือง หรือ Civic Education
อย่างเปิดกว้างโดยไม่ปิดกั้น
มีการสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ทางการศึกษาประวัติศาสตร์และการเมืองอย่างกว้างขวาง
โดยสนับสนุนการศึกษาทางเลือก
5.เพื่อให้รัฐมีงบประมาณในการสร้างรัฐสวัสดิการ รัฐบาลจำเป็นต้องออกกฎหมายให้มีการปฏิรูประบบภาษีทั้งระบบ โดยให้มีการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน และภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า
ทั้งนี้ ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30%
ทำให้โครงสร้างภาษีไม่มีความเป็นธรรม ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค
คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ
ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับ
ภาษี ภาษีทางตรงคือภาษีรายได้และนิติบุคคล
ที่ปัจจุบันรัฐบาลได้ลดภาระทางภาษีลง แต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ
ทรัพย์สินและรายได้ของบุคคลที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม
สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนหนึ่งเพื่อการพัฒนาสังคม
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ความสะดวกปลอดภัยของชีวิตตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ
พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐในอัตราที่สูงในอัตราก้าวหน้าจาก
ทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย
เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน
ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้
และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน
ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ
งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสู่พลเมืองอีกระลอกหนึ่ง ดังนั้น
ภาษีทรัพย์สิน
คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่
และภาษีมรดกคือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย
ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้า
ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินในต่างประเทศ
ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของกระทรวงการคลัง
ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว
รวมถึงการเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า
เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม
และเป็นหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตามสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่
เพื่อให้รัฐและท้องถิ่น นำมาใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคและสวัสดิการทางสังคม
เช่น การขนส่งมวลชนสาธารณะ การศึกษาและการสาธารณะสุข เป็นต้น
เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพปลอดพ้นจากความอดอยากแร้นแค้น
โดยเฉพาะชนชั้นล่างทางสังคม ซึ่งหากภาษีที่รัฐเก็บมา
ใช้จ่ายไปในกลุ่มที่เป็นกลุ่มรายได้ระดับล่างมากเท่าไหร่
ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้น
ซึ่งจะสามารถลดช่องว่างของคนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น
6.ต้องมีการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบและจำกัดการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง
ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีที่ดินประมาณ 320 ล้านไร่
แบ่งเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติประมาณ 25% คงเหลือประมาณ 240
ล้านไร่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ซึ่งจะเฉลี่ยได้เพียงคนละประมาณ 4 ไร่เท่านั้น
แต่ปัจจุบันมีการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากของเอกชนจนเกิดการกระจุกตัว
โดยไม่มีนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมเกิดขึ้น ซึ่งจริงๆ
แล้ว ที่ดินไม่ควรเอาเข้าสู่ระบบกลไกตลาดเลย
ประเทศไทยจึงต้องมีนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ
เพื่อการกระจายการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง โดยการรื้อฟื้นปรับปรุง
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ในสมัยจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่
และห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่มายกเลิกในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์
โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังอาจร่วมกันปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้ทันสมัยขึ้น
โดยมีมาตรการจำกัดการถือครองเพิ่มขึ้นไม่เกิน 100 ไร่ หรือตามความจำเป็น
เป็นต้น
และสนับสนุนนโยบายการเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หรืออาจจะปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ให้ครอบคลุมมาตรการดังกล่าว เพราะหากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่องนี้
เกษตรกรและชาวนาไทยอาจจะกลายเป็นเพียงแรงงานในท้องไร่ที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่
ของนายทุนไร้สัญชาติในอนาคต ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว
ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญไทยที่บัญญัติว่า
รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม
และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่ว
ถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น ทั้งนี้
กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เก็บ
นอกจากเป็นมาตรการสำคัญในการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน
และสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดี
ขึ้นได้แล้ว
ยังเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอีก
ขั้นหนึ่ง
เพราะเป็นรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรทรัพยากรและ
กระจายการพัฒนาสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
เนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่มีภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริงเช่น
นี้ นอกจากฐานรายได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
และฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ
ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษีดัง
กล่าว ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีที่ไม่มีความเป็นธรรม แม้ว่าในอดีตถึงปัจจุบัน
เราจะมีการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่
แต่ก็ไม่ได้เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินอย่างแท้จริง
เพราะเป็นการคำนวณภาษีบนฐานรายได้ โดยคำนวณจาก “ค่ารายปี”
หรือค่าเช่าที่เจ้าของได้รับในแต่ละปี
ถ้ามีการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
จะเป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง
7.ต้องมีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตโดยการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ที่อนุญาตให้ทบทวนแก้ไขได้ทุก 5 ปี โดยอาจใช้กลไก
ส.ส.ร.จากการเลือกตั้งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ตามหลักประชาธิปไตยและเจตจำนงประชาชนอย่างแท้จริง
ในการมีส่วนออกแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเครื่องมือ
สูงสุดในการปกครองประเทศ เพื่อแก้ไขข้อครหาที่มาของรัฐธรรมนูญ 2550
และผลพวงของการรัฐประหาร 2549 ซึ่งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540
ที่มาจากเจตจำนงค์ของประชาชนส่วนใหญ่ลง โดยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง
ตามกติกาสากลระหว่างประเทศ (ICCPR.) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี (2539)
และปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (2491) จะต้องถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะหลักการที่ว่า “ประชาชนทุกคนต้องมีสิทธิที่จะมีส่วนในรัฐบาลของ
ประเทศตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผ่านผู้แทนซึ่งได้เลือกตั้งโดยอิสระ
และเจตจำนงของประชาชนจะต้องเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล
โดยเจตจำนงนี้จะต้องแสดงออกทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา
และอย่างแท้จริง” รวมทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ตามกติการะหว่างประเทศ(ICESR.) ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี (2542)
ด้วยเช่นกัน ซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญ ต้องยกเลิกการบังคับ ส.ส.
สังกัดพรรคและการกีดกันการเข้าสู่การเมืองด้วยรูปแบบต่างๆ
โดยเฉพาะระดับการศึกษา
รวมถึงการแก้ไขการบัญญัติระบบเศรษฐกิจที่ให้ขึ้นต่อกลไกตลาดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ด้วย เพราะถือเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการทุนนิยม
หากไม่สามารถใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสานได้ ฯลฯ
8.ต้องมีการแก้ไขกฎหมายพรรคการเมือง คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
ที่ปิดกั้นการรวมตัวทางการเมืองของประชาชนและเป็นอุปสรรคให้เกิดประชาธิปไตย
ในระบบรัฐสภา
โดยต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบพรรคการเมืองในประเทศไทยให้มี
ประชาธิปไตยภายในพรรค มีลักษณะพรรคของมวลชนอย่างแท้จริง
ที่มีความหลากหลายทางอุดมการณ์ทางการเมืองได้อย่างเสรี
โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองโดยเฉพาะการรวมตัวเป็นพรรคของประชาชน
เพื่อเป็นทางเลือกของประชาชนทางนโยบายและเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง,
รวมถึงการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้ง คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา การ
กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)
ทั้งแบบเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
สนับสนุนให้พรรคการเมืองมีนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมือง ทั้งยังสนับสนุน
ให้เกิดจิตสำนึกทางการเมืองของพลเมืองและพรรคการเมืองทางเลือกของประชาชน
จากกลุ่มชนชั้นต่างๆ โดยต้องแก้ไขให้มีการเลือกตั้งจากสถานที่ประกอบการหรือ
ในโรงงานที่ทำงานได้ตามการเรียกร้องสิทธิแรงงานในเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน
การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว
จะสร้างระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย
ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองที่หลากหลายทางอุดมการณ์
เพื่อต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภาได้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคสังคมนิยม
พรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม พรรคอนุรักษ์นิยม หรือพรรคทางเลือกอื่นๆ
ชื่อพรรคการเมืองเช่น สังคมนิยม ไม่สามารถถูกห้ามจดทะเบียนโดย กกต. ได้
เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิทางการเมือง
ขณะที่ในสังคมประชาธิปไตยในรัฐอื่นที่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว
เขาอนุญาตให้มีพรรคการเมืองทางอุดมการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อแข่งขันนโยบายทางสังคม-เศรษฐกิจอย่างเต็มที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
เช่นรัฐสังคมประชาธิปไตยในสหภาพยุโรปหรือสแกนดิเนเวีย
ซึ่งให้สิทธิทางการเมืองอย่างเต็มที่
และรัฐไม่สามารถรอนสิทธินั้นได้ตราบที่ไม่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของ
เขา
แม้แต่กลุ่มอนาธิปไตยก็ยังมีพื้นที่อยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
และประชาชนสามารถเรียนรู้อุดมการณ์ทางการเมืองที่หลากหลายได้เต็มที่และเสนอ
ทางเลือกที่หลากหลายให้แก่สังคมได้
ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจแบบราชอาณาจักร, สาธารณะรัฐหรือสหพันธรัฐ
การจัดการเศรษฐกิจแบบผสม, สังคมนิยมหรือว่ากลไกตลาดในระบบเสรีนิยม
แต่ประเทศไทยถูกจำกัดการเรียนรู้ด้าน Civic Education เหล่านี้
จึงเข้าถึงสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างจำกัด ท่ามกลางวัฒนธรรม ประเพณี
ธรรมเนียมและกฎหมาย แบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม ที่ชนชั้นนำควบคุมอยู่
9.ต้องมีการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
(คปร.)
เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงให้แก่
ประชาชน
เพราะที่ผ่านมาอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถมีอำนาจที่แท้จริงตาม
เจตนารมณ์ของการปฏิรูปการเมืองได้
เพราะมีความลักลั่นและทับซ้อนกันในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของระบบราชการ
ไทย ซึ่งขาดประสิทธิภาพ
โดยให้มีการรับรองสิทธิการกำหนดอนาคตตนเองของชุมชนท้องที่
และการจัดการเศรษฐกิจตามลักษณะพื้นที่
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อผล
ประโยชน์ของชุมชนในท้องที่ได้อย่างแท้จริง
โดยไม่ถูกอำนาจแทรกแซงจากอำนาจรัฐและทุนในการผลักดันอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้า
ไปทำกิจการในพื้นที่โดยไม่ผ่านการประชามติ และให้มี “สภาหมู่บ้าน”
ที่กฎหมายรับรองอำนาจในการตรวจสอบ
ถ่วงดุลและถอดถอนผู้แทนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ในกรณีไม่รับฟังเสียง
ส่วนใหญ่ในชุมชน ฯลฯ
10.ต้องมีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพ หรือ ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 112
โดยอาจแก้ไขให้เป็นกฎหมายหมิ่นประมาทที่ให้สำนักพระราชวังเป็นผู้มีอำนาจ
ตามกฎหมายในการฟ้องร้องดังกล่าวตามกฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
และข้อเสนอของ คอป.
เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและทำให้ส่งผลเสีย
หายต่อภาพลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งดำรงฐานะประมุขของประเทศ
เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งทางการเมือง
และยุตินักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดในประเทศไทย
[i]
อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2544,
ประธานศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) 2545-2550,
เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (2550-2552),
อนุกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงเฉพาะกรณี 1-5
ในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)
ปัจจุบันเป็น เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35, กรรมการมูลนิธิ 14 ตุลาและผู้อำนวยการสถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social-Democracy Think Tank)
ปัจจุบันเป็น เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35, กรรมการมูลนิธิ 14 ตุลาและผู้อำนวยการสถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social-Democracy Think Tank)
[ii]
เครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat Movement)
ก่อตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการเมืองบนแนวทาง
สังคมนิยมประชาธิปไตย (Social-Democracy)
ประกอบไปด้วยคณะบุคคล-ประชาชนทั่วไปที่เห็นว่า
ความเป็นสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง
คือทางออกของประเทศไทย โดยมีโครงการจัดตั้งสถาบันสังคมประชาธิปไตย
(Social-Democracy Think Tank) ทำหน้าที่เป็นกองเลขานุการและ Think Tank
ของขบวนการ ดำเนินการจัดเวทีสร้างองค์ความรู้/อภิปรายสาธารณะ
รวมถึงการจัดตั้ง/สร้างนักสังคมนิยมประชาธิปไตยรุ่นใหม่
เพื่อสร้างพื้นที่อุดมการณ์ทางสังคมและสร้างเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย
ในประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งต่อไป
ทั้งนี้ เครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat Movement)
มีเป้าหมายที่จะทำงานเป็นภาคีความร่วมมือทางการเมืองร่วมกับองค์กรประชาชน
ต่างๆ ทุกสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นคนงาน เกษตรกร นักศึกษา
ปัญญาชนและนักวิชาการ, กลุ่มขบวนการคนจนต่างๆ
กลุ่มสหพันธ์/สหภาพแรงงานต่างๆ รวมถึงแรงงานนอกระบบ
และกลุ่มเยาวชนนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ โดยสนับสนุนองค์กรเยาวชน
(Youth Wing) ของขบวนการให้มีความเข้มแข็ง
โดยเฉพาะศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
สหภาพเยาวชนแรงงาน (YWU) และพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เพื่อขับเคลื่อนขบวนการคนหนุ่มสาวในประเทศไทย
ให้เป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่เข้มแข็งต่อไป
รวมถึงเชื่อมความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นภาคีอยู่
ไม่ว่าจะเป็น Socialist International(SI), The Party of European Socialists (PES) ,
International Union of Socialist Youth (IUSY)
ซึ่งมีเยาวชนของพรรคสังคมประชาธิปไตย, พรรคสังคมนิยม, พรรคแรงงาน
และขบวนการเคลื่อนไหวสังคมนิยมประชาธิปไตยทั่วโลกเป็นสมาชิกกว่า 100
ประเทศ, World Federation of Democratic Youth (WFDY)
ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ทั่วโลก และ Young
Progressives South East Asia (YPSEA) องค์กรเยาวชนซึ่งมีสมาชิกกว่า 16
องค์กร ในประเทศอาเซียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น