คณะทำงานศึกษาแนวทางทำประชามติ เตรียมประชุม
หารือแนวทางการทำประชามติ วันจันทร์นี้ (24ธ.ค.55) คาดปลายเดือน
มกราคมปีหน้า คณะทำงาน จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทำประชามติ
พร้อมยอมรับเป็นห่วงจำนวนเสียงของผู้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียง
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงการตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการทำประชามติ ว่าเป็นทางออกในการอธิบายให้กับประชาชนได้รับรู้ดีที่สุด และเป็นตัวชี้วัดความคิดเห็นของเสียงข้างมาก ว่าเป็นไปในทิศทางใด โดยในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ คณะทำงานจะได้นัดประชุมกันเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ หากได้ข้อยุติแล้ว อยากให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยยอมรับ โดยคณะทำงานจะทำหน้าที่ 3 ส่วน คือศึกษาความก้าวหน้า การรับทราบการออกเสียงประชามติ และศึกษาข้อกฎหมาย ซึ่งจะใช้เวลาหารือ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขณะเดียวกัน พลตำรวจเอก ประชา ยังเป็นห่วงเรื่องเสียงการทำประชามติ แต่ยืนยันจะไม่มีการแก้ข้อกฎหมาย เพื่อลดการใช้สิทธิ์ออกเสียง โดยจะทำคู่กับประชาเสวนา เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ
นาย วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่าช่วงเวลา 1 ปีเศษ ไม่ถึง 2 ปี หลังจากนี้จะได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะด้วยระยะเวลาการทำงาน จะพบว่า คณะทำงานพิจารณาแนวทางทำประชามติ 1 เดือน หลังจากนั้นอีก 4 เดือนเป็นการทำประชามติตามขั้นตอนของกฎหมาย และเมื่อได้ผลประชามติแล้ว รัฐสภาจะลงมติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 และถึงขั้นตอนของการสรรหา และคัดเลือก ส.ส.ร. ภายใน 120 วัน และให้ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อีก 240 วัน
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้รัฐบาลถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างอยู่ในสภาและยุติกระบวนการทำประชามติ ซึ่ง คณะรัฐมนตรีมีอำนาจโดยตรง เนื่องจากเห็นว่าเป้าหมายการแก้รัฐธรรมนูญ คือต้องการแก้มาตรา 309 และจากการทำโพลที่ผ่านมาทุกครั้ง ประชาชนก็ไม่เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 309
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงการตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการทำประชามติ ว่าเป็นทางออกในการอธิบายให้กับประชาชนได้รับรู้ดีที่สุด และเป็นตัวชี้วัดความคิดเห็นของเสียงข้างมาก ว่าเป็นไปในทิศทางใด โดยในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ คณะทำงานจะได้นัดประชุมกันเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ หากได้ข้อยุติแล้ว อยากให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยยอมรับ โดยคณะทำงานจะทำหน้าที่ 3 ส่วน คือศึกษาความก้าวหน้า การรับทราบการออกเสียงประชามติ และศึกษาข้อกฎหมาย ซึ่งจะใช้เวลาหารือ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขณะเดียวกัน พลตำรวจเอก ประชา ยังเป็นห่วงเรื่องเสียงการทำประชามติ แต่ยืนยันจะไม่มีการแก้ข้อกฎหมาย เพื่อลดการใช้สิทธิ์ออกเสียง โดยจะทำคู่กับประชาเสวนา เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ
นาย วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่าช่วงเวลา 1 ปีเศษ ไม่ถึง 2 ปี หลังจากนี้จะได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะด้วยระยะเวลาการทำงาน จะพบว่า คณะทำงานพิจารณาแนวทางทำประชามติ 1 เดือน หลังจากนั้นอีก 4 เดือนเป็นการทำประชามติตามขั้นตอนของกฎหมาย และเมื่อได้ผลประชามติแล้ว รัฐสภาจะลงมติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 และถึงขั้นตอนของการสรรหา และคัดเลือก ส.ส.ร. ภายใน 120 วัน และให้ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อีก 240 วัน
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้รัฐบาลถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างอยู่ในสภาและยุติกระบวนการทำประชามติ ซึ่ง คณะรัฐมนตรีมีอำนาจโดยตรง เนื่องจากเห็นว่าเป้าหมายการแก้รัฐธรรมนูญ คือต้องการแก้มาตรา 309 และจากการทำโพลที่ผ่านมาทุกครั้ง ประชาชนก็ไม่เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 309
by
Banchar
22 ธันวาคม 2555 เวลา 11:27 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น