26 ธันวาคม, 2012 - 02:38 | โดย yukti mukdawijitra
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555)
กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ
(ไม่) สมหวังของสังคมไทย”
ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้
แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป
ซึ่ง
นั่นก็น่ายินดี เพราะทำให้ผมได้ความรู้จากวิทยากรหลายๆ ท่าน ในส่วนของผม
ขอสรุปประเด็นที่ผมนำเสนอ (อาจจะไม่ตรงกับคำพูดในเวลาเพียงประมาณ 20 นาที)
ดังนี้
1) ด้านที่มาขององค์กร
การ
เกิดขึ้นของกสทช.สอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทย
ที่การก้าวเข้าสู่ระบบโลกในปัจจุบัน
จำเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องให้สิทธิเสรีภาพแก่ด้านการสื่อสารในทุกๆ
ด้านแก่ประชาชน การมีองค์กรอิสระเพื่อดูแลจัดการด้านนี้โดยเฉพาะ
ย่อมเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับทิศทางที่ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายเลือกกระทำ
ใน
กรณีของสังคมไทย กสทช.กำเนิดขึ้นมาในบริบทเดียวกับ “องค์กรอิสระ”
ทั้งหลายแหล่ เพียงแต่กสทช.เป็นองค์กรอิสระล่าสุดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น
แต่ก็ดูจะมีบทบาทโดดเด่นอย่างยิ่ง
เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาลของประเทศ ในบริบทนี้
กสทช.เกิดมาจากความไม่ไว้วางใจต่อนักการเมืองและบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
ในการบริหารจัดการช่องทางการสื่อสาร
อย่าง
ไรก็ดี ดังที่เราได้เห็นกันมาแล้วว่า
องค์กรอิสระหลายองค์กรกลับมิได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง ยังมีอำนาจเร้นลับ
อำนาจนอกระบบ หรืออคติเอนเอียงทางการเมือง ที่เข้ามาแทรกแซงองค์กรอิสระ
ทำให้เกิดการบิดเบืนอหลักการสำคัญๆ ขององค์กรอิสระหลายองค์อย่างเห็นได้ชัด
(ผมไม่ได้กล่าวไปในเวทีเสวนาว่า
ยกตัวอย่างเช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
ใน
แง่นี้ กสทช.ก็ไม่ได้พ้นเงื้อมมือของอำนาจนอกระบบ ดังจะเห็นได้ว่า
ที่มาของกสทช. ก็มาจากการสรรค์หาของวุฒิสมาชิก
ซึ่งกว่าครึ่งไม่ได้มีความยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน ยิ่งกว่านั้น
การที่กสทช.ถือกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญที่เป็นดอกผลของคณะรัฐประหาร 2549
ทำให้เกิดรอบด่างพร้อยแก่คณะกรรมการกสทช.ชุดนี้
รอบด่างพร้อยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกสทช.
ซึ่งมีประวัติเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ 2549-2550 มาก่อน
จึงนับได้ว่าสร้างจุดด่างพร้อยแก่กสทช.ว่าเป็นผู้รับใช้ระบอบทหารนิยม
ระบอบรัฐประหาร ระบอบอนุรักษ์นิยม
ด้วย
ที่มาดังนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า หากจะต้องเลือกเอาระหว่างความมั่นคงของชาติ
ตามอุดมการณ์แบบทหารนิยม/รัฐประหารนิยม/อนุรักษ์นิยม
กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว กสทช.ชุดนี้จะเลือกเอาอะไรกันแน่ กสทช.
จะแสดงบทบาทปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้คลื่นวิทยุ โทรทัศน์
และคลื่นความถี่อย่างไร หากคลื่นเหล่านี้ถูกคุกคามโดยรัฐ
2) ด้านอุดมการณ์
ผม
อ่านในระดับสัญลักษณ์แล้วเห็นว่า กสทช.ชุดนี้มีอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่
อำนาจนิยม และราชการนิยม ลักษณะดังกล่าวนี้สามารถ “ถอดรหัส”
ได้จากรายงานประจำปีของกสทช. และเว็บไซต์ของ กสทช. เอง
เห็น
ได้ชัดว่า สัดส่วนของคณะกรรมการกสทช.มีผู้หญิงเพียงคนเดียว จากกสทช. 11 คน
และในคณะกรรมการย่อย ยังมีผู้ชายเป็นหัวหน้า
ผู้หญิงเพียงคนเดียวนี้ยังมีบทบาทรอง
ข้อสังเกตนอกเหนือจากนั้นที่ผมตั้งไว้ในเวทีเสวนาคือ
การที่ผู้หญิงกลายเป็นเพียงเสียงเจี้ยวจ้าวที่ระเบ็งเซ็งแซ่มาคอยวิพากษ์
วิจารณ์การใช้อำนาจของพวกผู้ชาย
อัน
ที่จริง
ข้อที่ผมไม่ทันได้พูดไปในการเสวนาคือการที่สังคมกสทช.ไม่เพียงเป็นสังคมชาย
เป็นใหญ่ แต่ยังเป็นสังคมที่มีประธานเป็นชาย “นั่ง” เป็นใหญ่อยู่
จากรูปถ่ายในรายงานประจำปี มีเพียงประธานคนเดียวที่นั่ง
นอกจากนั้นยืนกันหมด ภาพลักษณ์ “ประธานนั่ง” ส่อถึงการเป็น
“ผู้นำที่ไม่ต้องแบกรับภาระในเชิงปฏิบัติการอะไร” นอกจากคอยสั่งการ
หรือไม่ก็เป็นเพียงสัญลักษณ์เชิงอำนาจซึ่งสืบทอดมาจากคณะรัฐประหารเท่านั้น
ลักษณะ
ชายเป็นใหญ่สอดคล้องกับลักษณะอำนาจนิยม ดังที่เราเห็นได้ชัดว่า
ในจำนวนกสทช. 11 คนนี้ เป็นทหารและตำรวจถึง 6 คน
สัดส่วนนี้ไม่ได้สะท้อนภาพของสังคมไทย
หากแต่สะท้อนการเกาะกลุ่มกันของผู้มีอำนาจในสังคมไทยในขณะนี้
นั่นคือการที่องค์กรอิสระถูกตั้งขึ้นมาจากผลพวงของการรัฐประหาร 2549
และจึงทำให้สัดส่วนของผู้นำแบบอำนาจนิยม/ทหารนิยม/อนุรักษ์นิยม
ก้าวเข้ามาในสัดส่วนที่สูง
ประเด็น
ที่ผมไม่ได้พูดไปคือ
กรณีของกสทช.บางคนที่เราเห็นกันอยู่ว่าเขาจะเข้ามาช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้
ภาคประชาชน ก็ยังน่าสงสัยว่า หากเขาไม่ได้เป็นผู้หนึ่งที่ขัดขืน
วิพากษ์ผู้มีอำนาจจนถูกผู้นำรัฐบาลนั้นข่มเหงอย่างรุนแรงแล้ว
เขาจะได้รับคัดเลือกมาเป็นกสทช.หรือไม่
ดู
จากรูปถ่ายของคณะกรรมการแล้ว แม้ว่ากสทช.จะพยายามแสดงภาพลักษณ์แบบ CEO
ของบริษัทชั้นนำ
แต่วัฒนธรรมองค์กรของกสทช.ยังยึดโยงอยู่กับภาพลักษณ์แบบราชการ
สังเกตได้จากการเปิดหน้ารายงานประจำปีด้วย “พระบรมราชโองการ”
และมีตราครุฑเหนือเอกสารหน้าเว้นหน้า รวมทั้งประกาศต่างๆ
ที่แสดงในเว็บไซต์ก็มีตราครุฑแทบทั้งสิ้น
การส่งสารเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงภาพลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก
แต่มันยังมีผลต่อพฤติกรรม ทั้งของพฤติกรรมขององค์กรเอง
และพฤติกรรมของประชาชนที่มองและปฏิบัติต่อกสทช.
การ
มีภาพลักษณ์ที่เป็นเจ้าคนนายคน หลุดลอยอยู่เหนือแต่ส่งอิทธิพลต่อชาวบ้าน
จากเบื้องบน เป็นการผลิตซ้ำวัฒนธรรมราชการ ที่ทำให้กสทช.ไม่เข้าถึงประชาชน
และยังมองตนเองว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือประชาชน
ความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกสทช.เป็นความจำ
เป็นอยู่แล้วที่กสทช.จะต้องแตกต่างจากประชาชนทั่วไป
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้กสทช.จะต้องอยู่เหนือประชาชน ด้วยการอิงอำนาจตนเองกับ
“พระบรมราชโองการ” ไม่ใช่หรือ
ดัง
นั้น แทนที่องค์กรอิสระนี้จะเกิดขึ้นมาเพื่อรับใช้ประชาชน
คุ้มครองสิทธิเสรภาพของประชาชน
กลับกลายเป็นว่าจะมาเป็นอำนาจรัฐนอกการกำกับของรัฐบาล
และไม่มีความยึดโยงกับอำนาจของปวงชนเสียมากกว่า
3) การปฏิบัติหน้าที่
ผมตั้งคำถาม 2 ประการกับกสทช. คือเรื่องบทบาทต่อคนชั้นกลางระดับล่าง และบทบาทการเซ็นเซอร์เนื้อหา
ต่อ
ประเด็นแรก หากสังเกตจากเนื้อหาของการเสวนาในวันนั้น
และเสียงวิจารณ์ของสังคม
ที่โดยมากพุ่งไปยังบทบาทกสทช.ต่อกิจการหรือการคุ้มครองผู้บริโภคในเมือง
และผู้บริโภคชนชั้นกลางระดับกลางถึงระดับบน ไม่ว่าจะเป็นการประมูล 3G
การปรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ หรือการคุ้มครองผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ
ซึ่งก็มีผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชน หากแต่มีการพูดถึงสื่อชุมชนน้อยมาก
เหล่า
นี้ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า
หากสังคมหรือกลุ่มผู้วิพากษ์กสทช.เองไม่ค่อยได้สนใจปกป้องผลประโยชน์ของคน
ชั้นกลางระดับล่าง หรือคนในชนบท ในต่างจังหวัดแล้ว
ก็อาจจะเป็นเพราะว่ากสทช.เองนั่นแหละ
ที่ก็ไม่ไดให้ความสำคัญต่อคนเหล่านี้เพียงพอ
จึงทำให้ไม่มีเสียงสะท้อนต่อการทำงานด้านนี้ของกสทช.
ปัญหา
ที่เห็นได้ชัดคือ การที่สัญญาณส่งคลื่น “ฟรีทีวี” นั้น
กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง
ในเขตผู้มีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายให้กับสัญญาณดาวเทียมหรือสัญญาณเคเบิลทีวี
แต่กลับกลายเป็นว่าผู้มีรายได้น้อยต้องจ่ายเงินซื้อจานดาวเทียม
เนื่องจากสัญญาณฟรีทีวีในต่างจังหวัดแย่มาก
ทำให้ฟรีทีวีฟรีเฉพาะกับคนที่มีรายได้มาก
ฟรีกับคนที่ไม่ต้องการฟรีทีวีมากกว่า หรือกรณีโทรศัพท์ทางไกล ที่ราคาแพงมาก
ในขณะที่คนกรุงเทพฯ ใช้โทรศัพท์ราคาถูกกว่ามาเนิ่นนานแล้ว
กสทช.มีนโยบายอย่างไรกับการปรับปรุงสิทธิการเข้าถึงตรงนี้หรือไม่
ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดนัก
นอก
จากนั้น เรื่องวิทยุชุมชน มีเสียงสะท้อนจากข่าวว่าประกาศของกสทช.เรื่อง
“หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555”
ที่อาจมีผลกีดกันการเข้าถึงสื่อ
เช่นมีข้อกำหนดที่ให้ผู้เข้ารับการอบรมประกอบกิจการวิทยุชุมชน
จะต้องจบปริญญาตรีสาขาสื่อสารมวลชนด้านวิทยุ-โทรทัศน์ (ดูข่าว
“วิทยุชุมชนฟ้อง กสทช. เลือกปฏิบัติ” ใน “คม-ชัด-ลึก” วันที่ 26 ธค. 2555)
หาก
เป็นดังนั้นจริง ก็จะจำกัดการดำเนินกิจการวิทยุชุมชน ทั้งๆ
ที่วิทยุชุมชนมีบทบาทสำคัญต่อความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของไทยใน
ระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น
ในเมื่อผู้ประกอบกิจการอยู่ในขณะนี้จำนวนหนึ่งไม่ได้จบปริญญาตรี
หรือไม่ได้จบสาขานี้โดยตรง เขาก็ยังประกอบกิจการด้านนี้มาได้
แสดงว่าการประกอบกิจการด้านนี้ก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญาตรีสาขา
วิทยุ-โทรทัศน์แต่อย่างใด
ใน
ทางตรงกันข้าม
ดูเหมือนแทนที่กสทช.จะให้การสนับสนุนต่อคลื่นความถี่ลักษณะต่างๆ
ที่คนหมู่มาก คนมีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้
แต่กลับจำกัดหรือสร้างเงื่อนไขที่ทำให้การเข้าถึงยากเย็น
ในขณะช่องทางการสื่อสารหลัก ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือโทรทัศน์
ซึ่งอยู่ในมือของผู้มีอำนาจ คือทหาร รัฐบาล และบริษัทเอกชน
กลับได้รับการโอบอุ้มอะลุ่มอล่วยมากกว่า
อีก
ข่าวหนึ่งที่น่าสนใจคือ ข่าวการปรากฏตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีในทีวีช่อง 11
ถูกหยิบยกมาเป็นข้อร้องเรียนต่อกสทช.ว่า ทำไมกสทช.ไม่ควบคุม
แม้ว่ากสทช.จะตอบกลุ่มผู้ร้องเรียนว่า
การปรากฏตัวของบุคคลดังกล่าวไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย
แต่กสทช.ยังแสดงท่าทีเสมือนเป็นการเซ็นเซอร์เนื้อหาด้วยการกล่าวว่า
“สื่อสารมวลชนโดยเฉพาะช่อง 11 ในภาพกว้าง เวลาทำรายการใดๆ
ต้องระมัดระวังว่ารายการนั้นจะไม่ก่อให้เกิดข้อคิด
หรือข้อขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคม” (ดูข่าว
“กสทช.ไม่ฟันทักษิณโผล่ทีวี” ใน “บ้านเมือง” วันที่ 26 ธค. 2555)
ความ
เห็นนี้จัดได้ว่าเป็นการเซ็นเซอร์เนื้อหาในลักษณะหนึ่ง
เนื่องจากกำกับว่าจะต้องมีทิศทางของเนื้อหาไปทางใดทางหนึ่ง นอกจากนั้น
ความเห็นนี้ยังวางกรอบที่กำกวมว่า
เนื้อหานั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งในสังคม ใครจะเป็นผู้ตัดสินว่า
เนื้อหาใดก่อให้เกิดความขัดแย้ง เนื้อหาใดไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
หากกสทช.เป็นผู้ตัดสิน ก็จะยิ่งตอกย้ำว่า กสทช.เป็น “คุณพ่อรู้ดี”
เป็นผู้เผด็จการที่คอยกำหนดกะเกณฑ์ได้ว่า เนื้อหาใดควรนำเสนอออกสื่อ
เนื้อหาใดไม่ควร
ที่
แย่ยิ่งกว่านั้นคือ
นี่แสดงว่ากสทช.ไม่เข้าใจลักษณะของสังคมประชาธิปไตยและสังคมสมัยใหม่ว่า
เป็นสังคมที่มีความขัดแย้งเป็นธรรมชาติ
ตราบใดที่ความขัดแย้งนั้นยังดำเนินไปบนวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย
และสามารถจัดการได้ด้วยด้วยกลไกในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งใดๆ
ก็เป็นที่ยอมรับได้
ปัญหา
เหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากปัญหาของที่มาของกสทช.และอุดมการณ์
เบื้องหลังกสทช.ดังกล่าว หากแต่ปัญหานี้สะท้อนว่า
ที่มาและอุดมการณ์แบบอำนาจนิยม/ทหารนิยม/อนุรักษ์นิยมอาจมีส่วนทำให้ประเด็น
เรื่องการกระจายโอกาสการเข้าถึงสื่อไปสู่คนรายได้น้อย
และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงสื่อและเสรีภ่พการแสดงออก
การแสดงความคิดเห็น ไม่ได้เป็นจุดเน้นของกสทช.ชุดปัจจุบัน
ในท้ายที่สุด ผมตั้งคำถามว่า หากแก้รัฐธรรมนูญแล้ว กสทช.ชุดนี้จะแสดงสบิริตประชาธิปไตยด้วยการลาออกหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น