แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาคภูมิ แสงกนกกุล : 3G ประเด็นเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาส

ที่มา ประชาไท




พาดหัวข่าว “ปธ. ทีดีอาร์ จี้ กสทช. รับผิดชอบ ชี้ประมูล 3G ล้มเหลวทำรัฐสญร่วม 1.6 หมื่นล้าน”[1]
          พาดหัวข่าว “อึ้ง คนไทยเสียโอกาส 4.8 แสนล้าน ผลเสียดอง 3G เมื่อ3ปีก่อน”[2]

          การประมูลสามจีเป็นที่สำเร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมเกิดข้อถกเถียงในสังคม ระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประเด็นสำคัญที่ถกเถียงกันมากคือ จากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลยกเรื่องความเสียหาย 1.6 หมื่นล้านจากราคาประมูลที่ต่ำกว่าราคาประเมิน ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยต่างยกข้อโต้แย้งว่าประเทศไทยต้องการใช้สามจีอย่างเร่ง ด่วน ความล่าช้าจะสร้างความเสียหายระหว่างประเทศ ซึ่งประจวบเหมาะกับเมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่ไทยรัฐลงข่าวว่า สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้ประเมินค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จากการดองสามจีเมื่อสามปีที่แล้วมูลค่าสูงถึง 4.8 แสนล้านบาท ทั้งสองฝ่ายที่โต้แย้งกันต่างใช้ฐานเดียวกันคือคำนวณต้นทุนเสียโอกาส แต่ผลการประเมินกลับตรงกันข้าม
          ต้นทุนค่าเสียโอกาสคือการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้สภาวะที่มีตัวเลือก โครงการหรือนโยบายสาธารณะให้ปฏิบัติมากกว่าหนึ่งโครงการ แต่เราสามารถเลือกปฏิบัติได้โครงการเดียวโดยไม่สามารถปฏิบัติโครงการอื่นได้ พร้อมกันซึ่งอาจจะมีสาเหตุข้อจำกัดด้านเวลาหรืองบประมาณ ต้นทุนค่าเสียโอกาสคือ ค่าโอกาสที่เสียไปจากการเลือกปฏิบัติโครงการหนึ่งแล้วไม่ได้ปฏิบัติโครงการ หนึ่ง  เช่น สมมติมีเจ้าของที่ดินว่างเปล่าหนึ่งแปลง ถ้าเจ้าของที่ดินปล่อยให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละพันบาท แต่เจ้าของที่ดินไม่ปล่อยให้เช่าและปล่อยที่ดินว่างเปล่าไม่ก่อให้เกิดราย ได้ ค่าเสียโอกาสจึงเป็นติดลบพันบาท
          ค่าเสียโอกาสไม่จำเพาะเฉพาะต้นทุนที่เสียไปเท่านั้นแต่รวมถึงผลประโยชน์ที่ ได้รับจากการเลือกปฏิบัตินโยบายหนึ่งและไม่ปฏิบัตินโยบายหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น นโยบายลดหย่อนภาษีรถคันแรก สมมติมีการประเมินผลจากนโยบายรถคันแรกทำให้รัฐขาดรายได้ภาษีสรรพสามิตรรถ ยนต์ที่ควรจะเข้ารัฐเป็นมูลค่า เจ็ดหมื่นล้านบาทซึ่งเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาส แต่นโยบายรถคันแรกอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ เพิ่มการเก็บภาษีสรรพสามิตประเภทอื่นๆตามมา เช่น ภาษีน้ำมัน ภาษีทางด่วน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากนโยบายและอาจมีมูลค่าสูงกว่าการลดหย่อนภาษีรถ ยนต์
          อย่างไรก็ตามการประเมินค่าเสียโอกาสมีข้อจำกัดและพึงระวังคือ การประเมินค่าเสียโอกาสที่ประเมินราคาได้ยากตามราคาท้องตลาด เช่น สมมติพ่อมีเงินร้อยบาทมีทางเลือกสองทางคือ นำเงินไปซื้อเหล้า กับนำเงินไปซื้อหนังสือให้ลูก ผลที่ได้มาทั้งสองทางเลือกคือ พ่อมีความสุขจากการกินเหล้า หรือ มีความสุขจากการซื้อหนังสือให้ลูก ซึ่งความสุขนั้นถูกตีราคาตามท้องตลาดอย่างยากลำบาก นอกจากนี้ข้อควรระวังต่อมาคือการนิยามขอบข่ายของค่าเสียโอกาสจากผลที่ตามมา ถ้ากว้างไปหรือแคบไป ย่อมส่งผลให้ตัวเลขที่แสดงออกมาแตกต่างมากขึ้นเท่านั้น เช่นจากตัวอย่างข้างต้น ถ้านิยามกว้างต่อไปคือ พ่อซื้อเหล้า แล้วสุขภาพเสีย เมาอาละวาด ครอบครัวแตกแยก กับพ่อซื้อหนังสือ ลูกนำไปอ่าน เกิดดวงตาเห็นธรรม เรียนจบดอกเตอร์ ซึ่งถ้าตีราคาออกมาได้คงมีความแตกต่างมหาศาล
กลับมาที่เรื่องประมูล 3G ดังนั้นเมื่อมาพิจารณาค่าเสียโอกาส จากการประมูล จึงควรพิจารณาว่ารัฐมีคลื่นสามจีอยู่และพิจารณาทางเลือกต่างๆของรัฐในการใช้ ประโยชน์สามจี เช่น 1 ปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำอะไร 2 รัฐนำมาใช้ประโยชน์เองโดยเป็นผู้ให้บริการเอง 3ให้เอกชนเข้ามาจัดการโดยผ่านกระบวนการประมูล 4ให้เอกชนเข้ามาจัดการโดยวิธีการสัมปทาน  หรือทางเลือกอื่นๆสุดแล้วแต่ เมื่อได้ทางเลือกแล้วจึงนำมาศึกษาถึงต้นทุนหรือผลประโยชน์ของแต่ละตัวเลือก นำมาเปรียบเทียบกัน
การประเมินต้นทุนเสียโอกาสสามารถนำไปประเมินประเด็นปลีกย่อยได้ต่อไปอีก เช่น ในบทความ ดร รวีพันธ์ พิทักษ์ชาติวงศ์[3]ว่า “หากภาครัฐให้ความสำคัญต่อรายรับจากการประมูลพอสมควรเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ให้บริการซึ่งมีจำนวนไม่มาก สัด ส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ไม่ควรต่ำกว่า 0.67...” ของราคาประเมิน กล่าวคือ ไม่ต่ำกว่า 4,314.8 ล้านบาทต่อชุดเท่านั้น” จากข้อความดังกล่าว ก็ต้องมาตีราคาต่อว่าผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับกับ เงิน 1.6 หมื่นล้านบาทที่เสียไปแบบไหนจะคุ้มกว่ากัน
นอกจากข้อจำกัดที่พึงระวังในการประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาสแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้นทุนค่าเสียโอกาสเป็นต้นทุนประเมินที่คาดไว้ ไม่ใช่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีผลสำคัญมากในทางกฎหมาย ในทางกฎหมายเองก็มีการพิจารณาค่าเสียโอกาสเช่นกันและจ่ายเป็นรูปสินไหมทดแทน พบเห็นได้บ่อยๆในกรณีการฟ้องร้องทางแพ่ง เช่น ความเสียหายจากการรักษาเป็นต้น อย่างไรก็ตามค่าเสียโอกาสนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ชัดเจน เช่น ความเสียหายจากการพิการและไม่สามารถทำงานได้ตลอดชีวิต ศาลสามารถพิจารณาให้ผู้กระทำละเมิดจ่ายค่าสินไหม
ในกระบวนการการรับผิดประกอบด้วยสามองค์ประกอบคือ การกระทำความผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสียหาย เมื่อขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วย่อมไม่ต้องรับผิด (ยกเว้นกรณีการรับผิดโดยปราศจากความผิด) และถึงแม้การประมูลเป็นการกระทำที่เกิดจากองค์กรของรัฐที่ต้องใช้กฎหมาย ปกครองมาพิจารณาแทน การรับผิดก็ยังต้องครบองค์ประกอบสามอย่างด้วยเช่นกัน คือ รัฐต้องทำความผิด เกิดความเสียหาย และความเสียหายสัมพันธ์กับความผิด ดังนั้นสิ่งที่ฝ่ายโต้แย้งการประมูลควรนำเสนอต่อสาธารณะชนคือ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการประมูลนี้มีความผิดฐานการฮั้วประมูล ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเกิดความเสียหายขึ้นจริง และ พิสูจนความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายกับการฮั้วประมูล
ในประเด็นการฮั้วประมูล สิ่งที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยต้องพิสูจน์คือ เกิดการฮั้วประมูลขึ้นจริง หรือเกิดจากธรรมชาติของตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อยรายในธุรกิจโทรคมนาคมไทย ในประเด็นเรื่องความเสียหาย รัฐไม่ได้ลงทุนใดๆกับการสร้างโครงข่ายพื้นฐาน และ สามจีเป็นสิ่งที่อยู่ในอากาศธรรมชาติ รัฐไม่ได้เสียต้นทุนในการผลิตคลื่นออกมา การยกความเสียหาย 1.6 หมื่นล้านให้มีผลผูกพันทางกฎหมายจึงเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง และบีบการทำงานของฝ่ายบริหารในการออกนโยบายสาธารณะ เพราะฝ่ายบริหารมีนโยบายให้เลือกมากมาย การเลือกนโยบายหนึ่งโดยไม่เลือกนโยบายหนึ่งย่อมมีค่าเสียโอกาส (หรือผลได้) จากการเลือกนโยบาย เช่น ถ้าสมมติมีคนนึกครึ้มใจไปฟ้องต่อศาลว่าเกิดความเสียหายจากการไม่ประมูล 3G เป็นมูลค่ากว่า 4.8 แสนล้านบาท และศาลเกิดรับฟ้องขึ้นมา เท่ากับว่าไม่ว่าจะประมูลหรือไม่ประมูล ฝ่ายรัฐก็ผิดทั้งขึ้นทั้งร่อง
นอกจากนี้มีข้อโต้แย้งว่าการประมูลถูกออกแบบมาไม่ให้มีการแข่งขันเพราะ เสนอจำนวนคลื่นประมูลเท่ากับจำนวนบริษัทซึ่งมีโอกาสสูงที่ผู้ประมูลจะได้ คลื่นเหมือนกัน ผมอยากให้ทุกคนลองมองย้อนอดีตตลาดโทรคมนาคมไทยซึ่งแต่ก่อนมีผู้ประกอบการ มากกว่าปัจจุบัน แต่ทำไมจำนวนผู้ประกอบการลดลงเรื่อยๆ ตลาดโทรคมนาคมไทยในอดีตเป็นตลาดที่ผู้แข่งขันรายใหม่เข้ามาสู่ตลาดยากมาก เพราะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลและต้องทำสัมปทานกับรัฐ บริษัทไหนพลาดทำสัมปทานกับรัฐเพื่อให้ได้เทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ ย่อมมีโอกาสสูงที่ต้องขาดทุนจากการที่ลูกค้าย้ายจากบริษัทที่มีเทคโนโลยรต่ำ ไปสู่บริษัทที่ได้เทคโนโลยีสูง เมื่อขาดทุนมากก็ต้องออกจากตลาด เมื่อโอกาสเข้าตลาดยากและออกจากตลาดง่ายกว่า ปัจจุบันก็เหลือเพียงสามบริษัทใหญ่ เป็นตลาดผู้แข่งขันน้อยรายแล้วการแข่งขันด้านราคาระหว่างบริษัทก็ลดลง ซึ่งไม่ต่างจากกรณีการประมูลครั้งนี้ถ้ามีการเสนอจำนวนคลื่นสองชุดแล้ว บริษัทหนึ่งย่อมมีโอกาสแพ้และมีโอกาสออกจากตลาดสูง บรรยากาศการแข่งขันด้านราคาที่ไม่ค่อยมีอยู่แล้วย่อมแย่ลงไปอีกเมื่อเหลือ แค่สองบริษัท และสุดท้ายก็ต้องประเมินค่าเสียโอกาสอีก(ถ้ายังอยากประเมินกันต่อ) ว่าเงินที่ได้จากการประมูลสูงขึ้นกับผลเสียของผู้บริโภคที่เกิดจากการผูกขาด ตลาดโดยสองบริษัท แบบไหนจะคุ้มกว่ากัน?  



[1] http://prachatai.com/journal/2012/10/43194
[2] http://www.thairath.co.th/content/eco/313429
[3] http://prachatai.com/journal/2012/11/43527

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น