โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร
ท่ามกลาง บรรยากาศการเคลื่อนไหวสนับสนุนและถ่วงรั้งคุกคามการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ภายหลังความสำเร็จในการบริหารประเทศครบรอบ ๑ ปีของรัฐบาลสาวน้อยหมวกแดง การถกเถียงระดมความคิดในหมู่ญาติมิตรครอบครัวของสาวน้อยหมวกแดงว่าพวกตนควร จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวอย่างไร เมื่อไร หรือไม่ (ปล่อยทิ้งค้างไว้อีกระยะหนึ่งเป็นการซื้อเวลาเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง ในอำนาจจากวาระการดำรงตำแหน่งต่อไป) ก็ยังคงเป็นประเด็นถกแถลงสำคัญเพราะมีคำประกาศนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของตน ค้ำคออยู่อย่างหนักแน่น การถกแถลงของญาติมิตรและเครือญาติในหมู่บ้านของสาวน้อยหมวกแดงถูกจับตามอง ทุกฝีก้าวจากฝูงสุนัขป่าหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอุดมการการเมืองร่วมกันว่าจะ ขย้ำทั้งตัวสาวน้อยหมวกแดงและหมู่บ้านของเธอให้ราบคาบเมื่อโอกาสมาถึง ท่ามกลางบรรยายกาศการเมืองเหล่านั้น สุนัขป่าเฒ่าเก่าแก่ในเสื้อคลุมครุยยาวดำน่าเกรงขามสบโอกาสแปลงโฉมเป็น “ยาย” เข้ากระชิบแนะนำสาวน้อยหมวกแดงให้ลงมือทำประชามติว่าคนในหมู่บ้านทั้งหมด ต้องการให้มีการลงมติวาระสามรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปหรือไม่ หลังจากเคยพยายามจะลงมือขย้ำสาวน้อยหมวกแดงแต่ไม่สำเร็จมาแล้วหลายครั้ง ครั้งนี้สุนัขป่ามาในรูปของ “ยาย” ผู้เมตตาหวังดีต่อสาวน้อยหมวกแดง
บนเส้น ทางลดเลี้ยวเคี้ยวคดในป่าการเมืองไทยตั้งแต่ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ สาวน้อยหมวกแดงกำลังเดินอยู่บนเส้นทางที่สุนัขป่ากำลังพยายามล่อหลอกให้เธอ เดินออกนอกเส้นทางที่ปลอดภัยเพื่อพลัดหลงเข้าไปใน “พื้นที่สังหาร” ที่ฝูงสุนัขป่าจะรุมขย้ำต่อไปได้ง่ายขึ้นโดยญาติมิตรครอบครัวของสาวน้อยหมวก แดงจะไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงทีอีกต่อไป สุนัขป่าในคราบเสื้อคลุมดำยาวของ “ยาย” ล่อหลอกเธอว่าน่าจะเดินออกจากเส้นทางไปเก็บดอกไม้ในป่าใส่ตะกร้าไปด้วย
นิทาน เรื่องนี้ยังไม่จบและเรายังไม่รู้ในวันนี้ (วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕) ว่าสาวน้อยหมวกแดงจะเดินออกนอกเส้นทางแล้วพลัดหลงเข้าไปในพื้นที่สังหารของ สุนัขป่าในคราบนักบุญ หรือในที่สุดเธอจะตัดสินใจมุ่งหน้าเดินไปตามเส้นทางเพื่อนำร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ ที่ใส่อยู่ในตะกร้าที่เธอถือมาอยู่แล้วนำส่งไปให้ถึงบ้านที่มีญาติมิตรครอบ ครัวเฝ้ารออยู่ด้วยความกระวนกระวายและกังวลในสวัสดิภาพความปลอดภัยของเธอ
บทส่งท้าย
รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดหลักการและกรอบวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าให้ ดำเนินการได้ตามบทบัญญัติ มาตรา ๒๙๑ ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขั้นตอนดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่กำหนดในมาตรา ๒๙๑ ประกอบบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนตามตัวอ้กษรว่าการ ประชุมพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในขั้นตอนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ดำเนินการ เป็นสามวาระ (วาระที่ ๑ วาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ตามลำดับ) โดยไม่ต้องมีการจัดทำประชามติจากประชาชนว่าจะให้รับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำประชามติโดยคำสั่งคณะรัฐมนตรีหรือประธานรัฐสภา ข้อเสนอแนวทางให้รัฐบาลหรือสภาผู้แทนราษฎรไปจัดทำประชามติก่อนการประชุม เพื่อลงมติวาระสามดังกล่าวจึงเป็นข้อเสนอให้รัฐบาลและ/หรือประธานสภาผู้แทน ราษฎรดำเนินการเบี่ยงเบนไปจากกรอบวิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนด (ความเบี่ยงเบนดังกล่าวสามารถถูกศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลยพินิจตีความและ วินิจฉัยให้เป็นหรือไม่เป็นความผิดหรือเป็นโทษต่อผู้สั่งการให้ทำประชามติ เรื่องนี้ได้ หากมีผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปว่าการทำประชามติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่)
ดังนั้น การผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อระบอบประชาธิปไตยมาก ที่สุดในปัจจุบันคือการผลักดันให้มีการลงมติรับ “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑” วาระสามในสภาผู้แทนราษฎรให้สำเร็จลุล่วงก่อน แล้วจึงดำเนินการชั้นตอนอื่น ๆ ต่อไปตามที่กฎหมายกำหนด การจัดให้มีการประชุมเพื่อลงมติวาระสามดังกล่าวเป็น “เส้นทางตามรัฐธรรมนูญ” ที่ตรงไปตรงมาและมีทั้งหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมรับรองอย่างหนักแน่น ทั้งยังมีการสนับสนุนความชอบธรรมทางการเมืองจากประชาชนโดยส่วนรวมของประเทศ แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ด้วยการเริ่มต้นจากการแก้ไขมาตรา ๒๙๑ ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ควรเป็น “แนวทางหลัก” สำหรับการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ต่อไป ขณะที่แนวทางอื่นที่ไม่ขัดแย้งกับแนวทางหลักดังกล่าว (เช่น แนวทางการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาและจัดทำข้อเสนอร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขององค์กรที่มีอำนาจแก้ไขรัฐ ธรรมนูญตามแนวทางหลัก) อาจถูกเลือกใช้เป็นส่วนประกอบเท่านั้นและไม่ควรใช้เป็นแนวทางหลักทดแทนแนว ทางที่ริเริ่มด้วยการเสนอ “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑” มาก่อนแล้วจนผ่านวาระสองในสภาผู้แทนราษฎร
การผลัก ดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตาม “เส้นทางหลัก” ดังกล่าวมีความปลอดภัยทางการเมืองและยังมี “เกราะคุ้มกันทางกฎหมาย” ทั้งจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและจากกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การใช้เส้นทางหลักดังกล่าวช่วยให้องค์กรที่ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมทั้งสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน) สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหารายละเอียดที่จะปรากฎขึ้นต่อไปได้ชัดเจน แม่นยำ สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงได้ง่ายขึ้น แต่การเลือกใช้เส้นทางที่เบี่ยงเบนออกไปจากเส้นทางหลักดังกล่าวในปัจจุบัน (ไม่ว่าเส้นทางประชามติหรือเส้นทางคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ) จะเป็นการชักนำรัฐบาล/สภาผู้แทนราษฎร/และประชาชนให้เดินทางเข้าไปใน “พื้นที่อันตราย” ที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขปัจจัยอันมิอาจคาดเดาได้ชัดเจนว่าจะเกิดอันตรายทั้ง ต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญและต่อหลักการของ ระบอบประชาธิปไตยโดยองค์รวมอย่างไร ในช่วงเวลาใด หรือในขั้นตอนกระบวนวิธีลับลวงพรางอย่างไรต่อไป เนื่องจากขั้นตอนนอกเส้นทางหลักดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่มิได้กำหนดไว้ในรัฐ ธรรมนูญ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ความเห็น อ. คณิน ต่อ การโหวตวาระ 3 การลงประชามติ และ มาตรา 165
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น