แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิพากษ์หนักสโมสรนักข่าวต่างประเทศในไทย

ที่มา Thai E-News


:สืบเนื่องจากการตัดสินจำคุก สมยศ๑๑ ปี

"ทว่ากฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปฏิบัติการโดยสร้างตัวอย่างจากผู้ที่โชคร้ายบางคนเพื่อฝังความหวาดกลัวในหัวของคนอื่นๆ ทั้งหลาย โทรเลขวิกิลี้คปี ๒๕๕๒ ชี้ให้เห็นถึงยุทธวิธี 'เชือดไก่ให้ลิงดู' คนที่โชคร้ายกลายเป็นเหยื่อจะพบตัวเองตกอยู่ในภาวะฝันร้ายทางกฏหมายแบบคัฟคาเอสก์ ซึ่งการขอประกันตัวถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเชื่อแน่ได้ว่าจะต้องถูกพิพากษาให้ผิด คนที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ยอมรับสารภาพเพื่อจะได้ลดหย่อนผ่อนโทษ แต่สมยศแสดงพลังใจอันแน่วแน่ของเขาที่จะไม่ยอมรับเช่นนั้น"

แอนดรูว์ แม็คเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ประจำประเทศไทยซึ่งตีพิมพ์เว็บไซท์เกี่ยวกับประเทศไทยชื่อว่า Zenjournalist ได้เขียนบนหน้าเฟชบุ๊คของเขาเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ศกนี้ วิพากษ์การนิ่งเฉยของสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในไทย หรือ FCCT* ที่ไม่ยอมกล่าวถึงกรณีศาลอาญาพิพากษาจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ถึง ๑๑ ปี
ถึงเวลาต้องบอกความจริงเกี่ยวกับสถาบันอันคร่ำครึ ยะโส และเร้นลับ ซึ่งนับวันจะยิ่งหลงระเริงไปจากความจริง และทำให้ประชาชนในประเทศไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ผิดหวังมากขึ้น.....แน่ละผมหมายถึงเอฟซีซีที
แอนดรูว์เริ่มต้นข้อเขียนบนเฟชบุ๊คอันยาวเหยียดของเขาก่อนจะเล่าถึงเหตุการณ์ที่เขาบอกว่าทำให้สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศซึ่งก่อตั้งมานานถึง ๕๗ ปีแห่งนี้ จมดิ่งถึงก้นบึ้ง ของความ น่าสลด และดัดจริต ในค่ำวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ ก่อนการเสวนาปัญหากฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ไทย หรือที่เรียกกันแพร่หลายว่า Lèse majesté law เมื่อนายเนอร์มอล กอสช์ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรขึ้นไปพูดตัดบทว่าจะไม่มีการพูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นหนึ่งอาทิตย์ก่อนหน้านั้น อันถือว่าเป็นการคุกคามเสรีภาพด้านสื่อสารมวลชนในประเทศไทยอย่างรุนแรงที่สุดในชั่วอายุคนทีเดียว
สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการคนไทยวัย ๕๑ ปี ถูกนำตัวมาศาลด้วยโซ่ตรวนเพื่อฟังคำพิพากษาในความผิดเกี่ยวเนื่องกับบทความสองชิ้นที่เขาไม่ได้เป็นคนเขียน และไม่ได้ระบุถึงพระบรมวงศานุวงศ์โดยตรง เขาต้องถูกคุมขังมาเป็นเวลาเกือบสองปี และถูกปฏิเสธการประกันตัว ๑๒ ครั้งระหว่างรอการพิจารณาคดี แอนดรูว์เล่าพร้อมแสดงความเห็นว่า
คำพิพากษาให้จำคุก ๑๑ ปีนั้นมันรุนแรงอย่างน่าสยดสยอง มีผลกระทบอย่างชนิดผิดผีผิดไข้ต่อเสรีภาพของการแสดงออกในประเทศไทย และการลงโทษสมยศทำให้ทั่วโลกวิตกกังวล ดังเห็นได้จากประดาแถลงการณ์ต่างๆ ที่มาจาก ข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน, สหภาพยุโรป, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเซีย, คณะกรรมการปกป้องนักหนังสือพิมพ์, ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน, Human Rights Watch, และ นิรโทษกรรมสากล
กรรมการอำนวยการของสโมสรได้รับคำสั่งไม่ให้แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อคดีสมยศ สโมสรฯ เงียบกริบในเรื่องนี้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เต็มๆ จนกระทั่งนายเนอร์มอล นายกสโมสรออกมาให้เหตุผลว่า เอฟซีซีทีเป็นสโมสร ไม่ใช่สมาคม ดังนั้นจึงเป็นการไม่เหมาะสมที่จะมีถ้อยแถลงใดๆ ออกมาจากสโมสรในเรื่องที่ล่อแหลมอย่างนี้ จำเป็นที่สโมสรจะต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปเป็นฝักฝ่าย เพื่อจะได้รักษาแนวเป็นกลางสำหรับการถกเถียง และปรึกษา

ผู้สื่อข่าวต่างชาติไม่ควรที่จะไปสอนทางการบ้านเมืองของไทยว่าจะบริหารปกครองประเทศอย่างไร และควรที่จะยึดติดกับการรายงานข่าวมากกว่าพยายามจะโน้มน้าวนโยบาย พวกเขาควรที่จะรายงาน ไม่ใช่ตัดสิน
แต่ แอนดรูว์บอกว่านี่เป็นการแสดงออกที่น่าละอายเมื่อนายกสโมสรนักหนังสือพิมพ์ ล้างมือของตนจากความรับผิดชอบในการยืนหยัดเพื่อเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ด้วย กัน หลังจากที่เขาถูกยื่นโทษอันไม่ต้องตามสัดส่วนของความผิดโดยกฏหมายที่เสื่อม ค่า และน่าขัน ข้ออ้างของเนอร์มอลไม่ยอมยืนขึ้นสู้การกดขี่ และเซ็นเซอร์ทำให้ดูเหมือนเขาจะลืมหลักการของสโมสรที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซ ต์ว่า เป้าหมายหลักของเอฟซีซีที และสมาชิกคือการเสริมสร้าง และปกป้องสิทธิของนักหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย และทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แอนดรูว์ชี้ว่าการส่งเสริมเสรีภาพของสื่อมวลชนมักจะรวมถึงการต่อต้านโทษจำคุกยาวนานต่อนักเขียน และบรรณาธิการด้วย การนี้แม้บนเว็บไซต์ของสโมสรฯ ก็ยังมีส่วนตอนพิเศษสำหรับเสรีภาพนักหนังสือพิมพ์ระบุไว้ว่า สโมสรมุ่งมั่นในด้านเสรีภาพนักหนังสือพิมพ์ กับเป็นหลักหินแห่งประชาสังคมในดินแดนที่ผุดขึ้นสู่ประชาธิปไตย และเป็นทางออกสำหรับการแลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างเปิดเผย
การอ้างว่าสโมสรฯ ไม่ควรออกแถลงเป็นทางการในเรื่องสลักสำคัญต่อความปลอดภัย และเสรีภาพของนักหนังสือพิมพ์นั้นไม่จริง ในเมื่อสโมสรเคยออกแถลงการณ์ต่อการเสียชีวิตของฮิโร มูราโมโต้ ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ และฟาบิโอ โปเล็นกี ช่างภาพอิสระ ในปี ๒๕๕๓
ทำไมสมยศจึงไม่ได้รับความใส่ใจจากสโมสรฯ เป็นเพราะสโมสรไร้น้ำยาเสียจนต้องให้นักข่าวถูกฆ่าตายจึงจะพูดอะไรออกมาได้ หรือว่าแค่เห็นใจต่างชาติด้วยกัน แต่ไม่ยี่หระกับคนไทยกันแน่
ต่อ กรณีที่เนอร์มอล ก้อสช์ และสมาชิกบอร์ดของสโมสรฯ กล่าวถึงคดีสมยศเป็นการส่วนตัวว่า แม้จะไม่เห็นด้วยกับประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ พวกเขาก็เห็นว่าถ้าสื่อต่างชาติเข้าไปสนับสนุนการปฏิรูปกฏหมายอื้อฉาวนี้จะ กลายเป็นการย้อนศรไม่สร้างสรรเสียมากกว่า แล้วทำให้พวกกษัตริย์นิยมสุดโต่งยิ่งกร้าวแกร่งขึ้น
แอนดรูว์แย้งว่าเป็นไปไม่ได้ที่นักข่าวจะรายงานการเมืองในประเทศไทยอย่างตรงต่อความจริง และไม่ลำเอียงโดยไม่ถูกข้อหาละเมิดกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาอธิบายว่าในใจกลางของความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทยยุคศตวรรษที่ ๒๑ นี้ มีการต่อสู้ทางการเมืองสองเรื่องพัลวันพัลเกกันอยู่ เป็นความไม่ลงตัวในสมดุลอำนาจของสถาบันกษัตริย์ กองทัพ ราชการ ผู้ได้รับเลือกตั้ง และประชาสังคม กับอีกเรื่องหนึ่งคือความไม่ลงรอยกันในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ที่ว่ารัชกาลที่ ๑๐ จะเป็นเช่นไร
แอนดรูว์วิพากษ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศอย่างหนักต่อการที่มิได้รายงานให้ทั่วโลกรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยอย่างครบถ้วนในความเป็นจริง
ไม่มีประเทศใดในโลกที่คณะผู้สื่อข่าวต่างชาติหลีกเลี่ยง อย่างนบนอบที่จะรายงานข้อเท็จจริงพื้นฐานทั้งๆ ที่รู้แก่ใจว่ามันเป็นความจริง ไม่ว่าจีน หรือเกาหลีเหนือซึ่งจำกัดการรายงานข่าว และเสรีภาพหนังสือพิมพ์อย่างที่สุดแล้ว ยังเทียบไม่ได้กับความสามารถของอำมาตย์ไทยในการชักนำนักข่าวต่างชาติให้เซ็นเซอร์ตัวเองอย่างว่าง่าย...
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเป็นคนนำ และรายงานความจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และการเมืองร่วมสมัยของประเทศไทยอย่างให้เกียรติ และไม่ลำเอียง 

ทั้งนี้เนื่องจากแอนดรูว์เห็นว่าชนชั้นนำของไทยจะไม่ยินยอมให้มีการปฏิรูปมาตรา ๑๑๒ ในเวลาอันใกล้นี้ได้อย่างแน่นอน โดยตัวตนของกฏหมายเลสมาเจสตี้นี้ก็กำหนดไว้ขัดขวางต่อการกดดันให้เกิดการปฏิรูปด้วยมติมหาชนอยู่แล้ว ทั้งที่ในทางส่วนตัวคนไทยจำนวนมากต้องการให้เกิดขึ้น
แอนดรูว์ยกตัวอย่างคดีของอดีตนักวิจัยหุ้นคนไทยรายหนึ่ง เมื่อเดือนธันวาคมนายคธา พัชริยะพงษ์ ถูกตัดสินจำคุก ๖ ปี ลดโทษเหลือ ๔ ปีเพราะยอมรับสารภาพ จากการที่เขียนข้อความสองชิ้นแสดงความเห็นในเว็บบอร์ด ฟ้าเดียวกัน ว่าเป็นเรื่องของการ ตกเป็นเหยื่อเพียงเพราะกล่าวความจริงธรรมดาๆ และแสดงความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งสื่อมวลชนต่างประเทศมีส่วนในการสร้างบรรยากาศแห่งการ ยั้งไม่อยู่ของอำนาจกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยนี้ด้วย
โดยที่สโมสรนักข่าวต่างประเทศในไทยมีกำหนดประชุมใหญ่ประจำปีพร้อมทั้งเลือกตั้งคณะกรรมการบอร์ดชุดใหม่ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ถึงแม้เขาจะไม่ใช่สมาชิก และเป็นผู้ที่ต้องหนีคดีจากระบบยุติธรรมไทย แอนดรูว์เสนอให้ผู้เข้าประชุมพิจารณาแนวทางสามประการ
หนึ่ง การเลือกตั้งบอร์ดชุดใหม่ต้องคำนึงถึงหลักการที่ว่ารับไม่ได้ถ้ามีเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ต้องถูกตัดสินจำคุกนานกว่าทศวรรษ สอง คณะกรรมการชุดใหม่ต้องร่วมกันแสดงต่อทางการไทยว่าจะยืนหยัดปกป้อง และป้องกันผู้สื่อข่าวที่เสนอรายงานความจริงพื้นฐานในการเมืองไทย และสาม สโมสรควรกำหนดเป็น คำเตือนสุขภาพ ไว้สำหรับปะหน้ารายงานข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยทุกชิ้น อาทิว่า รายงานชิ้นนี้จัดทำขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น
ต่อมาได้มีการตอบโต้ต่อข้อเขียนของแอนดรูว์จากกรรมการบอร์ดสโมสรนักข่าวต่างชาติในไทยคนหนึ่ง ซึ่งแอนดรูว์นำลงในหน้าเฟชบุ๊คของเขาเพื่อตอบกลับ
จิม พอลลาร์ด เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และเป็นกรรมการอำนวยการคนหนึ่งของสโมสรนักข่าวต่างชาติ เขาเขียนตอบแอนดรูว์ว่า
ไม่ มีใครในหมู่พวกเราอยากเห็นคำพิพากษาอย่างนี้มาทำร้ายเสรีภาพในการแสดงออก และไม่ต้องสงสัยเลยว่าคำตัดสินต่อสมยศโดยมาตรฐานตะวันตกแล้วชวนให้น่าโต้ แย้งอย่างยิ่ง แต่...เป็นที่รู้กันดีว่ารัฐธรรมนูญของไทยไม่ได้มองการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน กษัตริย์อย่างเห็นแจ้งเท่าไรนัก ดังนั้นสิ่งที่เกิดกับสมยศเป็นเรื่องที่คาดหมายได้อย่างเต็มที่ ถึงขั้นที่ทำให้จินตนาการไปได้ว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ให้มาสู่จุดที่เป็น อยู่ก็ได้
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกรณีนี้ คณะกรรมการบอร์ดเอฟซีซีทีมีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่ายว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ส่วนหนึ่งเกิดจากความรู้สึกว่าเราไม่จำเป็นต้องสนองต่อคำพิพากษาศาลทุกเรื่อง หรือทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  แต่เป็นเพราะพวกเราบางคน รวมทั้งตัวผม ไม่ได้จัดอันดับสมยศว่าเป็นบุคคลที่มีคุณค่าควรแก่การให้ความเห็นใจมากมาย จากการที่เขาทำงานบนเศษกระดาษที่เชิดชูทักษิณ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์แท้จริง แต่เป็นนิตยสารการเมือง ที่สำหรับในประเทศไทยแล้วถือว่ามีวาระทางการเมือง
ไม่เพียงแต่เขาน่าจะรู้แก่ใจดีแล้วว่าจะต้องเจอเข้ากับผลสะท้อนทางลบจากศาล มีบางคนสงสัยเสียด้วยว่าเขาน่าจะได้รับคำมั่นเกื้อหนุนจากเจ้าของนิตยสาร และพวกแกนนำเสื้อแดง ในกรณีที่เขาถูกจับกุมดำเนินคดี
จิม พอลลาร์ด เขียนแสดงความเห็นต่อคดีสมยศ และข้อหามาตรา ๑๑๒ ในประเทศไทยอีกพอสมควร ซึ่งหาอ่าน (ภาษาอังกฤษ) ได้จากหน้าเฟชบุ๊คของแอนตรูว์เรื่อง การตอบโต้จากเอฟซีซีที แต่ข้อเขียนของจิมให้เหตุผลต่อการไม่ให้ความสำคัญแก่คดีสมยศไว้อย่างน่าทึ่งว่า
โดยเหตุที่กรรมการบอร์ดของสโมสรฯ บางคนเคยเข้าไปติดกับในคำเตือนของตำรวจต่อกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่อื้อฉาวทางการเมืองบางคดี คนเหล่านั้น (รวมทั้งตัวผม) เดี๋ยวนี้ต้องระวังตัวไม่เข้าไปติดร่างแหในเรื่องอย่างนี้ ถ้าหากไม่แน่ใจจริงๆ ว่ามีความชอบธรรมเพียงพอที่จะตอบสนอง
แอนดรูว์เขียนต่อท้ายตอบกลับอีกมากมายเป็นวิวาทะต่อความเห็นส่วนตัว และความรู้สึกของจิมในคดีสมยศ รวมทั้งประเด็น มาตรฐานตะวันตกที่ ว่าคำพิพากษาควรแก่การโต้แย้ง ซึ่งแท้จริงแล้วมันเป็นมาตรฐานเดียวของเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ทั่วทุก คาบสมุทรของโลก แอนดรูว์ยังได้ตอบคำสบประมาทร้ายแรงต่อนิตยสารที่สมยศเป็นบรรณาธิการ
แอนดรูว์กล่าวถึงการเชิดชูอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยนิตยสาร Voice of the Oppressed/Voice of Taksin ว่าคล้องจองกับความรู้สึกของเสียงส่วนใหญ่ประชาชนไทย เห็นได้จากชัยชนะเลือกตั้งของพรรคการเมืองค่ายทักษิณครั้งแล้วครั้งเล่าในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ และเดือนกรกฏาคม ๒๕๕๔ ขณะที่จิมเป็นเพียงบรรณาธิการผู้ช่วยในหนังสือพิมพ์ที่ผู้สังเกตุการณ์เรื่องประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกันแล้ว เพราะเดอะเนชั่นกลายเป็นกระบอกเสียงของฝ่ายกษัตริย์นิยมสุดโต่ง ดังปรากฏบ่อยๆ ในข้อเขียนของบรรณาธิการบริหาร ทนง ก้านทอง
จิมเกลียดทักษิณ แอนดรูว์โต้ในตอนหนึ่ง ผมเองก็ไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของเขานัก ดังปรากฏใน บทความเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ ของผม ไม่ว่าความเห็นของผมต่อทักษิณจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าเป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนไทยที่จะกำหนดข้อวินิจฉัยด้วยตนเอง การที่จิมกล่าวหานิตยสารที่สนับสนุนทักษิณว่า หัวรุนแรง แสดงว่าจิมไม่มีความเข้าใจเอาเสียเลยต่อความมุ่งมาตรปรารถนาของผู้ใช้สิทธิออกเสียงชาวไทย
ต่อการที่จิมอ้างว่าคำตัดสินคดีสมยศเป็นเรื่องคาดหมายกันไว้แล้วอย่างกว้างขวางว่าจะเป็นเช่นนั้น แอนดรูว์ค้านว่า เหลวไหลสมยศติดคุกบนความผิดของบทความสองชิ้นที่เขานอกจากไม่ได้เขียนแล้ว ยังเป็นบทความที่ไม่ได้ข่มขู่ หรือให้ร้ายต่อเชื้อพระวงศ์แต่อย่างใด หลักฐานเอาผิดเขาอ่อนมากอย่างเห็นได้ชัด
ทว่ากฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปฏิบัติการโดยสร้างตัวอย่างจากผู้ที่โชคร้ายบางคนเพื่อฝังความหวาดกลัวในหัวของคนอื่นๆ ทั้งหลาย โทรเลขวิกิลี้คปี ๒๕๕๒ ชี้ให้เห็นถึงยุทธวิธี 'เชือดไก่ให้ลิงดู' คนที่โชคร้ายกลายเป็นเหยื่อจะพบตัวเองตกอยู่ในภาวะฝันร้ายทางกฏหมายแบบคัฟคาเอสก์ ซึ่งการขอประกันตัวถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเชื่อแน่ได้ว่าจะต้องถูกพิพากษาให้ผิด คนที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ยอมรับสารภาพเพื่อจะได้ลดหย่อนผ่อนโทษ แต่สมยศแสดงพลังใจอันแน่วแน่ของเขาที่จะไม่ยอมรับเช่นนั้น
ท้ายที่สุดแอนดรูว์กล่าวถึงความกล้าหาญของนักศึกษาซึ่งแสดงการสนับสนุนสมยศในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ดังที่การไล่ล่าอันน่าเกลียดต่อนักศึกษาหญิงที่ชื่อเล่นว่า ก้านธูป เคยประสพ เมื่อปรากฏว่านักศึกษาที่คัดค้านกฏหมายหมิ่นฯ จะพบกับการข่มเหงอย่างน่ากลัวภยันตราย ร้ายแรงยิ่งกว่านักข่าวต่างชาติคนใดเคยได้เผชิญ แต่นักศึกษาเหล่านั้นยังกล้าเสี่ยงไม่ขี้ขลาด ต่างกับที่เอฟซีซีทีเป็น
  
 *หมายเหตุ :Foreign Correspondents’ Club of Thailand ผู้เขียนแปลชื่อต่างไปจากชื่อทางการในภาษาไทยที่ว่า สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย เพื่อให้ตรงกับคำในภาษาอังกฤษป้องกันความสับสนในที่นี้ เนื่องจากเนื้อความต่อไปจะมีการกล่าวถึงความแตกต่างของคำ Club กับ Association

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น