แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อันเนื่องมาจาก ในหลวง กับ จอมพลสฤษดิ์ ของกลุ่มประชาชนทนไม่ไหว

ที่มา Thai E-News

 3 กุมภาพันธ์ 2556
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์


เพียงไม่ถึง 50 ปี ประวัติศาสตร์ที่มีผู้ร่วมจดจำมากมายเกี่ยวกับความเป็นพ่อขุนเผด็จการของนาย พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ถูกหลงลืมในหมู่คนคลั่งเจ้า หลงลืมว่าในฐานะนายทหาร จอมพลสฤษดิ์ ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลจอมพลป. เมื่อปี 2500  และยึดอำนาจและล้มรัฐธรรมอีกครั้งพร้อมตั้งตัวเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2501 ที่บัญญัติธรรมนูญ มอบอำนาจให้ตัวเองสั่งประหารชีวิตใครก็ได้
ในฐานะนักการเมือง ไม่นานหลังการเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เกิด คดีแย่งชิงทรัพย์สินระหว่างลูกๆ และเมียๆ ของเขาจนเป็นข่าวดัง และเปิดโปงทรัพย์สินและที่ดินจำนวนมากมายรวมกันกว่า 2,000 ล้านบาท จนมีการกดดันให้รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ยึดคืนมาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน (ยึดคืนมาได้เพียงประมาณ 600 ล้านบาท)


ในหลวง กับ จอมพลสฤษดิ์
ที่มา กลุ่มประชาชนทนไม่ไหว


จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เจ้าของวาทะอมตะ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" และ "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"

ก่อนวันอสัญกรรมเมื่อวันที่ ๘ ธค. ๒๕๐๖ ยังคงตรากตรำทำงานอย่างหนักในฐานะผู้นำประเทศ โดยไม่ยอมพักผ่อนตามความเห็นของแพทย์ รวมถึงการทำหน้าที่ประธานในพิธี กระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงไชยเฉลิมพล ที่ต้องยืนท่ามกลางแดดนานถึง ๓ ชั่วโมง

โดยกล่าวว่า "สัญญากับลูกน้องไว้แล้วว่าจะไป ถึงจะตายก็ขอไปตายกับทหาร" ผลของการตรากตรำได้ทำให้อาการป่วยทรุดหนักลง จนต้องไปพักรักษาตัวที่แหลมแท่น บางแสน

และในวันที่ ๒๗ พย. ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงเยี่ยม จอมพลสฤษดิ์ ได้ขอพระบรมราชานุญาตจับพระหัตถ์ของพระองค์นำมาทูนไว้เหนือศีรษะ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความจงรักภักดีจนวาระสุดท้ายของชีวิต

ภาพที่ปรากฏต่อสายตาชาวไทยในเวลานั้น ได้สร้างความประทับใจไปทั่วประเทศ...

ขอบคุณข้อมูลภาพ นายบวร ยสินทร แกนนำกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน หนึ่งในเครือข่ายกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามและนายดินสอไม
้ ณ. ไข่มุกอันดามันค่ะ
* * * * * * * * * 
ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ให้ข้อมูลตอบโต้ความเห็นนี้

ผมล่ะขำไม่หาย ที่จู่ๆ คนรักเจ้าบางคน เกิดแสดงความชืนชมสฤษดิ์ ขึ้นมา (แหม อย่างว่านะ พวกนี้ เห็นภาพ สฤษดิ์ ใกล้ชิดในหลวง ก่อนตาย เอาพระหัตถ์มาวางไว้ทีหัว ก็ซาบซึ้งกันใหญ่ ดูตัวอย่างที่นี่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=408575175900428&set=a.336061146485165.77241.336041063153840&type=1&ref=nf )

ผมเอารูป นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม 2508 นี้ มาให้ดูนะครับ (ยังมี นสพ.ที่ลงข่าวทำนองนี้ ในช่วงนั้นอีกเยอะ นี่เอาเป็นตัวอย่าง)

พาดหัวข่าว

"โนติ๊ส อนุสฤษดิ์ 60 คน!
ให้อพยพจากบ้านภายในสามวัน"

เรื่องของเรือ่ง คือ หลังสฤษดิ์ตาย (ธันวาคม 2506) ก็เริ่มมีการเปิดเผยว่า สฤษดิ์ คอรัปชั่นเงินหลวงไปมหาศาล ไม่เพียงสำหรับตัวเอง แต่ทีสำคัญคือ เอาไป "เลี้ยงดู" บรรดา "อนุภรรยา" จำนวนมาก (นสพ. สมัยนั้น เรียกกันวา "อนุสฤษดิ์" บ้าง "ม่าย ผ้าขะม้าแดง" (ฉายาสฤษดิ์ "จอมพล ผ้าขะม้าแดง") บ้าง - ความจริง หญิงสาวเหล่านี้หลายคน ไม่มีทางเลือก คือ ใครหน้าตาดี สมัยนั้น จะถูก นำตัวไป "ส่ง" ให้สฤษดิ์ รวมถึง ดารามีชื่อบางคนด้วย)

ปรากฏว่า เมือ่เรืองอื้อฉาวพวกนี้ เปิดเผยออกมา ก็มีเสียงเรียกร้องกันเยอะ จนรัฐบาลถนอม ทนการกดดันไม่ไหว ต้องมีคำสังให้ยึดทรัพย์สฤษดิ์

ข่าวที่ เดลินิวส์ พาดหัวนี้ คือ ทาง กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่ องยึดทรัพย์สฤษดิ์ ได้พบว่า บรรดาทรัพย์สินของสฤษดิ์ (ทีได้จากการคอรัปชั่น) นี้ มีบ้านที่ซื้อไว้ให้ "อนุ" จำนวนประมาณ 60 คน (คนละหลัง ก็ 60 หลัง) อยู่ด้วย

ดังนั้น ทางกระทรวง จึงมี "โนติ๊ส" หรือ ใบเตือน ไปยัง "อนุ" เหล่านี้ ให้อพยพ ออกจากบ้านเหล่านั้น ซึงบัดนี้ ได้กลายมาเป็นทรัพย์สินของราชการแล้ว
* * * * * * * * *

ข้อมูลเพิ่มเติมโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
ใน คืนนั้นเอง เมื่อรถถังได้ปรากฏตามมุมสําคัญๆในกรุงเทพฯ สําหรับท่าทีของกลุ่มอนุรักษ์กษัตริย์นิยมอย่างพระยาศรีวิสารวาจา -องคมนตรี เมื่อรู้ว่าเกิดการรัฐประหาร คือ เสียงหัวเราะ [25] ไม่นานจากนั้น วิทยุได้ประกาศพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ที ่ทรงแต่งตั ้งให้อมพล สฤษดิ ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร [26] ทั้งนี้พระบรมราชโองการฉบับนี้ ยังคงเป็นปัญหาถกเถียงถึงอํานาจของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเนื่องจาก เป็นการกระทําที ่ปราศจากผู้รับสนองพระราชโองการอันละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ 2495 ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี ้มิได้ถูกยกเลิก (ที่มา รัฐประหาร พ.ศ. 2500 โดย ณัฐพล ใจจริง และ รศ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์)
* * * * * * * * *

28 มกราคม พ.ศ. 2502มาตรา 7 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นยึดอำนาจยกเลิกรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาลพวกเดียวกัน คือ พลโทถนอม กิตติขจร มาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 มาถึงวันประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฯ นี้ ห่างกัน 90 กว่าวัน เมืองไทยร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกนานขนาดนี้ เป็นเวลา 90 วัน ที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับคณะปกครองโดยใช้ประกาศคณะปฏิวัติ

ดัง นั้นธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 จึงมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  หัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับนี้บัญญัติเอาไว้ว่า

“ใน ระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระ ทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่ เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักรให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่ง การ หรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบ ด้วยกฎหมาย"

อ่านเพิ่มเติม: 28 มกราคม พ.ศ. 2502 โดย  ศ.นรนิต เศรษฐบุตร
* * * * * * * * *
ย้อนรอยคดียึดทรัพย์-นักการเมืองร่ำรวยผิดปกติ
การยึดทรัพย์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกฯ อาศัยมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พ.ศ 2507 โดยนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร ในขณะนั้น มีคำสั่งให้ทรัพย์สินกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และทรัพย์สินในกองมรดกของท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ให้ตกเป็นของรัฐ
โดยอ้างเหตุผลในการยึดทรัพย์ว่า โดยปรากฏชัดเจนปราศจากข้อสงสัยว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขณะยังมีชีวิตอยู่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในทางราชการโดยมิชอบกระทำการเบียดบัง และยักยอกทรัพย์ของรัฐไปหลายครั้งมีจำนวนมากถึง 604,551,276.62 บาท การกระทำดังกล่าวนี้มีผลเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร (ที่มา คมชัดลึก: ย้อนรอยคดียึดทรัพย์-นักการเมืองร่ำรวยผิดปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น