แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เสวนา: ‘ประชาคมอาเซียน’ ผลกระทบต่อ ‘ภาคประชาสังคม’

ที่มา ประชาไท


 
เตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2015 “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” บนก้าวย่างสู่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งที่ภาคประชาสังคมต้องเตรียมพร้อมรับมือคืออะไร การเปิดเสรีทางการค้า การรวมกันเป็นตลาดเดียว การหมุนเวียนสินค้าทางการเกษตร และอีกหลากหลายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอาเซียนภายใต้กระแสทุนนิยมโลก นั่นอาจไม่ได้มีเพียงภาพที่สวยงามเสมอไป  
 
เมื่อวันที่ 13 ก.พ.56 ภาควิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดสัมมนารัฐศาสตร์รังสิตวิชาการ 2556 ‘อาเซียนภิวัตน์’ (ASEANIZATION) ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก โดยมีการแตกประเด็นเสวนาย่อยในเรื่อง ‘ผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อภาคประชาสังคม’
 
 
‘อาเซียน’ ในฐานะสายพานการผลิต มองมุมประเทศพัฒนา
 
กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า อาเซียนอาจมองได้ในฐานะตลาดที่มีผู้บริโภคถึง 600 ล้านคน แต่ในสายตากลุ่มประเทศ G8 หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เราคือผู้รับจ้างผลิต ยิ่งเมื่อเราเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภาพสายพานการผลิตสินค้าจากประเทศหนึ่งส่งต่อไปยังอีกประเทศหนึ่งก็จะชัดเจน ขึ้น
 
ในส่วนของไทยที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำการส่งออกสินค้าเกษตรที่ติดอันดับ โลก ทั้งมันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ไก่และกุ้ง อย่างไรก็ตามสินค้าเหล่านี้แม้ผลิตจำนวนมากแต่มูลค่าไม่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าเพื่อการลงทุนที่เรานำเข้ามาจำนวนมาก และสัดส่วนเม็ดเงินที่มีผลต่อ GDP ของประเทศก็มาจากการส่งออกสินค้าที่รับจ้างผลิตและการบริการ ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ
 
อย่างไรก็ตาม ฐานทรัพยากรทางชีวภาพที่อยู่ในซีกโลกตะวันออกจะเป็นขุมทรัพย์ในอนาคต
 
‘เปิดเสรีการลงทุนภาคเกษตร’ เปิดทางขุดขุมทรัพย์สำหรับอนาคต
 
กิ่งกร กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของโลกนั้นมักเกิดพร้อมๆ กับวิกฤติพลังงานและวิกฤติอาหาร โดยวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2551 นั้นน้ำมันมีราคาพุ่งขึ้นสูงถึงกว่า 40 บาทต่อลิตร ขณะที่คนประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ในครั้งนั้นธนาคารโลกได้ทำนายว่าวิกฤติดังกล่าวจะกลายเป็นวิกฤติอาหารถาวร เราจะเข้าถึงอาหารได้ยากขึ้นเรื่อย ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง กระบวนการแย่งยึดที่ดินได้เกิดขึ้นอย่างมหาศาล คาดการณ์ว่ามีจำนวนถึงกว่า 300 ล้านไร่ ทั่วโลก ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากความตระหนักว่าต่อให้มีเงินก็ไม่ได้หมายความว่าจะ ซื่ออาหารได้ในช่วงภาวะวิกฤติ
 
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายประเทศต้องปรับตัว ยกตัวอย่าง สิงคโปร์มีการส่งเสริมการลงทุนทำเกษตรในพื้นที่สมบูรณ์ บางประเทศมีการนำกองทุนบำเหน็จบำนาญไปกว้านซื้อที่ดินและซื้อผลผลิตทางการ เกษตรล่วงหน้า ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลไกราคาสินค้าเกษตรผิดเพี้ยน 
 
กิ่งกร กล่าวถึงการเปิดเสรีสินค้าว่า ที่ผ่านมามีการทยอยทำมานานแล้ว ตั้งแต่ AFTA หรือเขตการค้าเสรีอาเซียน เมื่อปี 2538 มาจนถึงปัจจุบันจึงค่อนข้างเสรีอยู่แล้ว และตรงนี้ส่งผลทำให้การตัดสินใจของรัฐอยู่ภายใต้ทุน ไม่ได้เป็นการตัดสินใจโดยอิสระ
 
แต่ข้อตกลงของอาเซียนมีสิ่งที่น่าจับตาคือ ‘การเปิดเสรีการลงทุนในภาคเกษตร’ ทั้งการผลิต เลี้ยงสัตว์ ประมง เพาะปลูก ไปจนถึงพันธุ์พืช-พันธุ์สัตว์ และเหมืองแร่
 
“กิจกรรมทางการเกษตรตรงนี้เป็นขุมทรัพย์การลงทุนในอนาคต โดยเฉพาะการผลิตพันธุ์พืช-พันธุ์สัตว์ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิต การเปิดเสรีการลงทุนในภาคเกษตรแสดงถึงการที่ทุนต้องการเคลื่อนย้ายการลงทุน ในเรื่องนี้อย่างเสรี” กิ่งกรกล่าว
 
รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงแผนการผลิตในอาเซียนว่า มีการวางให้ลาวและพม่าเป็นฐานการผลิตทางการเกษตร ส่วนไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นประเทศที่ทำการผลิตขั้นที่ 2 คือทำการแปรรูปและผลิตปัจจัยการผลิต เพื่อป้อนประชากรในประเทศที่ทำข้อตกลงทางการค้ากับอาเซียน ทั้งอาเซียน+3 +6 และ +10 จำนวนกว่า 3,200 ล้านคน ทั้งนี้เพราะภูมิภาคนี้ยังมีทรัพยากรชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ เป็น ‘ประเทศหน้าดินใหม่’ ขณะที่แอฟริกาแห้งแล้งเกินไป ส่วนลาตินอเมริกาทรัพยากรชีวภาพถูกใช้จนพรุนไปหมดแล้ว
 
การป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ตรงนี้ทำได้โดยใช้ภาษี แต่ไทยกลับเปิดหมดทุกอย่าง ไม่มีการสงวนสิทธิ์ในสินค้าที่อ่อนไหว เพราะประเมินว่าเราได้เปรียบทางการค้า และคิดว่าจะส่งผลดีต่อการไหลเวียนของวัตถุดิบในการผลิต เช่น ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
 
แต่ในทางตรงข้าม จากข้อมูลที่มีกลับพบว่าไทยเก่งเพียงในเชิงปริมาณแต่ไม่มีผลิตภาพ ยกตัวอย่าง การปลูกข้าว ของไทยนั้นมีผลผลิตต่อไร่ต่ำ โดยอยู่ที่ 440 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นอันดับที่ 7 ของอาเซียน ขณะที่ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงกว่าเพื่อนบ้านมาก อย่างไรก็ตามไทยก็ยังมีความได้เปรียบในเรื่องปริมาณพื้นที่ในการผลิต และรอบการผลิตที่สูงกว่าซึ่งก็ทำให้คุณภาพของข้าวลดลงด้วย
 
กิ่งกร กล่าวด้วยว่า กระเทียมเป็นตัวอย่างของผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ที่ผลผลิตจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดภายในประเทศ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงต่อพืชผลที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศที่ต้องแข่ง ขันอย่างเข้มข้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนล้วนแต่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งก็คงจะต้องแข่งขันจนตายกันไปข้างหนึ่ง
 
นอกจากนี้ การเปิดเสรีการค้าการลงทุนกับยุโรป (FTA) และอเมริกา (TPP) ที่กำลังจะมีขึ้น บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่อย่าง ซินเจนทา ดูปองท์ และมอนซานโต้ ฯลฯ จะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ โดยบริษัทเหล่านี้จะร่วมกับนักลงทุนในภูมิภาคเข้ามาแย่งยึดเมล็ดพันธุ์ซึ่ง เป็นหัวใจในการผลิตทางการเกษตรและยังเป็นหัวใจของโลกในอนาคตไป ตรงนี้จะทำให้เกษตรกรสูญเสียความสามารถในการผลิตและเปิดทางให้บริษัทยักษ์ ใหญ่ของโลกเข้ามาครอบครองทรัพยากรพันธุกรรม
 
ฝากความหวัง ‘คนรุ่นใหม่’ มองปัญหากว้าง ตื่นตัวเป็นพลเมืองที่มีสิทธิมีเสียง
 
ในส่วนของข้อเสนอ กิ่งกร กล่าวว่า ควรมีการปรับโครงสร้างการผลิตภายในให้เข้มแข็ง พัฒนาผลิตภาพการผลิต ส่งเสริมการชลประทานให้ครอบคลุม และให้มีการปฏิรูปที่ดิน ตรงนี้จะเป็นทางรอดของเกษตรกร คนกิน และเศรษฐกิจของประเทศด้วย นอกจากนี้ รัฐควรปิดกันนักลงทุนบ้าง ในขณะเดียวกันก็ควรส่งเสริมวิสาหกิจของเกษตรกรรายย่อยเพื่อให้สามารถไปสู้ กับทุนได้
 
กิ่งกร ยังได้ฝากถึงคนรุ่นใหม่ว่า อยากให้มองปัญหาให้กว้างไปถึงในบริบทของโลก ใช้กระบวนการของโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ ศึกษาข้อมูลในฐานะพลเมืองของประเทศ ของอาเซียน และของโลก เมื่อโลกกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤติของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปิดเสรีทางการค้าก่อผลกระทบจริงๆ และใกล้ตัวเรามากขึ้น คนรุ่นใหม่จะลุกขึ้นมาทำตัวเองให้เป็นพลเมืองที่มีสิทธิมีเสียง แสดงความตื่นตัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง  
 
“เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ ทำความเข้าใจต่อโลก ภูมิภาค  และท้องถิ่นที่ตนเองอยู่” กิ่งกรฝากความหวังต่อคนรุ่นใหม่
 
หนุนแนวคิดดูแล ‘ลูกของแผ่นดิน’ คุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ

อิฐ บูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวให้ข้อมูลว่า ตัวเลขสินค้าเข้าและสินค้าออก ปี 2555 จากเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ พบว่าสินค้านำเข้าอันดับ 1-5 ของไทย คือ 1.น้ำมันดิบ 2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 4.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และ 5.เคมีภัณฑ์ ตามลำดับ เหล่านี้ล้วนเป็นสินค้าเพื่อการลงทุน
 
ขณะที่สินค้าส่งออกอันดับต้นๆ ของไทยส่วนใหญ่ล้วนเป็นผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรม โดยมีน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ในอันดับ 4 และยางพาราที่เป็นสินค้าภาคเกษตรอยู่ใน อันดับ 5
 
น้ำมันสำเร็จรูปที่ไทยส่งออกนั้น ผลิตได้จาก 2 ส่วนคือน้ำมันดิบน้ำเข้าและโรงกลั่น 6 แห่งที่มีอยู่ภายในประเทศ โดยได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี (BOI) การนำเข้าวัตถุดิบ แต่ราคาขายสำหรับผู้บริโภคในประเทศกลับไม่ได้ต่ำลง และมีการตั้งราคาขายตามราคาสิงคโปร์ ส่วนน้ำมันที่ส่งออกไปยังสิงคโปร์กลับไม่บวกค่าขนส่งโดยให้เหตุผลว่าเพื่อ การแข่งขันทางการตลาด ส่งผลให้น้ำมันสำเร็จรูปในไทยราคาแพง ทั้งที่เรามีความสามารถผลิตเพื่อส่งออกได้
 
หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ยกตัวอย่างแนวคิดของมาเลเซีย ในเรื่องการปกป้องคุ้มครองลูกของแผ่นดิน โดยรัฐดูแลให้คนในประเทศได้ใช้สินค้าราคาถูกกว่าคนภายนอก ซึ่งไม่ใช่การอุดหนุนเงินของคนกลุ่มหนึ่งไปให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยเทียบกับการที่ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปให้พม่าเป็นอันดับ 10 แต่คนพม่ากลับได้ใช้น้ำมันถูกกว่าคนไทย
 
อิฐบูรณ์ กล่าวว่า การรวมตัวเป็น  AEC ที่มีการพูดถึงข้อดีว่าสินค้าจะไหลเวียนเปลี่ยนผ่าน แต่นั่นจะไม่รวมไปถึงน้ำมันสำเร็จรูป เพราะรัฐไทยมีการสร้างกำแพงโดยมาตรการพิเศษ จากการที่เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตน้ำมันภายใต้มาตรฐานยู โรทู แต่โรงกลั่นในไทยใช้มาตรฐานยูโรโฟร์เพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสูงก ว่า ทำให้น้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานนี้ไม่สามารถเข้ามาขายได้ ตรงนี้คือมาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งที่คนทั่วไปต้องการซื้อน้ำมันราคาถูก
 
“เมื่อเศรษฐกิจมีการแข่งขันสูงขึ้น ประชาชนแทนที่จะได้ประโยชน์ แต่ภาคธุรกิจเห็นเป็นลบกีดกันไม่ให้ประชาชนได้ประโยชน์จากการแข่งขัน” หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคกล่าวถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
 
ชี้ ‘ทุน’ มีอำนาจเหนือรัฐ ยิ่งมี ‘AEC’ รัฐยิ่งจำกัดกรอบอำนาจ
 
อิฐบูรณ์ กล่าวต่อมาว่า ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนมีทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง และกลไกลตลาดเสรีแบบ AEC รวมทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐ สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกออกแบบไว้อยู่แล้วโดยคนกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลของโลก การรวมตัวของอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าสู่ประชาคมโลก ซึ่งจะก้าวสู่ลัทธิจักรวรรดินิยมโดยที่ไม่ต้องมีการสู้รบเพื่อยึดครอง อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องถึงผลดี แต่สิ่งที่มองไม่เห็นคือมาตรการที่ค่อยเป็นค่อยไป และปัญหาที่ยังไม่ได้มีการเตรียมการแก้ไข
 
ในส่วนของประเทศไทย อิฐบูรณ์ กล่าวว่า กฎหมายเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอย่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้ บริโภคถูกดอง การเข้าสู่ AEC ทำให้มีการปลดล็อคทางเศรษฐกิจ การส่งออก-นำเข้า แต่กลับไม่ปลดล็อคการมีส่วนร่วม การมีปากมีเสียงของประชาชน
 
“ขอย้ำว่าทุนมีอำนาจเหนือรัฐในทุกด้าน โดยเฉพาในการเข้าถึงการจัดสรรทรัพยากร และ AEC จะยิ่งทำให้รัฐจำกัดกรอบอำนาจของตัวเองและเปิดให้ทุนต่างชาติเข้าถึง ทรัพยากร ส่งผลให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมและจะเกิดการแย่งชิงทรัพยากร ขึ้นในทุกพื้นที่” อิฐบูรณ์กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น