แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เสื้อแดง จี้อธิบดีศาลฯ ขอโทษ-ลาออก หลังขู่เอาผิดผู้วิจารณ์คำตัดสิน “สมยศ”

ที่มา Thai E-News

 5 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา ประชาไท  "เสื้อแดง จี้อธิบดีศาลฯ ขอโทษ-ลาออก หลังขู่เอาผิดผู้วิจารณ์คำตัดสิน “สมยศ”"


แนวร่วมประชาธิปไตยภาคประชาชนและแดงอิสระ 26 จังหวัด ยื่น จม.เปิดผนึก จี้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ขอโทษ-ลาออก กรณีขู่เอาผิดฐานละเมิดอำนาจศาลผู้วิจารณ์ผลการตัดสินคดี “สมยศ” ชี้เป็นการคุกคามต่อเสรีภาพทางความคิดในการตรวจสอบฝ่ายตุลาการ ยันประชาชนทุกคนต้องวิจารณ์ศาลได้ เสนอปฏิรูปศาลเป็นระบบลูกขุน


ภาพผู้ชุมนุมชูป้ายบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ


4 ก.พ.56 เวลา 11.00 น. เสื้อแดงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยภาคประชาชน(นปป.)และเสื้อแดงอิสระ 26 จังหวัด ประมาณ 150 คน จัดกิจกรรมในชื่อ “ยุทธการ ยกพลเข้าเมืองหลวง ทวงคืนอำนาจอธิปไตย(ทางศาล)” รวมตัวกันที่หน้าห้างเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ริมถนนพหลโยธิน จากนั้นเวลา 13.10 น. ได้เดินทางมาที่หน้าศาลอาญา รัชดา เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเรียกร้องให้ออกมาแถลงขอโทษหรือลาออกจากการที่ออกมา โต้และขู่เอาผิดฐานละเมิดอำนาจศาลผู้ที่วิจารณ์ผลการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกลุ่มดังกล่าวชี้ว่าพฤติกรรมของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเป็นการคุกคามต่อ เสรีภาพทางความคิดในการตรวจสอบการดำเนินงานของฝ่ายตุลาการ

หลังจาก ยื่นจดหมายกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แล้ว กลุ่มดังกล่าวได้เคลื่อนมาชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และยุติการชุมนุมในเวลา 16.10 น.
นายอนุสรณ์ สมิทธ์กุล ตัวแทนแนวร่วมประชาธิปไตยภาคประชาชน(นปป)

นายอนุสรณ์ สมิทธ์กุล ตัวแทนแนวร่วมประชาธิปไตยภาคประชาชน(นปป.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมนี้เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกเรียกร้อง ให้อธิบดีศาลอาญาขอโทษต่อประชาชนหรือไม่ก็ลาออก กรณีจากบทคำสัมภาษณ์ของท่านที่กล่าวต่อสื่อมวลชน ถือเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการวิจารณ์การทำงานของฝ่ายตุลาการ เช่น ที่ออกมากล่าวว่าคนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้นั้นต้องไม่มีอคติ นั่นหมายความว่าจะยอมรับการวิจารณ์ในทางที่เห็นด้วยอย่างเดียว เท่ากับปิดปากประชาชนที่ไม่เห็นด้วย

“คำที่ท่านอ้างว่าถ้าแสดงความ เห็นในทางวิชาการจะไม่เอาความนี้ ก็เท่ากับว่าการใช้เสรีภาพนั้นไม่เท่าเทียม ประชาชนทั่วไปย่อมจะมีสิทธิเสรีภาพในการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจ ของฝ่ายตุลาการ และการใช้อำนาจในศาลนั้นก็ล่วงแล้ว หมายความว่ามีผลการพิจารณ์คดีออกมาสิ้นสุดแล้ว ดังนั้นการใช้เสรีภาพเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่ท่านออกมาพูดว่าคนที่จะวิพากษ์วิจารณ์จะต้องเป็นนักวิชาการเท่านั้น เท่ากับไปปิดปากชาวบ้าน คนไม่รู้หนังสือ หรือคนที่มีการศึกษาที่แตกต่างออกไป จึงไม่มีสิทธิจะมาพูดถึงศาล เรื่องนี้ผมว่ามันขัดต่อหลักอธิปไตยและเสรีภาพของประชาชน” นายอนุสรณ์ กล่าว

นายอนุสรณ์ สมิทธ์กุล ได้กล่าวปราศรัยกับผู้ร่วมชุมนุมและผู้ที่สัญจรผ่านอนุสาวรีย์ชัยฯ ด้วยว่า “ถ้าประชาชนไม่ออกมายันการรุกคืบของการใช้อำนาจฝ่ายตุลาการ ประชาชนเราก็จะเสียพื้นที่ไปเรื่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราทุกคนต้องลุกขึ้นมายันกับอำนาจตุลาการนี้”
ภาพผู้ชุมนุมชูป้ายบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

นายนิธิวัต วรรณศิริ นักร้องนำวงไฟเย็น ผู้ร่วมกิจกรรมกล่าวปราศรัยด้วยว่า จากคำพิพากษา สมยศ พฤกษาเกษมสุข มันบ่งบอกอะไรบางอย่างได้ชัดเจน มันไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลก ขังคนคิดต่างเป็นสิบๆ ปี คดีค้ายา คดีฉ้อโกง ได้ประกันทันที แต่ สมยศ เป็นบรรณาธิการ เอาบทความมาลง โดนตัดสินจำคุก 11 ปี องค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลกต่างประณามคำพิพากษานี้ แต่ฟรีทีวีสื่อไทยไม่มีออก มีพี่น้องคนไหนได้เห็นข่าว

นายนิธิวัต ได้เสนอการปฏิรูประบบศาลให้เป็นแบบระบบลูกขุน โดยเขามองว่า อำนาจของตุลาการต้องยึดโยงกับประชาชน ซึ่งระบบลูกขุนมันเป็นการที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเลือกผู้ทำหน้าที่ เข้าไปมีส่วนร่วมออกความคิดเห็นและก็เรื่องหลักกฎหมาย ประชาชนมีโอกาสเลือกก็ดีกว่าประชาชนไม่มีโอกาสเลือก

“โดยทั่วไป สังคมจะไปตีความว่าเป็นการละเมิดพระราชอำนาจ แต่ว่าโดยหลักเริ่มต้นที่การมีพระราชอำนาจ คือการใช้พระราชอำนาจแทนประชาชนทั้งประเทศ แต่ในเมื่อปัจจุบันประชาชนเริ่มออกมา เริ่มรู้สึกว่า ศาลทำหน้าที่แปลกไป หรือไม่อย่างไร หรือว่าไม่ยึดโยงในหลักการ ที่นี้เราก็ตั้งคำถามว่า ควรจะย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นไหม คือในเมื่ออำนาจมาจากประชาชน ก็ให้ประชาชนมีสิทธิได้ร่วมใช้อำนาจอธิปไตยนี้โดยตรงดีกว่าคือเอาอะไรมาบอก ว่าจากการที่เราไม่มีโอกาสได้เลือก ดีกว่า ประชาชนมีโอกาสได้เลือก” นายนิธิวัต กล่าว

สำหรับกรณีนี้ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้ออกมาแสดงว่าเห็นกรณีมีการเผยแพร่แถลงการณ์ของสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย และคณะเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย รวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ของคนในวงกว้างในเว็บไซต์และโซเชียลเน็ตเวิร์ก เกี่ยวกับผลการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลย อดีต บก.นิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ คดีหมิ่นเบื้องสูง โดยนายทวี ได้กล่าวว่า "การจะวิจารณ์องค์กรตุลาการของไทยสามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นไปอย่างสุจริต อย่ามีอคติ และเป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการ ศาลก็จะไม่ถือความ แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงมีอคติโจมตีสถาบันตุลาการอย่างไม่เป็น ธรรมศาลก็จะออกหมายเรียกมาไต่สวนเพราะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งขณะนี้กำลังให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรื่องดังกล่าวที่ปรากฏทาง เว็บไซต์ ซึ่งการที่ศาลตัดสินลงโทษนายสมยศ กระทงละ 5 ปี ถือว่าเหมาะสมแล้วอยู่ระหว่างอัตราโทษต่ำสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ 3 ปี และสูงสุดคือ 15 ปี"

จดหมายเปิดผนึกถึงนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา :


ภาพบรรยากาศกิจกรรม :


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น