2 กุมภาพันธ์ 2556
บทความแปลโดย Doungchampa Spencer
อ้างอิง: Memorandum From the President’s Assistant for National Security Affairs (Scowcroft) to President Ford, Washington, April 20, 1976.
บันทึก จากผู้ช่วยฝ่ายบัญชาการกองกำลังรักษาความมั่นคงภายใน (สโกรครอฟท์) ของประธานาธิบดี ถึงประธานาธิบดีฟอร์ด, กรุงวอชิงตัน, ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519
บันทึก
ทำเนียบขาว
วอชิงตัน
20 เมษายน 2519
บันทึกถึงประธานาธิบดี
จาก: เบรนท์ สโกรครอฟท์ (ตัวย่อ บีเอส)
หัวข้อ: บันทึกการวิเคราะห์ของกองกำลังรักษาความมั่นคงภายใน (National Security Study Memorandum หรือ NSSM) หมายเลข 225: นโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย
ในการตอบรับต่อบันทึกการวิเคราะห์ NSSM 225 การทบทวนเรื่องนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทยได้สิ้นสุดลง แล้วอย่างสมบูรณ์ ผลของการค้นคว้าจากหลายสำนักงาน (ดูรายงานแถบ B และการทบทวนวิเคราะห์จากทางสำนักงานที่แถบ D, E และ F) ได้สรุปความให้ทราบถึงผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและจุดประสงค์หลัก และแสดงให้เห็นถึงช่องทางเลือกต่อนโยบาย เพื่อบรรลุถึงความสำเร็จต่อเป้าหมายเหล่านั้น (ท่านได้ทำการตัดสินใจเรียบร้อยแล้วในคำถามเกี่ยวกับนโยบายของการเก็บกอง กำลังทางทหารและสถานที่เกี่ยวกับกิจการข่าวกรอง ยังคงให้อยู่ในประเทศไทยหลังจากวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2519 (ดูเอกสาร แถบ C))
สถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทย:
ในปฎิกิริยาสะท้อนที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากความกดดันทางการเมืองภายในประเทศ ทางรัฐบาลไทยได้ขอร้องให้เราถอนกองกำลังทหารทั้งหมดออกไปจากประเทศไทยภายใน วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 4 เมษายน นายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์) คึกฤทธิ์ (ปราโมช) ได้สูญเสียตำแหน่งของเขาและนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะขึ้นมามีอำนาจแทน ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ก็ตาม ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ในกรุงเทพพิจารณาว่า การเปลี่ยนการตัดสินใจของฝ่ายไทยเกี่ยวกับการถอนกองกำลังทหารนั้น เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าเรื่องอย่างนั้นจะเกิดขึ้น ทางฝ่ายสถานทูตเชื่อว่า การที่กองกำลังของเรายังคงอยู่ที่นั่นจะจุดประกายให้เกิดการประท้วงอย่าง รุนแรงในกรุงเทพ ซึ่งก็เป็นการบังคับให้เราถอนตัวออกไปเช่นเดียวกัน ถ้ารัฐบาลผสมชุดใหม่ พิสูจน์ตัวเองให้เห็นแล้วว่าเปราะบางมากและไม่สามารถที่จะแสดงภาวะผู้นำอัน เข้มแข็งแล้ว มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่ ทางฝ่ายกองทัพไทย (หลังจากที่ทิ้งช่วงห่างออกมาอย่างเหมาะสม) จะทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กองกำลัง ในขณะที่กลุ่มผู้นำเหล่าทัพเหล่านี้มีแนวโน้มอย่างสูงที่สุดในการอนุญาตให้ กองกำลังของเรายังคงอยู่ที่นั่นได้ การถอนกองกำลังทหารของเราควรจะเริ่มต้นล่วงหน้าเป็นอย่างดี และจากนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนใจเกิดขึ้นมันก็กลายเป็นเรื่องยาก นอกไปจากนั้น การยึดอำนาจโดยฝ่ายกองทัพ จะทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจให้กองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาอยู่ต่อได้ภายในประเทศ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมืองได้ในกรุงเทพฯ
จุดประสงค์ของประเทศสหรัฐอเมริกา:
ในการตื่นตัวต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในคาบสมุทรอินโดจีน การค้นคว้าวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงจุดประสงค์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงใช้ได้อยู่ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะขอร้องให้เราถอนกองกำลังทหารที่เหลืออยู่ออกไปจากประเทศ:- ให้ประเทศไทยเป็นรัฐอิสระและไม่มีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์
- เพิ่มการสนับสนุนกับทางการไทยเพื่อฐานะตำแหน่งของประเทศสหรัฐอเมริกาในเวที นานาชาติ เป็นต้นว่า ที่องค์การสหประชาชาติและและสมัชชาเฉพาะทางเป็นต้นว่า การประชุมเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล
- ให้การสนับสนุนต่อทางการไทยอย่างต่อเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติและเพื่อเสถียรภาพโดยทั่วไปภายในทวีปเอเซีย
- ให้การเข้าถึงการตลาดของทางการไทยอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้จัดจำหน่ายและ นักลงทุนของประเทศสหรัฐอเมริกาและรวมไปถึงการขยายการค้าของประเทศไทยและ ประเทศ สหรัฐอเมริกาต่อไปด้วย
- ให้เพิ่มความสนใจต่อทางการไทยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโปรแกรมการต่อต้านยาเสพติด และ สามารถเข้าถึงข้อมูลในประเทศไทยเพื่อการข่าวกรองในโปรแกรมต่อต้านยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกา
- แสดงความเป็นเพื่อนอย่างฉันมิตรและได้รับผลประโยชน์ร่วมกันต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา
ทุกๆ องค์กรเห็นพ้องกันในเรื่องที่เราควรจะรับนำเอานโยบายที่จะกล่าวต่อไปนี้เข้ามาใช้กับประเทศไทย:
- ให้ความช่วยเหลือในโปรแกรมเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งเงินสนับสนุนจากโปรแกรมการช่วยเหลือทางการทหาร (Military Assistant Program หรือ MAP) จะเริ่มลดลงจากระดับของปีงบประมาณ 2518
- ไม่ทำการขัดขวางทางการไทยแต่อย่างใด ในความพยายามของพวกเขาต่อการปรับตัวให้เข้ากับความสัมพันธ์ใหม่กับประเทศ เพื่อนบ้านของพวกเขาที่มีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์และไม่ใช่ระบอบ คอมมิวนิสต์ และรวมไปถึงฝ่ายเราด้วย
- เน้นในเรื่องของโปรแกรมช่วยเหลือทางเศรษฐกิจที่ให้กับสองฝ่ายเท่านั้น ซึ่งเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่ตามพื้นที่ยากจนแถบชนบท
- ปรับปรุงการพาณิชย์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย และให้นักธุรกิจกับนักลงทุนของประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าถึงข้อมูลในตลาดของ ประเทศไทย ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้:
- ชี้ให้ทางการไทยได้ทราบถึงขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะเจาะต่อการลงทุน
- ยืนยันในข้อตกลงเกี่ยวกับการบินซึ่งกันและกันด้วยความจริงใจ และอย่าพยายามที่จะตอบแทนฝ่ายไทยเกี่ยวกับความล้มเหลวของฝ่ายเขา ต่อการแสวงหาผลประโยชน์อย่างเต็มที่เกี่ยวกับสิทธิการบินและรวมไปถึงโอกาส ต่างๆ ด้วย
- ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องกับทางการไทยเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในคลัง พัสดุของเราและรวมไปถึงการขายผลิตผลทางการเกษตร PL-480 ของเราในตลาดต่างๆ ตามธรรมเนียมของไทย
- ให้การสนับสนุน กิจกรรมการต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้:
- รวมรวมข่าวกรองให้ถึงระดับสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เกี่ยวกับการขนส่งค้าขายยาเสพติดในประเทศไทย
- ทำงานร่วมกันกับทางการไทยเพื่อลดจำนวนฝิ่นที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผลิตในประเทศไทย
- ร่วมมือกับทางการไทยในการลดจำนวนการขนส่งยาเสพติดทั้งในและทั้งผ่านประเทศไทย
- ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสื่อสารทางข้อมูล, การวัฒนธรรม และโปรแกรมพีซ คอร์ป (Peace Corps) ซึ่งวางแผนไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประเทศไทย
- ลดจำนวนและสร้างขนาดกับองค์กรให้กระชับยิ่งขึ้น ในการปรากฎตัวจากเจ้าหน้าที่ของฝ่ายเรา เพื่อจะสร้างความสอดคล้องกันกับจำนวนกิจกรรมของเราที่ลดลงภายในประเทศไทย
การตัดสินใจต่อบันทึกข้อความ:
ที่แถบ เอ คือ การสรุปเนื้อหาสำคัญในนโยบายของเราที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งมีรากฐานมาจากการค้นคว้าที่ได้รับการยินยอมเรียบร้อยแล้วข้อเสนอ:
กรุณาอนุมัติลายเซ็นของข้าพเจ้าในบันทึกฉบับนี้ที่ แถบ เอ
อนุมัติ (ลายเซ็น ของ ประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นของผู้แปล:
ผู้นำฝ่ายรัฐบาลไทยในเวลานั้น คือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเพิ่งชนะการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 มาประมาณ สองอาทิตย์เศษๆถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน แต่เราจะเห็นว่า นโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าในเวลานั้น ประเทศไทยจะเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม
เหตุการณ์การขับไล่และถอนทหารอเมริกันออกไปจากประเทศไทยนั้น ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะทราบดีกว่าดิฉัน ถึงแม้จะถูกตอบโต้ด้วยการเดินขบวนขับไล่ก็ตาม ทางประเทศสหรัฐอเมริกาก็ยังคิดแบบ น้ำครึ่งแก้วเต็ม หรือ Glass Half Full เพื่อที่จะดำเนินการเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ของประเทศในเวลา นั้นได้
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทางประเทศสหรัฐอเมริกาจะคิดถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนและการพาณิชย์เป็นหลัก เพราะมีผลกระทบหลายอย่างต่อทางการเมือง, ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ
ที่นำเรื่องราวในอดีตมาเสนอนั้น ก็เพราะดิฉันคิดว่า นโยบายในปัจจุบัน จะไม่แตกต่างกับในสมัยอดีตเท่าไรนัก การปฎิบัติโดยการยึดหลักการให้ความช่วยเหลือทางการทหารนั้น เป็นจุดที่ "ขาย" ได้เป็นอย่างดี ต่อฝ่ายกองทัพไทย (ไม่ว่าจะอยู่ในสมัยไหน หรือ รัฐบาลไหน)
ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือในเวลานี้ ทางฝ่ายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ให้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินคดีของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งมีความกระทบทางจิตใจกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งทำให้ภาพพจน์ดูดีขึ้นในสายตาของชาวโลก (แต่ไม่แน่ใจว่า ทำการ "จับปลาสองมือ" กับฝ่ายอำมาตย์อยู่อย่างต่อเนื่องหรือเปล่า)
เรื่องนโยบายและการกระทำเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง เผื่อว่าจะมีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น