แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บนเส้นทางธุรกิจการเมือง "เอกยุทธ" มนุษย์มุมตึก ...ไม่ร้างก็ล้ม !!!!

ที่มา มติชน

 


วันนี้  "เอกยุทธ  อัญชันบุตร "  เป็นศพไปแล้ว บนหน้าหนึ่งของ หนังสือพิมพ์ ทุกฉบับ

บนเส้นทาง ชีวิต มุมตึกของ เอกยุทธ ที่มีมุมสว่างและมุมมืด เป็นเรื่องราวลึกลับและซ่อนเงื่อน  ทั้งธุรกิจและการเมือง


ย้อนกลับไป เมื่อ 20 ปีกว่า ที่แล้ว  เขาคือ  เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์ ที่ร้อนแรง  ไม่แพ้ แชร์แม่ชม้อย และแชร์แม่นกแก้ว  แม้เจ้าตัวจะบอกว่า  แชร์ชาร์เตอร์ ไม่เหมือนชม้อยและนกแก้วก็ตาม


จาก บริษัท ชาร์เตอร์อินเตอร์เร็คชั่น จำกัด  นำไปสู่คอนเนกชั่น กับบรรดานักการเมืองชั้นแนวหน้า   และนายทหารระดับบิ๊ก อีกหลายคน


แต่ไม่นาน   รัฐบาล พล.อ.เปรม  ติณสูลานนท์ โดยกระทรวงการคลัง ได้ออกพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เพื่อจัดการกับกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะผิดกฎหมายการค้าเงินข้าม ชาติ


หลัง ติดบ่วงคดีแชร์ชาร์เตอร์ เอกยุทธจึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการยึดอำนาจ 9 ก.ย. 2528 ที่นำโดย "มนูญ รูปขจร" เมื่อปฎิวัติไม่สำเร็จก็กลายเป็นกบฎ     เอกยุทธ ลี้ภัยการเมืองไปปักหลักทำธุรกิจที่อังกฤษ   ต่อสู้ในคดีแชร์ชาร์เตอร์  จนศาลตัดสินให้ล้มละลายในปี 2539


เอกยุทธ  ทำธุรกิจในอังกฤษและลงทุนในตลาดหุ้น  ในชื่อที่รู้จักกันดีว่า     George Tan


9 ปีที่แล้ว  เอกยุทธ โผล่ที่ พรรคประชาธิปัตย์ และประกาศภารกิจ "ล้มทักษิณ"  ปลายเดือนก.ย. 2547 เอกยุทธอยู่เบื้องหลังยุทธการโค่นทักษิณระลอกแรก โดยการนำของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ แต่การชุมนุมมวลชนที่ท้องสนามหลวง ฟืนจุดไม่ติด จึงต้องเลิกรากันไป


เมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)   เคลื่อนไหว   เอกยุทธ ไม่ใช่พันธมิตรฯ แต่เขาเคลื่อนไหว คู่ขนาน เพราะมีเป้าหมายเดียวกันคือ โค่นทักษิณ โดยใช้ เว็ปไทยอินไซเดอร์  ที่ปล่อยข้อมูลจริงกึ่งเท็จ ทำลายฝ่ายตรงข้าม


จากยุคทักษิณ มาถึง ยุค ยิ่งลักษณ์  ภารกิจของเอกยุทธยังไม่เสร็จสิ้น   เขาเป็นคนที่เปิดประเด็น โฟร์ซีชั่น เพื่อหวังฉีกหน้า นายกฯผู้หญิงคนแรกของประเทศไทย   และคดีนี้เพิ่งไปสู่ศาล เมื่อไม่นานมานี้


ย้อนกลับมาดู ฐานธุรกิจของ เอกยุทธ อัญชันบุตร   ที่มักเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นร่วมกับ น.ส. จรินรัตน์ ธานินทร์วิวัฒน์ และนาย กฤษฏา ศรีประสาน  จะพบว่า สถานะของแต่ละบริษัท ไม่ราบรื่น จาก 9 บริษัท ร้างไปแล้ว 4 บริษัท ล้มละลายไปแล้ว 2 บริษัท ที่ยังดำเนินกิจการอยู่มี 3 บริษัทเท่านั้น

1  บริษัท เน็ต อีสท์ จำกัด  ยังดำเนินกิจการอยู่      
 
2  บริษัท ไทยอินไซเดอร์ จำกัด  ยังดำเนินกิจการอยู่      
 
3  ห้างหุ้นส่วนจำกัด กฤษดาแพลน  ร้าง      
 
4  บริษัท ชาร์เตอร์อินเตอร์เร็คชั่น จำกัด  ล้มละลาย      
 
5  บริษัท ชาร์เตอร์เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด  ล้มละลาย      
 
6  บริษัท ซุปเปอร์สเก็ต จำกัด  ร้าง      
 
7  บริษัท พัทยาเพลซ จำกัด  ร้าง      
8  บริษัท เฟิร์สท คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด  ยังดำเนินกิจการอยู่      

9.   บริษัท สารภีวิลล่า จำกัด  ร้าง  


บริษัท เน็ต อีสท์ จำกัด  NETEAST CO.,LTD.   เป็นธุรกิจ ซื้อ-ขายหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด  จดทะเบียน 11 กรกฎาคม 2544  ทุนจดทะเบียนปัจจุบัน (บาท)  10 ล้าน ตั้งอยู่ที่    1477 ซอยลาดพร้าว 94 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310


ผลประกอบการ ของ บริษัท เน็ต อีสท์ จำกัด ไม่ค่อยสวย ปี 2550  ขาดทุนสะสม 18 ล้าน ปี 2551 ขาดทุนสะสม 23 ล้าน ปี 2552 ขาดทุนสะสม 26 ล้าน ปี 2553 ขาดทุนสะสม 29.5 ล้าน ปี 2554  ขาดทุนสะสม 30.8 ล้าน


เช่นเดียวกับ บริษัท ไทยอินไซเดอร์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน แต่ขาดทุนต่อเนื่อง ปี2553 ขาดทุนสะสม 3.7 ล้าน
ปี 2554 ขาดทุนสะสม 5 ล้าน ปี 2555 ขาดทุนสะสม 7 ล้าน  เรียกว่าขาดทุนสะสม เกินทุนจดทะเบียนไปนานแล้ว


ส่วนบริษัท เฟิร์สท คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด  ยังดำเนินกิจการอยู่    263 ซอยพญานาค ถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400  ธุรกิจของบริษัทคือ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ระบบพลังงานสะอาด ระบบพลังงานทดแทน  ผลประกอบการ ขาดทุนต่อเนื่องจากปี 2551 จนถึงปี 2553  ส่วนปี 2554 และปี 2555 ไม่ได้ส่งงบดุลต่อกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า



นี่คือ ตัวตนและเส้นทางธุรกิจการเมืองของ เอกยุทธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น