แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรับผิดชอบการรักษาของปัจเจกบุคคล

ที่มา ประชาไท


สิทธิการเข้าถึงการรักษาและสิทธิการมีสุขภาพดีเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้น ฐานที่อุบัติขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และปัจจุบันเป็นที่ยอมรับสากล และปรากฏอยู่ในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์กรอนามัยโลก และ รัฐธรรมนูญในประเทศต่างๆรวมถึงประเทศไทย บุคคลมีสิทธิในการได้รับการรักษาไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ฐานะทางสังคมใดๆ
ในทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมีหลัก Horizontal equity คือบุคคลใดๆควรได้รับการรักษาที่เหมือนกันถ้ามีความจำเป็นในการรักษาที่ เหมือนๆกัน การให้สิทธิปัจเจกบุคคลในการเข้าถึงการรักษาเป็นการเปลี่ยนความรับผิดชอบต่อ ความเจ็บป่วย ซึ่งจากอดีต นั้นปัจเจกบุคคลต้องรับผิดชอบความเจ็บป่วยโดยเต็มที่และสังคมไม่ต้องรับผิด ชอบใดๆ แต่การให้สิทธิเท่ากับว่าสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบความเจ็บป่วย ของปัจเจกชนในบางส่วน ในฐานะที่มองว่าสุขภาพโดยรวมของสังคมเกิดจากการรวมกันของสุขภาพทุกคนในสังคม
เมื่อสังคมเข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพปัจเจกบุคคลแล้ว คำถามที่ตามมาคือ อะไรเป็นเส้นแบ่งระหว่างความรับผิดชอบที่ปัจเจกชนรับผิดชอบและอะไรเป็นความ รับผิดชอบของสังคม ซึ่งเส้นแบ่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตีความและไม่ตายตัว และโต้เถียงมาช้านานโดยหาข้อสรุปได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อในโลกความเป็นจริง ถึงสุขภาพมีความสำคัญไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ แต่ก็มีต้นทุนต้องเสีย และในระบบประกันสุขภาพของรัฐที่ใช้งบประมาณส่วนรวมของสังคมเพื่อรักษาสุขภาพ ของปัจเจกบุคคลประเด็นเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มทุนจึงเป็นเรื่องที่นำมา พิจารณาและบางทีขัดแย้งกับความเท่าเทียมกันในการรักษา
เคสที่โด่งดังที่สุดคือ อดีตตำนานนักฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเตด จอร์จ เบสต์ ซึ่งป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง และต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ เขารอคิวในการเปลี่ยนตับกับ National Health System (NHS) ถึงเก้าเดือน และภายหลังการผ่าตัดเบสต์ก็ยังไม่สามารถเลิกนิสัยดื่มจัด และเสียชีวิตภายในสามปีหลังการเปลี่ยนตับ[1]
หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาวิจารณ์ถึงความ สิ้นเปลืองของการรักษาที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่วนตัวของเบสต์ รัฐบาลต้องออกค่าใช้จ่ายการรักษา และอวัยวะให้กับคนที่มีแนวโน้มในการใช้ชีวิตแบบทำลายสุขภาพตนเอง การรักษาครั้งนี้เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ถ้านำอวัยวะที่มีค่าไปให้คนที่มีโอกาสมีชีวิตยืนยาวกว่าน่าจะเป็นการกระทำ ที่สมควรกว่า[2] [3] และเสนอให้มีการคัดกรองประวัติการดื่มเหล้าและปัจจัยเสี่ยงกับผู้ที่จะได้ รับการเปลี่ยนอวัยวะ จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอคำนึงถึงหลักประสิทธิภาพแต่ได้ละเมิด หลักของความเท่าเทียมกันเช่นกัน และหมิ่นเหม่ต่อการเลือกปฏิบัติ
แต่อย่างไรก็ตามปัจเจกบุคคลก็ควรรับผิดชอบต่อพฤติกรรมตนเองเช่นกัน เสรีภาพของปัจเจกบุคคลต้องมีราคาที่เสีย ใน Theory of Equal of Opportunity ได้แบ่งตัวแปรที่ส่งผลต่อการใช้บริการรักษาเป็นสองกลุ่มคือ circumstance variables คือตัวแปรที่เป็นสาเหตุจากสังคมซึ่งเหนือการควบคุมของปัจเจกชน และ effort variables ตัวแปรซึ่งเกิดจากการควบคุมของปัจเจกชน ผลที่เกิดจาก effort variables เป็นสิ่งที่ปัจเจกบุคคลต้องรับผิดชอบเองเพราะเกิดจากการตัดสินใจโดยเสรีของ เขา เช่น การดื่มเหล้า ซึ่งการดื่มเหล้ามากๆมีโอกาสที่เกิดโรคต่างๆ เช่น ตับแข็ง เบาหวาน อุบัติเหตุ ฯลฯ โดยผู้บริโภคทราบถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบคือ ต้องจ่ายค่ารักษาที่มากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่มเหล้า แต่อย่างไรก็ตามคนที่ดื่มเหล้าทุกคนไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นมะเร็งตับ การเก็บค่ารักษาเต็มจำนวนกับผู้ดื่มเหล้าและเป็นมะเร็งตับจึงเป็นภาระสูงและ ไม่กระจายความเสี่ยงกับกลุ่มประชากรที่กินเหล้าด้วยกัน ทางออกของเรื่องนี้คือการเก็บภาษีบาปซึ่งมีข้อดีคือเก็บโดยตรงจากผู้บริโภค สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และผู้ที่กินมากกว่าก็ต้องรับผิดชอบมากกว่า พร้อมกระจายความเสี่ยงทางค่ารักษาไว้กับคนกินเหล้าด้วยกัน ดังนั้นในบางประเทศกองทุนที่มาจากภาษีเหล้าก็จะถูกสงวนใช้เพื่อประโยชน์ เฉพาะกับกลุ่มประชากรที่กินเหล้า เช่นนำกองทุนเพื่อไปรักษาโรคเฉพาะที่เกิดจากการกินเหล้า โดยไม่มีการหักเปอร์เซนต์ไปใช้จ่ายกิจการสังคมอื่นๆ
อย่างไรก็ตามทุกอย่างก็ไม่ตรงไปตรงมา Roemer ได้แย้งว่าการที่ปัจเจกบุคคลตัดสินใจบางกรณีก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เช่น คนงานทำเหมืองสูบบุหรี่จัดกว่าพนักงานบริษัท แล้วหมายความว่าคนงานทำเหมืองต้องรับผิดชอบค่ารักษามากกว่าพนักงานบริษัท หรือ โดยที่สภาพสังคม การศึกษา สภาพความเครียดจากการทำงานของคนทำเหมืองแล้วทำให้โดยเฉลี่ยคนทำเหมืองต้อง สูบบุหรี่มากกว่า Roemer แนะนำให้แยกอิทธิพลของสภาพแวดล้อมออกจากการตัดสินใจของปัจเจกบุคคลโดย แยกกลุ่มคนออกเป็นอาชีพ และเรียงลำดับตามปริมาณบุหรี่ที่สูบ เช่น สมมติโดยเฉลี่ยประชากรพนักงานบริษัทสูบบุหรี่วันละสองมวน ส่วนประชากรคนงานเหมืองสูบบุหรี่วันละสิบมวน แล้วพนักงานบริษัทที่สูบบุหรี่วันละสองมวนกับคนทำเหมืองที่สูบบุหรี่วันละ สิบมวนต้องได้รับการรักษาที่เหมือนกันและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตามสิ่งที่เขียนในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอแนวความคิดของนัก คิดบางคนเท่านั้น และไม่จำเป็นที่ต้องปฏิบัติตาม การอภิปรายขอบเขตการรับผิดชอบของปัจเจกชนเป็นเรื่องที่หาข้อสิ้นสุดไม่ได้ แต่โดยภาพรวมแล้วนักคิดทฤษฎีเพื่อความเท่าเทียมต่างให้คุณค่าสำคัญที่ เหมือนๆกันคือ ปัจเจกบุคคลต้องมีเสรีภาพในการตัดสินใจ ในการใช้ชีวิต ถึงแม้ว่าวิถีชีวิตที่เขาตัดสินใจจะนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพเขาเอง
สุดท้ายนี้ขอจบด้วย First Principle of Justice ของ John Rawls
« each person is to have an equal right to the most extensive basic liberty compatible with a similar liberty for others »




[1] http://www.psychologytoday.com/blog/mouse-man/200902/do-alcoholics-deserve-liver-transplants
[2] http://www.dailymail.co.uk/health/article-2060295/Some-alcoholics-shouldn-t-prove-sobriety-liver-transplant-say-experts.html
[3] http://www.scotsman.com/news/uk/criticism-grows-of-best-liver-decision-1-655786

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น