แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รายงาน: การเมืองเรื่อง กสม. เมื่อคนในขัดขากันด้วยข้อกล่าวหา “ฝักใฝ่เสื้อแดง”

ที่มา ประชาไท


จดหมายเปิดผนึก สะท้อนการเมืองภายในของกสม. ที่แสดงทัศนคติของคนทำงานในสำนักงานกสม. ต่อสิทธิทางการเมืองของประชาชน เมื่อกสม. รายหนึ่งถูกโจมตีว่าฝักใฝ่และเป็นใจให้คนเสื้อแดงรวมไปถึงการพยายายามแก้ ป.อาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สิ่งนี้อาจจะช่วยสะท้อนว่า เหตุใดการทำงานของกสม. จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เป็นนิจ
ความวัวจากการมอบรางวัลสิทธิมนุษยชนดีเด่นประจำปียังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก เมื่อเอกสารจากรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ร่อนถึง ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ความว่า เจ้าหน้าที่กสม. ซึ่งใช้นามแฝง “เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ที่รักองค์กรและบ้านเมือง” ส่งจดหมายถึงนายวัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหา น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์ วัชระ ว่าเป็น “เสื้อแดงตัวจริงในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” (อ่านเอกสารจากไฟล์แนบท้ายข่าว)
เนื้อหาจดหมายดังกล่าวระบุว่า น.พ.นิรันดร์ มีพฤติการณ์เชื่อมโยงกับกลุ่มนปช. หลายเรื่องดังนี้...
“1 สนับสนุนให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่มีน.พ.นิรันดร์ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอปรับปรุงแก้ไข (เพิ่มเติม) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง มีนายจอน อึ๊งภากรณ์ (พี่ชายของนายใจ อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เป็นประธานคณะทำงาน โดยมีนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ เช่น นางสาวสาวตรี สุขศรี  เป็นหนึ่งในคณะทำงาน”
“2 มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มนิติราษฎร์ จนถึงขั้นเชิญมาอบรมปฐมนิเทศข้าราชการบรรจุใหม่และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ เมื่วันที่ 13-14 มกราคม โดยเฉพาะนายปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งได้แสดงความเห็นจาบจ้วงล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่ เคารพรักของคนไทยอย่างร้ายแรง”
“3 นำพรรคพวกเข้ามาเป็นอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ตนเองเป็นประธานอนุกรรมการ ทั้ง 4 คณะ เป็นการหาเงินให้พรรคพวกใช้ในการจ้างทำวิจัย จ้างเขียนรายงานผลการศึกษา จ้างเขียนผลการตรวจสอบ เบี้ยประชุม การลงพื้นที่จัดสัมมนา ผลงานที่ได้ไม่คุ้มค่าเงินงบประมาณหลายล้านบาทในแต่ละปี โดยวางแผนว่าเมื่อหมดวาระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในปี 2558 จะลงสมัคร ส.ส. อุบลราชธานี จึงทำทุกวิถีทางที่จะเอาใจเครือข่ายตนเอง”
“4 อยู่เบื้องหลังการที่นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของนางสาวกมนเกด อัคฮาด (น้องเกด) พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 และกลุ่มเสื้อแดง บุกเข้ามาที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 โดยยื่นข้อเรียกร้องให้ประธาน กสม. (ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์) ลาออกจากตำแหน่งประธาน กสม. แต่เพียงผู้เดียว (โดยไม่ไล่ กสม. ทั้งคณะ) ซึ่งนายแพทย์นิรันดร์ฯ เป็นผู้ประสานงานให้กับกลุ่มคนเสื้อแดง แต่สุดท้ายได้ออกมารับกลุ่มคนเสื้อแดงและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทำนองที่ เป็นการเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น (เอกสาร 3)”
“นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้รายงานผลการตรวจสอบกสารละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณี เหตุการณ์ความรุนแรงมที่เกิดจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ที่ดำเนินการเสร็จแล้วและเตรียมจะเปิดแถลงข่าวเมื่อปี 2554 ถูกระงับและมีรายงานรั่วออกไปภายนอก เพราะผลการตรวจสอบไม่ถูกใจกลุ่มคนเสื้อแดง
“ปัจจุบัน นอกจากการไปพูดในที่ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว ยังมีความสัมพันธ์หรือพยายามเข้าไปมีสัมพันธ์กับแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง จึงอาจเป็นไปได้ว่าจะกระทบต่อความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“ข้าพเจ้าเห็นว่ากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรจะเป็นกลางทางการเมือง และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด การกระทำของนายแพทย์นิรันดร์ฯ เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่ไม่ให้ความเคารพสถาบันอันเป็นที่เคารพสูงสุด และเลือกอยู่ข้างกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างชัดเจน ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องเสื่อมเสีย จึงขอส่งข้อมูลนี้มาเพื่อทราบและดำเนินการตามที่เห็นสมควร”
จดหมายดังกล่าวลงวันที่ 17 ตุลาคม 2555 โดยมีเอกสารแนบท้ายเป็นข่าวและการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอและปรับปรุง แก้ไข (เพิ่มเติม) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
จดหมายฉบับดังกล่าว นอกจากสะท้อนความไม่เป็นเอกภาพในการทำงานของกรรมการสิทธิแล้ว ยังสะท้อนทัศนะคนทำงานในองค์กรอิสระของรัฐในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม และปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน
คำถามที่อาจจะสะท้อนได้เร็วๆ ประการหนึ่งคือ การเป็นคนเสื้อแดง นั้นเป็นความผิดฐานใดสำหรับคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในหน่วยงานที่ใช้งบ ประมาณจากภาษีของรัฐไปจำนวน 173 ล้านบาทต่อปี


อ้างอิง
พระราชบัญญัติ งบประมาณรายจายประจำปี งบประมาณ ปี พ.ศ.  2555 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/015/1.PDF
AttachmentSize
P01.pdf297.96 KB
P02.pdf421.01 KB
P03.pdf440.45 KB
P04.pdf354.03 KB
P05.pdf403.64 KB
P06.pdf349.8 KB
P07.pdf287.24 KB
P08.pdf239.47 KB
P09.pdf445.58 KB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น