แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา: ‘ชาวนา’ กับ ‘การรับจำนำข้าว’ ต้นทุนการผลิต และหนี้สินในมือเกษตรกร

ที่มา ประชาไท


 
 
รอบหลายเดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน “การรับจำนำข้าว” ถือเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะ นโยบายหนึ่งที่สร้างปรากฏการณ์และปลุกกระแสความสนใจทางสังคมและสื่ออย่างต่อ เนื่อง ทั้งชื่นชม สนับสนุน ทักท้วง ให้แง่คิด และวิพากษ์วิจารณ์ โดยลักษณะของข้อมูลที่มีการนำเสนอก็มีแง่มุมรายละเอียดเกือบจะสมบูรณ์และรอบ ด้าน
 
อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนของข้อมูลที่ยังขาดหายและมีการนำเสนอสู่การรับรู้ที่น้อยมาก คือเรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในประเด็นเปรียบเทียบเชิงตัวเลขก่อนและหลังโครงการรับจำนำข้าว
 
จากคำถามสำคัญคือ เกษตรกรได้รับผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ทั้งในด้านกระบวนการ ต้นทุน รายได้จากการทำนา รวมไปถึงความอยู่รอดของครัวเรือนชาวนาในภาพรวม
 
กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (Local Action Links) จึงลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยการพูดคุยกับชาวนาสมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) ใน จ.สุพรรณบุรี 3 กรณี คือ ชาวนารายย่อย ชาวนาขนาดกลาง และชาวนาที่ไม่เข้าร่วมโครงการรับจำนำ เพื่อนำข้อมูลบางแง่มุมที่ดูเหมือนว่าจะขาดหายไปมานำเสนอ
 

 

กรณีตัวอย่างชีวิตชาวนาภาคกลาง

 
บ้านตาลลูกอ่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เจดีย์ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 82 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ (70 หลังคาเรือน) ประกอบอาชีพทำนา อาชีพรอง คือ ปลูกอ้อย เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด และรับจ้างทั่วไป สภาพพื้นที่นาข้าวเป็นพื้นที่ราบต่ำ โดยพื้นที่เขต อ.อู่ทองถือเป็นพื้นที่รับน้ำของ จ.สุพรรณบุรี เส้นทางน้ำจะไหลไปสู่ จ.นครปฐม แม่น้ำท่าจีน จ.อยุธยา มีน้ำท่วมขังตามฤดูกาลประมาณเดือนตุลาคม ถึงธันวาคมของทุกปี ดังนั้นโดยปกติแล้วชาวนาในเขตนี้จะทำนาได้ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ปัญหาล่าสุดเมื่อปี 2551 และ 2553 เกิดปัญหาแมลงเพลี้ยกระโดดระบาดในนาข้าว สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวในพื้นที่จำนวนมาก
 
สำหรับค่าเฉลี่ยของการถือครองที่ดินของเกษตรกร คือ 10-20 ไร่ต่อครอบครัว และเกือบครึ่งหนึ่งของชาวนาในพื้นที่เช่าที่นาผู้อื่นเพื่อทำการผลิตเพิ่ม เติม ภาวะหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ที่เกิดจากการลงทุนการผลิต ค่าเล่าเรียนลูก และค่าใช้จ่ายในครอบครัว เฉลี่ย 200,000 บาทต่อครอบครัว สูงสุด 600,000 บาท
 

1.กรณี นางสุวรรณ บุญรอด : ชาวนารายย่อย ระยะปรับเปลี่ยน

นางสุวรรณ บุญรอด อายุ 52 ปี มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 3 คน สมาชิกครอบครัวที่อยู่ในอาชีพทำนาและเกษตรกรคือตัวเธอเองและสามี ส่วนลูกชายกำลังศึกษาอยู่ด้านช่างซ่อมบำรุงที่ จ.ชลบุรี มีพื้นที่ทำนาทั้งหมด 6 ไร่ ซึ่งทั้งหมดได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว โดยมีที่นาของหลานสาวมาฝากตนเองเข้าร่วมโครงการอีก 5 ไร่ รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 11 ไร่
 
นอกเหนือจากการทำนานางสุวรรณ มีพื้นที่ปลูกอ้อยอยู่ต่างอำเภออีก 15 ไร่ และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปในช่วงว่างจากการทำนา
 
 
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว
 
1.     หลังจากไถหว่านข้าวแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ ชาวนาแต่ละรายที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว ต้องนำหลักฐานได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน เอกสารแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร เอกสารการเป็นสมาชิก ธกส. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกสารแบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และรูปถ่ายเจ้าของที่นากับเจ้าหน้าที่เกษตรกรตำบล ยืนชี้จุดแปลงนาข้าวที่ทำการหว่านไถแล้วในทุกๆ แปลง โดยนำเอกสารทั้งหมดยื่นให้กับผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รวบรวมส่งให้กับเกษตรอำเภอ และส่งให้เกษตรจังหวัด
 
2.     จากนั้นทางเกษตรจังหวัดจะออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2554/55 มาให้ โดยปกติจะออกให้ภายใน 15 วัน
 
3.     สำหรับโควตาการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวในเขต อ.อู่ทอง จะจำกัดผลผลิตที่รับซื้อจากการคาดการณ์ผลผลิตในรอบที่ผ่านมาของเกษตรกรแต่ละ ราย โดยเฉลี่ยประมาณ 740-800 กก.ต่อไร่
 
4.     เมื่อวันที่ 10 ก.ย.55 นำผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4.5 ตัน วัดความชื้น ได้ 26% และสิ่งเจือปน โรงสีตีราคาให้ 12,400 บาท ต่อตัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 55,800 บาท โดยโรงสีออกใบรับรอง (ใบประทวน) ให้
 
5.     นำใบประทวนไปยื่นกับ ธกส. และธกส.จะออกบัตรคิวให้ ซึ่งในรอบจำนำที่แล้ว (ม.ค.-พ.ค.55) ปกติจะได้รับเงินภายใน 1 อาทิตย์ แต่ผ่านมาเกือบ 2 เดือน รอบนี้ยังไม่ได้รับเงิน เมื่อสอบถามทางเจ้าหน้าที่ ธกส.แจ้งว่าเงินรอบนี้หมดแล้ว และยังไม่ลงมาจากส่วนกลาง
 
นางสุวรรณ กล่าวว่า สำหรับปัญหาที่เกิดจากการได้รับเงินจำนำข้าวล่าช้า ทำให้จำเป็นต้องกู้ยืมเงินนอกระบบจากคนในหมู่บ้าน กว่า 28,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน เพื่อมาเป็นค่าเล่าเรียนลูก ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายในครอบครัว ในส่วนของหนี้สินค่าปุ๋ยและค่ายาได้ผลัดไว้ก่อน ซึ่งทางเถ้าแก่ คิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน
 
ต้นทุนการผลิตข้าวเปรียบเทียบ
 
ต้นทุนการผลิตข้าว/ไร่
ก่อนโครงการรับจำนำ
ปี 2554
 
หลังโครงการรับจำนำ
ปี 2555
1.     ค่าเมล็ดพันธุ์ (ข้าวปทุมCO 100 วัน) ถังละ 250 บาท 3 ถังต่อไร่
 
750
750
2.     ค่าไถ
3.     ค่าตีเทือก
 
300
350
300
350
4.     ค่าจ้างหว่านข้าว
70
70
5.     ค่าน้ำมันโซล่าวิดน้ำออกจากนา 3 ครั้ง
250
250
6.     ค่าจ้างฉีดยาคุมและฆ่าหญ้า
ฉีด 2 ครั้ง (ผสมพร้อมกับยาฆ่าเพลี้ย)
120
120
7.     ค่ายาคุมหญ้า 350บาทต่อขวด เพิ่ม 365 บาทต่อขวด
58
60
8.     ค่ายาฆ่าเพลี้ย 320 บาทต่อขวด เพิ่ม 330 บาทต่อขวด
106
110
9.     ค่ายาฆ่าหญ้า (ตราม้าแดง) 180 เพิ่มเป็น 200
30
33
10.  ค่ายาฆ่าหญ้าตามคันนา (ไกรฟาเสต) จาก 700 เพิ่ม 750
117
125
11.   ค่ายาฆ่าหญ้า (ฟาเสท) จาก 500 เพิ่ม 550
83
92
12.  ค่าปุ๋ยเคมี (ยูเรีย) ครั้งแรก 25 วัน 2 กระสอบ 50 กก ต่อ 6 ไร่ ราคา 810 เพิ่ม 970
 
270
323
13.   ค่าปุ๋ยเคมี 16-16-20 7กระสอบ ต่อ 6 ไร่ ราคา 640 เพิ่ม 750
747
875
14.   ค่าปุ๋ยเคมี 45 วัน (ก่อนตั้งท้อง) ผสมระหว่างปุ๋ย 16-16-20 7 กระสอบกับปุ๋ยยูเรีย 2 กระสอบ
1,017
1,198
15.   ฮอร์โมนเร่งท้อง (ลมเบ่ง) 1 กก.130 บาทต่อ 6 ไร่ เพิ่ม 150 บาท
21
25
16.   ฮอร์โมนเกร็ด ฉีด 3 รอบ ใช้ 2 กก.ต่อ 6 ไร่ เดิม 90 บาทต่อ กก. เพิ่ม 120 บาท
90
120
17.   ฮอร์โมนบำรุงรวม และฆ่าเชื้อรา อโมเรย์ 1,460 ต่อขวด เพิ่ม 1,500 บาท
243
250
18.   ค่าจ้างคนฉีดฮอร์โมน 60 บาทต่อไร่ 3 ครั้ง
180
180
19.  ค่าจ้างรถเกี่ยว
500
500
20.  ค่าจ้างรถเข็นข้าวไปโรงสี 100 บาทต่อเกวียน
83
83
รวมต้นทุนต่อไร่
5,385 บาท
5,814 บาท
ผลผลิตข้าว
4.5 ตัน
4.5 ตัน
ราคาข้าวต่อตัน
10,700 บาท
12,400 บาท
รวมขายได้ 6 ไร่
48,150 บาท
55,800 บาท
ต้นทุนรวม 6 ไร่
32,310 บาท
34,884 บาท
กำไรสุทธิ
15,840 บาท
20,916 บาท
 
จากตารางต้นทุนการผลิตข้าว เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการจำนำข้าว ในปี 2554 ก่อนโครงการฯ มีต้นทุนการผลิต 5,385 บาทต่อไร่ หลังมีโครงการฯ มีต้นทุนการผลิต 5,814 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 429 บาท ประมาณร้อยละ 7 โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ค่าปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง
 
ในส่วนของรายได้เปรียบเทียบ ปี 2554 มีรายได้จากการขายข้าวตันละ 10,000 บาทและได้เพิ่มจากรัฐ อีก 700 บาท รวมเป็น 10,700 บาท คิดเป็นรายได้รวม 48,150 บาท และในปี 2555 มีรายได้จากการขายข้าวในโครงการรับจำนำ 12,400 บาท ได้รายได้ 55,800 บาท มีรายได้เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 7,650 บาท ในส่วนของกำไรสุทธิ หักต้นทุนการผลิตแล้ว ปี 2554 กำไรสุทธิ 15,840 บาท ปี 2555 กำไรสุทธิ 20,916 บาท เพิ่มขึ้น 5,076 บาท
 
“มาตรการช่วยเหลือจากรัฐทั้งจำนำ และประกันราคามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ควรจะเอาจุดดี มาปรับแก้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ สำหรับประกันราคา เราได้เงินสด ค่าปุ๋ย ค่ายา เราจะได้เลย แต่เราได้เงินไม่เยอะ เพราะเขาให้ตามราคาตลาด ประกัน ปี 54 ได้เงินสด 10,000 บาท และเงินเพิ่ม 700 บาท สำหรับจำนำ ปี 55 ได้ 12,400 บาท ได้เงินเยอะ แต่ถ้าได้ช้าก็ต้องแบกรับดอกเบี้ยหนี้สินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และต้องเสี่ยง ถ้าเกิดปัญหาผลผลิตข้าวเสียหาย” นางสุวรรณกล่าวแสดงความเห็นต่อโครงการรับจำนำข้าว
 
รายละเอียดภาระดอกเบี้ยที่นางสุวรรณ ต้องแบกรับ ได้แก่
-       ดอกเบี้ยค่ายาและค่าปุ๋ย 4,500 บาท ร้อยละ 5 ต่อเดือน จากวันผลิต 5 เดือน  625 บาท
-       ดอกเบี้ย ธกส. 55,000 บาท ร้อยละ 12 ต่อปี ปีละ 6,600 บาท
-       ดอกเบี้ยหนี้สินกองทุนเงินล้าน 20,000 บาท ร้อยละ 5 ต่อปี 1,000 บาท
-       ดอกเบี้ยหนี้นอกระบบ 100,000 บาท ร้อยละ 3 ต่อเดือน เดือนละ 3,000 บาท ปีละ 36,000 บาท
 
ค่าใช้จ่ายประจำเดือน
 
ค่าไฟฟ้า 250 บาท ค่าเล่าเรียนลูก 3,000 บาท ค่าฌาปนกิจ 1,000 บาท ค่าฌาปนกิจ ธกส. 500 บาท ค่ากับข้าว (เก็บข้าวไว้กินเอง) 3,000 บาท ค่าใช้จ่ายทั่วไป 3,000 บาท ค่างานบุญ 500 บาท รวมค่าใช้จ่ายในครอบครัว 11,250 บาทต่อเดือน
 
นอกเหนือจากรายได้ในการทำนา ยังมีรายได้เสริมจากการรับจ้าง 3,000 บาทต่อเดือน มีรายได้จากแปลงอ้อย 50,000 บาทต่อรอบ ปลูก 3 รอบต่อปี 150,000 บาท
 
 

2. กรณีนายอรุณ ทรงหมู่ : ชาวนาขนาดกลาง มีปัจจัยการผลิตบางส่วนเป็นของตนเอง

 
นายอรุณ ทรงหมู่ มีสมาชิกในครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ และลูก มีพื้นที่นาทั้งหมด 30 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นชาวนาขนาดกลางในหมู่บ้าน เพราะมีเพียง 3-4 รายที่มีนาจำนวนมากเท่านี้ เข้าโครงการรับจำนำในปี 2555 ทั้ง 2 รอบ คือรอบแรกเดือน ม.ค.2555 ซึ่งรัฐจะจำกัดปริมาณรับจำนำไม่เกิน 25 ตัน แต่รอบที่สองเดือน เม.ย.2555 รัฐจำกัดผลผลิตไร่ละ 750 กก.ต่อไร่ นอกเหนือจากทำนาแล้วอรุณ ยังลงทุนซื้อรถไถของตนเองเพื่อรับจ้างไถให้กับชาวนาในพื้นที่อีกด้วย
 
ต้นทุนการผลิตข้าวเปรียบเทียบ
 
ต้นทุนการผลิตข้าว/ไร่
ก่อนโครงการรับจำนำ
ปี 2554
 
หลังโครงการรับจำนำ
ปี 2555
1.     ค่าเมล็ดพันธุ์ (กข 47) ถังละ 240 บาท 3 ถังต่อไร่
 
720
720
2.     ค่าไถ (ค่าน้ำมัน)
3.     ค่าตีเทือก (ค่าน้ำมัน)
 
100
100
100
100
4.     ค่าจ้างหว่านข้าว
70
70
5.     ค่าน้ำมันวิดน้ำออก
100
100
6.     ค่ายาคุมหญ้า 370 บาทต่อขวด ใช้ 12 ขวด
148
148
7.     ค่ายาฆ่าเพลี้ย 320 บาทต่อขวด เพิ่ม 330 บาทต่อขวด
106
110
8.     ค่ายาฆ่าหญ้า ขวดละ 340 เพิ่มเป็น 350
340
350
9.     ค่าปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยอินทรีย์ (ยี่ห้อนางงาม)สูตร 16-20-0
790
790
10.   ค่าปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยอินทรีย์ 15-15-15
870
960
11.   ฮอร์โมนเร่งท้อง (ลมเบ่ง) 1 กก. 120 บาท เพิ่ม 130 บาท
24
26
12.   ฮอร์โมน (ข้าวโผล่) 1 กก. 120 บาท เพิ่ม 130 บาท
24
26
13.   ฮอร์โมน (บำรุงดอก) 1 กก. 120 บาท เพิ่ม 130 บาท
24
26
14.   ฮอร์โมน อามูเร่ 800 บาทต่อขวด
133
133
15.  ค่าจ้างรถเกี่ยว
500
500
16.  ค่าจ้างรถเข็นข้าวไปโรงสี 100 บาทต่อเกวียน
100
100
รวมต้นทุนต่อไร่
4,149 บาท
4,259 บาท
ผลผลิตข้าว
30 ตัน
30 ตัน
ราคาข้าวต่อตัน
10,000 บาท
11,200 บาท
รวมขายได้ 30 ไร่
300,000 บาท
336,000 บาท
รวมต้นทุน 30 ไร่
124,470 บาท
127,770 บาท
กำไรสุทธิ
175,530 บาท
208,230 บาท
 
ต้นทุนการผลิตต่อไร่ในปี 2554 และปี 2555 จำนวน 4,149 บาท และ 4,259 บาท แตกต่างกันเล็กน้อยเพียง 110 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในปี 2554 ที่เข้าร่วมประกันราคาข้าว ขายให้โรงสีได้ 8,000 บาทต่อตัน และได้เงินส่วนต่างจำนวน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนในปีนี้ที่ได้เข้าร่วมโครงการทั้งสองครั้ง และได้ราคาข้าวเพิ่มขึ้น 11,200 บาท (ความชื้น 29%) คือเพิ่มขึ้น 1,200 บาท และไม่ได้ประสบปัญหาได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวล่าช้า เนื่องจากมีรถไถนาเป็นของตนเอง และได้ทำการวิดน้ำเพื่อทำนาได้เร็วกว่าคนอื่น 20 วัน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกขายได้เป็นรายแรกๆ ของหมู่บ้าน
 
นายอุดม มีกำไรสุทธิจากการขายข้าวทั้งหมด 30 ไร่ ในปีที่แล้ว 175,530 บาท และในปีเข้าร่วมโครงการ 208,230 บาท โดยมีกำไรเพิ่มขึ้น 32,700 บาท
 
สำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือนในครอบครัว ประมาณ 10,000 บาท มีหนี้สินกับ ธกส. 120,000 บาท หนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 20,000 บาท และหนี้นอกระบบอีก 60,000 บาท รวมทั้งหมด 200,000 บาท
 
 

3. กรณี นางกนกพร ดิษฐกรจันทร์ : ชาวนาที่ลดต้นทุนแล้ว และไม่เข้าร่วมโครงการ

 
นางกนกพร ดิษฐกรจันทร์ มีสมาชิกครอบครัวทั้งหมด 4 คน ตนเอง แม่ และลูก อีก 2 คน มีพื้นที่นาจำนวน 2 แปลง แปลงที่ 1 อยู่ในหมู่บ้านที่ทำนาปรัง 9 ไร่ และ แปลงที่ 2 อยู่นอกพื้นที่ ซึ่งเป็นนาปีอาศัยน้ำฝน ที่ จ.กาญจนบุรี 7 ไร่ กนกพร เป็นชาวนาหัวก้าวหน้าที่ปรับเปลี่ยนจากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง มาสู่การทำนาอินทรีย์ เมื่อ 3 ปีที่ผ่าน โดยใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ผลิตสารไล่แมลงจากวัตถุดิบธรรมชาติเอง แรงสนับสนุนสำคัญได้จากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่ง ประเทศไทย (สค.ปท.) ในส่วนของผลผลิตข้าวในปีนี้ 2555 ก็ไม่ได้เข้าร่วมโครงการจำนำของรัฐ เนื่องจากตั้งแต่ ปี 2547 หันมารวมกลุ่มชาวนาในพื้นที่ เพื่อสีข้าวไว้กินและขายเอง ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 74 คน จาก 3 อำเภอใน จ.สุพรรณบุรี ได้แก่ อ.อู่ทอง อ.เมือง และ อ.สองพี่น้อง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการซื้อวัสดุอุปกรณ์จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกรรายย่อย ในปี 2555
 
 
ต้นทุนการผลิตข้าวเปรียบเทียบ
 
ต้นทุนการผลิตข้าว/ไร่
โครงการประกันราคา
ปี 2554
สีข้าวขายเอง
ปี 2555
1.     ค่าเมล็ดพันธุ์ (กข.43หอมสุพรรณ) ถังละ 250 บาท 2 ถังต่อไร่
 
225
225
2.     ค่าไถ
3.     ค่าตีเทือก
 
300
350
300
350
4.     ค่าจ้างหว่าน(ข้าวโยน)
300
300
5.     ค่าปุ๋ยขี้หมู 150 บ.ต่อกระสอบ 4 กส.ต่อ 9 ไร่ ใส่ 2 ครั้ง
 
132
132
6.     ค่าฮอร์โมน(รกหมู) 90 บาทต่อลิตร ใส่ 2 ลิตร ต่อ 9 ไร่
20
20
7.     ค่าน้ำส้มควันไม้ไล่แมลง 90 บาทต่อลิตร ใส่ 2 ลิตร ต่อ 9 ไร่
20
20
8.     ต้นทุนน้ำยาไล่แมลง สะเดา กากน้ำตาล 400 บาท ใช้ได้ 3 ปี
133
133
9.     ค่าจ้างรถเกี่ยว
500
500
10.  ค่าจ้างรถเข็นข้าวไปโรงสี 100 บาทต่อเกวียน
72
72
รวมต้นทุนต่อไร่
2,052 บาท
2,052 บาท
ผลผลิตข้าว
6.5 ตัน
6.5 ตัน
สีข้าวสารขายเอง ต่อตัน
9,098 บาท
16,200 บาท
รวมรายได้
59,137 บาท
105,300 บาท
ต้นทุนรวม 9 ไร่
18,468 บาท
18,468 บาท
กำไรสุทธิ
40,669 บาท
86,832 บาท
 
เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา กนกพร ทำนาแบบลดต้นทุน เลิกใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นทุนการทำนาจึงมีแค่ 2,052 บาทต่อไร่ ซึ่งจะต่ำกว่าการทำนาแบบใช้สารเคมีมากกว่าครึ่ง ในปี 2554 กนกพรได้นำพื้นที่นาปรัง 9 ไร่ เข้าร่วมโครงการประกันราคา ขายข้าวให้โรงสีได้เงิน 7,850 บาท และได้เงินประกันราคา 1,248 บาท รวมเป็นเงิน 9,098 บาทุ รวมผลผลิต 6.5 ตัน ได้รายได้ 59,137 บาท
 
แต่ปี 2555 ไม่ได้เข้าร่วมโครงการของรัฐ เนื่องจากมีโรงสีของกลุ่ม ได้แปรรูปผลผลิตข้าวเปลือกเป็นข้าวสารจำหน่ายเอง โดยข้าวเปลือก 1 ตัน สีเป็นข้าวสารได้ 600 กก. ราคาข้าวสาร 27 บาทต่อกก. คิดเป็นเงิน 16,200 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 105,300 บาท คิดเป็นกำไรสุทธิ ที่หักต้นทุนการผลิตแล้ว 86,832 บาท
 
นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้ปลายข้าว ข้าวหัก แกลบ รำ เอาไว้ขายเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในโรงสีอีกด้วย แกลบกระสอบละ 5 บาท ปลายข้าวและรำ 10 บาทต่อกก. โดยข้าวเปลือก 1 ตัน จะได้รายได้จากการขายผลพลอยได้เหล่านี้อีก 102 บาท
 

บทสรุป

จากทั้ง 3 กรณีตัวอย่างของชาวนารายย่อยในภาคกลางข้างต้น แม้ว่าอาจจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่น้อยนิด ไม่อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนของชาวนารายย่อยในภาคกลาง หรือทั่วประเทศ แต่ก็ได้ให้ภาพตัวอย่างหนึ่งของชีวิตชาวนาไทยที่ลำพังรายได้จากการทำนาอย่าง เดียวไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้อยู่รอดได้ และยังมีชาวนาและเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่ได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่หรือ เข้าไม่ถึงนโยบายการสนับสนุนจากรัฐทั้งในอดีตและปัจจุบัน
 
ชีวิตของชาวนารายย่อยยังตกอยู่ในชะตากรรมของความเสี่ยง หากชาวนายังไม่ทบทวนและปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของตนเอง รวมถึงนโยบายรัฐยังไม่ทบทวนแก้ไขให้ตรงจุด แนวโน้มชาวนาก็จะจมอยู่กับวังวนของปัญหาหนี้สิน การสูญเสียที่ดินทำกิน และความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในอนาคตมากยิ่งขึ้น
 

ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา

1.     ปัญหาส่วนหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยขาดทุน เพราะต้นทุนการผลิตทำนาสูง เนื่องจากยังใช้ปุ๋ยและยาเคมีที่มีราคาแพง รัฐต้องควบคุมการนำเข้าสารเคมี และดูแลเรื่องราคาสารเคมีให้เป็นธรรม และที่สำคัญเกษตรกรต้องลดต้นทุนการผลิตของตัวเองให้ได้
 
2.     รัฐควรดูแลปัญหาที่ดินของเกษตรกรที่ อยู่ใน ธกส. ธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆ มีที่ดินเกษตรกรจำนวนมากที่หลุดมือ เพราะต้องนำที่ดินไปขายใช้หนี้สิน หรือบางส่วนต้องแบ่งขายไป มีที่ดินทำกินไม่พอกิน
 
3.     รัฐควรสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และหนี้สินเกษตรกร ไม่ควรเก็บดอกเบี้ยเกินร้อยละ 3-4 ต่อปี
 
4.     รัฐควรสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเอง และควบคุมค่าเช่าที่นา ที่เพิ่มขึ้นตามราคาข้าว ปัจจุบัน 2,300 บาทต่อรอบต่อไร่
 
5.     นโยบายการช่วยเหลือชาวนา ควรมีโครงการสนับสนุนทั้งปัญหาราคาข้าว การประกันราคาร่วมด้วย เพื่อรองรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ และผลผลิตเสียหาย และเงินที่ได้ไม่ควรล่าช้า เพราะเกษตรกรต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว และดอกเบี้ยเงินกู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น