ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา
2553 (ศปช.)
และเครือข่ายสันติประชาธรรมออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลคืนสิทธิและเสรีภาพ
ให้แก่นักโทษการเมือง
ตาม “ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง” ของคณะนิติ
ราษฎร์
นับเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน
นับตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะได้ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
จนนำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนจำนวนมาก
และนับแต่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นบริหารประเทศ
กระบวนการเยียวยาให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในรูปของเงินชดเชย
รวมทั้งการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องก็ได้เริ่มไปบ้างแล้ว
แต่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมจำนวนมาก
กลับไม่ได้รับการเหลียวแลใด ๆ จากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอย่างจริงจังเลย
ศปช. และเครือข่ายสันติประชาธรรมขอเตือนความจำทรงจำของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล ด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ถูกจับกุมคุมขังหลังเหตุการณ์ เมษายน-พฤษภาคม 2553 ดังต่อไปนี้
ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นว่าคนเสื้อแดงถูกปฏิบัติประหนึ่ง
ศัตรูของชาติหรืออาชญากรร้ายแรง ทั้ง ๆ
ที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงมีสาเหตุมาจากความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง
ที่เริ่มก่อตัวขึ้นนับแต่การรัฐประหารปี 2549
พวกเขามุ่งต่อต้านอำนาจฉ้อฉลที่สนับสนุนและมาพร้อมกับการรัฐประหาร
และเรียกร้องให้สังคมเคารพในสิทธิการเมืองตามแนวทางประชาธิปไตยของพวกเขา
นอกจากนี้ หลังรัฐประหาร 2549 จำนวนนักโทษการเมืองจากกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความหวาดกลัวมากกว่าเพื่อสร้างความยุติธรรม ในสังคม ผู้ถูกกล่าวหามีแนวโน้มจะถูกลงโทษรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ราวกับว่าพวกเขาเป็นฆาตกรอำมหิต ขณะเดียวกัน มันได้ตอกลิ่มความแตกแยกและความเกลียดชังในสังคมให้รุนแรงมากขึ้น และไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ได้เลย กรณีนายอำพล ตั้งนพคุณ (อากง) และล่าสุด นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ทำให้ชื่อเสียของประเทศไทยฉาวโฉ่ไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้ มีอำนาจในสังคม รวมทั้งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย ประธานรัฐสภา และแกนนำ นปช. กลับเมินเฉยต่อปัญหานี้อย่างเลือดเย็น เพียงเพื่อรักษาสถานะอำนาจทางการเมืองของตนไว้เท่านั้น นับเป็นสิ่งที่น่าละอายและหยามเหยียดอย่างยิ่ง ทั้งที่ภาระกิจสำคัญที่คนเหล่านี้รับปากกับประชาชนของตนก่อนเลือกตั้งว่า จะผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง
แต่เมื่อคนเหล่านี้ได้เข้ามามีอำนาจ กลับไม่ได้มีความพยายามอย่างจริงจัง ที่จะคืนความยุติธรรมให้กับนักโทษการเมืองเลย ทั้ง ๆ ที่อำนาจที่พวกท่านยึดครองอยู่ในขณะนี้ เป็นผลโดยตรงจากการต่อสู้ของประชาชนเสื้อแดงโดยแท้
บัดนี้ กลุ่มองค์กรประชาชนต่าง ๆ ในนามของ “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” ภายใต้การนำของ “กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล” เห็นความสำคัญที่จะต้องผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมืองอย่างเร่งด่วน
ศปช. และเครือข่ายสันติประชาธรรมจึงขอประกาศสนับสนุนต่อการรณรงค์ของ “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” ที่จะนัดชุมนุม “หมื่นปลดปล่อย” ในวันที่ 29 มกราคม ณ หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เพื่อคืนสิทธิและเสรีภาพให้แก่นักโทษการเมือง ตาม “ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง” ของคณะนิติราษฎร์
เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และนปช. ถือเป็นภาระกิจเร่งด่วนของตนที่จะต้องคืนความยุติธรรม ให้แก่นักโทษการเมืองทุกกลุ่ม
สนับสนุนการแก้ไข รธน. เพื่อนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองของ
“แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง”
ศปช. และเครือข่ายสันติประชาธรรมขอเตือนความจำทรงจำของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล ด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ถูกจับกุมคุมขังหลังเหตุการณ์ เมษายน-พฤษภาคม 2553 ดังต่อไปนี้
- เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตเข้าจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจ ตั้งข้อหาร้ายแรงเกินจริง เป็นการจับกุมแบบเหวี่ยงแห ขาดหลักฐาน หลายกรณีมีเพียงภาพถ่ายผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นหลักฐานเท่านั้น
- มีการซ้อมและทรมานผู้ต้องขัง หลายรายเป็นเยาวชน
- ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ หลายคนเป็นผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพ และเยาวชนที่ยังศึกษาอยู่
- ช่วงแรกของการจับกุม ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าถึงทนายความเพราะเจ้าหน้าที่ตัดการสื่อสาร จำนวนมากถูกจับกุมด้วยข้อหาละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และศาลพิพากษาตัดสินอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาแค่ 15 นาที
- ส่วนใหญ่ไม่มีทนายความเพราะฐานะยากจน ถูกเจ้าหน้าที่บังคับหรือเกลี้ยกล่อมให้รับสารภาพโดยทำให้หลงเชื่อว่าจะได้ รับการบรรเทาโทษ แต่เมื่อรับสารภาพ พวกเขากลับถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยไม่มีโอกาสนำพยานหลักฐานฝ่ายตนเข้าต่อสู้คดี
- มีการใช้ข้อหาก่อการร้ายต่อผู้ต้องขัง 44 รายในลัษณะครอบจักรวาล โดยไม่มีนิยามและขอบเขตของคำว่าก่อการร้ายที่ชัดเจน
- ผู้ชุมนุมจำนวนมากถูกคุมขังเกินกว่าคำพิพากษา จำนวนมากถูกขังฟรีเป็นเวลาปีกว่าหลังจากศาลเห็นว่า เห็นว่าหลักฐานไม่เพียงพอและพิพากษายกฟ้อง
- ผู้ชุมนุมจำนวน 22 คนยังถูกคุมขังอยู่ ณ เรือนจำชั่วคราว รร.พลตำรวจ บางเขน
นอกจากนี้ หลังรัฐประหาร 2549 จำนวนนักโทษการเมืองจากกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความหวาดกลัวมากกว่าเพื่อสร้างความยุติธรรม ในสังคม ผู้ถูกกล่าวหามีแนวโน้มจะถูกลงโทษรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ราวกับว่าพวกเขาเป็นฆาตกรอำมหิต ขณะเดียวกัน มันได้ตอกลิ่มความแตกแยกและความเกลียดชังในสังคมให้รุนแรงมากขึ้น และไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ได้เลย กรณีนายอำพล ตั้งนพคุณ (อากง) และล่าสุด นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ทำให้ชื่อเสียของประเทศไทยฉาวโฉ่ไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้ มีอำนาจในสังคม รวมทั้งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย ประธานรัฐสภา และแกนนำ นปช. กลับเมินเฉยต่อปัญหานี้อย่างเลือดเย็น เพียงเพื่อรักษาสถานะอำนาจทางการเมืองของตนไว้เท่านั้น นับเป็นสิ่งที่น่าละอายและหยามเหยียดอย่างยิ่ง ทั้งที่ภาระกิจสำคัญที่คนเหล่านี้รับปากกับประชาชนของตนก่อนเลือกตั้งว่า จะผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง
แต่เมื่อคนเหล่านี้ได้เข้ามามีอำนาจ กลับไม่ได้มีความพยายามอย่างจริงจัง ที่จะคืนความยุติธรรมให้กับนักโทษการเมืองเลย ทั้ง ๆ ที่อำนาจที่พวกท่านยึดครองอยู่ในขณะนี้ เป็นผลโดยตรงจากการต่อสู้ของประชาชนเสื้อแดงโดยแท้
บัดนี้ กลุ่มองค์กรประชาชนต่าง ๆ ในนามของ “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” ภายใต้การนำของ “กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล” เห็นความสำคัญที่จะต้องผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมืองอย่างเร่งด่วน
ศปช. และเครือข่ายสันติประชาธรรมจึงขอประกาศสนับสนุนต่อการรณรงค์ของ “แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” ที่จะนัดชุมนุม “หมื่นปลดปล่อย” ในวันที่ 29 มกราคม ณ หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เพื่อคืนสิทธิและเสรีภาพให้แก่นักโทษการเมือง ตาม “ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง” ของคณะนิติราษฎร์
เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และนปช. ถือเป็นภาระกิจเร่งด่วนของตนที่จะต้องคืนความยุติธรรม ให้แก่นักโทษการเมืองทุกกลุ่ม
ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.)
เครือข่ายสันติประชาธรรม
พวงทอง ภวัครพันธุ์
กฤตยา อาชวนิจกุล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เวียงรัฐ เนติโพธิ์
เกษม เพ็ญภินันท์
ชัยธวัช ตุลาธน
ขวัญระวี วังอุดม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นีรนุช เนียมทรัพย์
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม
อนุสรณ์ อุณโณ
กฤตยา อาชวนิจกุล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เวียงรัฐ เนติโพธิ์
เกษม เพ็ญภินันท์
ชัยธวัช ตุลาธน
ขวัญระวี วังอุดม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นีรนุช เนียมทรัพย์
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม
อนุสรณ์ อุณโณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น