30 มกราคม 2556 ที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพั ฒนากฎหมายด้านกระบวนการยุติ ธรรมในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ประชุมหารือเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติ ดยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... โดยมีนายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมายเป็ นประธานการประชุม
นายกอบกูล จันทวโร ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการป้องกั นและปราบปรามยาเสพติด เปิดเผยว่า หากไม่ทบทวนทั้งระบบแทนที่จะดี ก็จะมีปัญหาอย่างอื่นตามมาอี กหลายเรื่อง ซึ่งหากพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดพบว่า เปิดช่องให้การสมัครใจเข้ารั บการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติ ดหากตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย โดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา ประเด็นนี้อาจจะมีปัญหาตามมาว่ าการพิสูจน์เบื้องต้นยังมี กฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับเกี่ยวกับการตรวจหาสารเสพติ ดในร่างกาย เบื้องต้นน่าจะเกิดความสั บสนพอสมควร เนื่องจากอำนาจของเจ้าหน้าที่ ตรวจพิสูจน์ในแต่ฉบับต่างมี ระเบียบที่แตกต่างกัน เช่น ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข, ระเบียบปปส. ดังนั้นการตรวจพิสูจน์ของเจ้ าหน้าที่จะมีความแตกต่างกันอยู่
นายกอบกูล กล่าวว่า มีข้อสังเกตว่าการตรวจพิสูจน์ เบื้องต้นไม่อาจจะทราบได้ว่าเป็ นการเสพยาเสพติดหรือไม่ก่อนเข้ าสู่กระบวนการบำบัดรักษาผู้ติ ดยาเสพติด ขณะที่การสมัครใจเข้ารับการบำบั ดรักษาผู้ติดยาเสพติดในทางปฏิบั ตินั้นการเกิดลักษณะกึ่งบังคั บบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ซึ่งไม่น่าจะใช้กับผู้ เสพยาเสพติดซึ่งเป็นผู้ป่ วยและควรจะใช้วิธีการบำบัดอย่ างถูกวิธีด้วยนอกจากนี้ยังมีข้ อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า ในพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้มีการคั ดกรองผู้เสพยาเสพติดได้อย่างแท้ จริง อีกทั้งไม่มีหลักเกณฑ์ในการคั ดกรองผู้เสพยาเสพติด ขณะเดียวกันผู้เสพที่จะต้องเข้ าสู่การบำบัดฟื้นฟูนั้นในร่างพ. ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ระบุไว้แต่อย่ างใด เช่นเดียวกับมาตรการติดตามช่ วยเหลือก็ไม่ได้ระบุไว้
นายชาติชาย สุวิกรม อดีตที่ปรึกษาการป้องกั นและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกั นและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดอยู่ที่ข้อเท็จจริ งและปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งอาจจะต้องจัดระบบการบำบัดรั กษาที่ดีและใช้ได้ผลจริง เพราะข้อเท็จจริงที่พบคือ ยิ่งมีการปราบปรามมากขึ้นจะยิ่ งส่งผลให้ยาเสพติดให้โทษมี ราคาเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการบำบัดรั กษาและการปราบปรามควรมี ความสอดคล้องกัน เป็นข้อสังเกตที่น่าจะนำมาพิ จารณาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ เกี่ยวข้องต่อไป
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ประธานมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิ ทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า ต้องสังคยานากฎหมายที่เกี่ยวข้ องกับยาเสพติดทั้งระบบ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิ ชาการ ส่วนตัวไม่ขัดข้องหากจะใช้ มาตรการทางกฎหมายอย่างเต็มที่ แต่จะต้องช่วยกันคิดว่ าระบบควรจะเป็นอย่างไรและควรเน้ นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนี้เห็นว่าควรมีการพิ จารณางบประมาณที่ใช้ในการบำบั ดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยคำนึงถึงผลที่ได้รั บจากการดำเนินงานที่ผ่ านมาของภาครัฐใช้ได้ผลมากน้ อยเพียงใด เพราะเงินภาษีของประชาชนจะใช้ โดยไม่สมเหตุสมผลไม่ได้
นายวีระพันธ์ งามมี ผู้จัดการภาคสนาม มูลนิธิพีเอสไอ กล่าวว่า ประเด็นที่เป็นข้อกังวลเกี่ยวกั บร่าง พ.ร.บ.ฟื้นฟูนี้ มี 3 ประเด็นคือ 1.การให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ ตำรวจมากเกินไป 2.การนำคำว่า ความพึงพอใจ มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผู้ที่ ได้รับการบำบัดตามร่างพ.ร.บ.นี้ แล้ว ก็จะมีปัญหาว่า เป็นความพึงพอใจของใคร มีหลักเกณฑ์และขอบเขตในการพิ จารณาอย่างไร 3. การจัดทำบันทึกข้อตกลงกลายเป็ นเจ้าหน้าที่อาจเข้าใจว่า หากไม่ทำจะเป็นการละเว้นการปฏิ บัติหน้าที่เป็นความผิ ดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ทั้งที่บันทึกข้อตกลงนี้ควรที่ จะให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและรั บรอง ไม่ใช่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายวีระพันธ์ กล่าวว่า วาทกรรมของคำว่า ผู้ติดยาคือผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ ดีแต่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งทัศนคติของคนในสังคมมั กมองว่า ผู้ใดก็ตามที่มีสารเสพติดในร่ างกายจะเป็นผู้ติดยาเสพติดหรื อผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิ งยาเสพติด จึงต้องได้รับการบำบัด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วยังมี ผู้ที่มีสารเสพติในร่างกายแต่ ไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องพึ่ งยาเสพติดเสมอไป ในทางการแพทย์สามารถแบ่งแยกได้ อย่างชัดเจนระหว่างผู้ใช้ยา(dru g use) และผู้ติดยาหรืออยู่ในภาวะพึ่ งพิงยาเสพติด(drug dependence) และบุคคลสองกลุ่มนี้ก็มี แนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน
“การอยู่ในภาวะพึ่งพิงยาเสพติ ดหรือที่เข้าใจกันทั่วไปว่า การติดยา นั้นเกิดจากยาเสพติดเหล่านี้ จะกระตุ้นวงจรความพึงพอใจ โดยการเข้าไปเพิ่ มการทำงานของสารโดปามีน เมื่อสมองเกิดความพึงพอใจจึ งเสพซ้ำอีก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การเสพติด เป็นโรคของสมองติดยาและการติ ดใจ
จึงจะถูกต้อง นอกจากนี้ ต้องมีความเข้าว่า ภาวะพึ่งพิงยาเสพติด
เป็นภาวะเรื้อรัง ในทางการแพทย์จึงทำได้เพียง การทุเลาการเจ็บป่วย
เพิ่มคุณภาพชีวิต และการป้องกันไม่ให้มีอาการเพิ่ มมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสริม เช่น ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อม ทำให้ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงยาซึ่ งเข้ารับการบำบัดแล้วกลับไปพึ่ งพิงยาอีกครั้งถึงร้อยละ11” นายวีระพันธ์ กล่าว
นายกอบกูล จันทวโร ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการป้องกั
นายกอบกูล กล่าวว่า มีข้อสังเกตว่าการตรวจพิสูจน์
นายชาติชาย สุวิกรม อดีตที่ปรึกษาการป้องกั
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ประธานมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิ
นายวีระพันธ์ งามมี ผู้จัดการภาคสนาม มูลนิธิพีเอสไอ กล่าวว่า ประเด็นที่เป็นข้อกังวลเกี่ยวกั
นายวีระพันธ์ กล่าวว่า วาทกรรมของคำว่า ผู้ติดยาคือผู้ป่วยเป็นสิ่งที่
“การอยู่ในภาวะพึ่งพิงยาเสพติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น