พบประเทศกว่า 2 ใน 3 ทั่วโลกขาดการป้องกันการคอรัปชั่นในกิจการป้องกันประเทศ ระบุไทยจัดอยู่ในกลุ่ม "ความเสี่ยงสูง"
ผลสำรวจขององค์กรเพื่อความโปร่งใสในอังกฤษ ระบุในวันอังคารว่า เยอรมนีกับออสเตรเลียเป็นเพียง 2 ในจำนวน 82 ประเทศที่มีกลไกป้องกันการคอรัปชั่น ประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกหลายประเทศไม่มีระบบนี้
องค์กรแห่งนี้เผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างดัชนีวัดวิธีการป้องกันการคอรัปชั่นในกิจการ ทหารของรัฐบาล ซึ่งพบว่า 57 ประเทศ หรือเกือบ 70% มีการควบคุมคอรัปชั่นที่ย่ำแย่ ดัชนีดังกล่าวมีเช่น การควบคุมนโยบายกลาโหมของสภาผู้แทนราษฎร และมาตรฐานที่เรียกร้องจากบริษัทค้าอาวุธ เป็นต้น
ทั้ง 82 ประเทศที่สำรวจในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายทางทหารคิดเป็น 94% ของมูลค่ารวมของโลกในปี 2554 โดยเป็นจำนวนเงิน 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ คาดว่าต้นทุนของการคอรัปชั่นในกิจการทหารในแต่ละปีตกอย่างน้อย 20,000 ล้านดอลลาร์
มาร์ค พายแมน ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงและการป้องกันประเทศของ Transparency International UKบอกว่า คอรัปชั่นก่อให้เกิดอันตราย เพราะทหารอาจได้รับอุปกรณ์ที่ใช้งานไม่ได้ผล และสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
ประเทศผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดที่ขาดการควบคุมคอรัปชั่น มีราว 2 ใน 3 ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดราวครึ่งหนึ่งขาดกลไกดังกล่าว
จีน รัสเซีย และอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้นำด้านการส่งออกอาวุธ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการคอรัปชั่นในกิจการทหาร ส่วนในกลุ่มผู้นำเข้าอาวุธนั้น อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงค์โปร์ ประเทศไทย และตุรกี จัดอยู่ในกลุ่มนี้
ประเทศที่มี "ความเสี่ยงขั้นวิกฤต" มี 9 ประเทศ คือ แอลจีเรีย อังโกลา คาเมรูน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ เอริเทรีย ลิเบีย ซีเรีย และเยเมน
ประเทศที่จัดว่ามี "ความเสี่ยงสูงมาก" ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน บาห์เรน อิหร่าน ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และศรีลังกา
สหรัฐ อังกฤษ สวีเดน และเกาหลีใต้ จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และโปแลนด์ มีความเสี่ยงปานกลาง
การสำรวจนี้ไม่ได้ดูแค่เรื่องโอกาสเกิดการคอรัปชั่นในการทำสัญญาจัดซื้อจัด จ้างในกิจการทหารเท่านั้น แต่ยังดูถึงความเสี่ยงที่จะมีการนำงบประมาณทหารไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และความเสี่ยงที่จะเกิดการโกงกินภายในกองทัพด้วย.
Source : Reuters ; AFP (image)
ผลสำรวจขององค์กรเพื่อความโปร่งใสในอังกฤษ ระบุในวันอังคารว่า เยอรมนีกับออสเตรเลียเป็นเพียง 2 ในจำนวน 82 ประเทศที่มีกลไกป้องกันการคอรัปชั่น ประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกหลายประเทศไม่มีระบบนี้
องค์กรแห่งนี้เผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างดัชนีวัดวิธีการป้องกันการคอรัปชั่นในกิจการ ทหารของรัฐบาล ซึ่งพบว่า 57 ประเทศ หรือเกือบ 70% มีการควบคุมคอรัปชั่นที่ย่ำแย่ ดัชนีดังกล่าวมีเช่น การควบคุมนโยบายกลาโหมของสภาผู้แทนราษฎร และมาตรฐานที่เรียกร้องจากบริษัทค้าอาวุธ เป็นต้น
ทั้ง 82 ประเทศที่สำรวจในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายทางทหารคิดเป็น 94% ของมูลค่ารวมของโลกในปี 2554 โดยเป็นจำนวนเงิน 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ คาดว่าต้นทุนของการคอรัปชั่นในกิจการทหารในแต่ละปีตกอย่างน้อย 20,000 ล้านดอลลาร์
มาร์ค พายแมน ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงและการป้องกันประเทศของ Transparency International UKบอกว่า คอรัปชั่นก่อให้เกิดอันตราย เพราะทหารอาจได้รับอุปกรณ์ที่ใช้งานไม่ได้ผล และสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
ประเทศผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดที่ขาดการควบคุมคอรัปชั่น มีราว 2 ใน 3 ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดราวครึ่งหนึ่งขาดกลไกดังกล่าว
จีน รัสเซีย และอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้นำด้านการส่งออกอาวุธ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการคอรัปชั่นในกิจการทหาร ส่วนในกลุ่มผู้นำเข้าอาวุธนั้น อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงค์โปร์ ประเทศไทย และตุรกี จัดอยู่ในกลุ่มนี้
ประเทศที่มี "ความเสี่ยงขั้นวิกฤต" มี 9 ประเทศ คือ แอลจีเรีย อังโกลา คาเมรูน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ เอริเทรีย ลิเบีย ซีเรีย และเยเมน
ประเทศที่จัดว่ามี "ความเสี่ยงสูงมาก" ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน บาห์เรน อิหร่าน ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และศรีลังกา
สหรัฐ อังกฤษ สวีเดน และเกาหลีใต้ จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และโปแลนด์ มีความเสี่ยงปานกลาง
การสำรวจนี้ไม่ได้ดูแค่เรื่องโอกาสเกิดการคอรัปชั่นในการทำสัญญาจัดซื้อจัด จ้างในกิจการทหารเท่านั้น แต่ยังดูถึงความเสี่ยงที่จะมีการนำงบประมาณทหารไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และความเสี่ยงที่จะเกิดการโกงกินภายในกองทัพด้วย.
Source : Reuters ; AFP (image)
by
sathitm
29 มกราคม 2556 เวลา 14:45 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น