ที่มา ประชาไท
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 3 บัญญัติว่า
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งหน่วยงานตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
จากบทบัญญัติดังกล่าวของรัฐธรรมนูญทำให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่ตามหลักของ
การไม่รวบอำนาจไว้ที่บุคคลคนเดียวหรือองค์กรเดียวอย่างชัดเจน นั่นคือ
รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย
หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ว่าทั้งสามองค์กรดังกล่าวมีฐานอำนาจที่มา
จากประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในทางกฎหมายของรัฐไทย
โดยแต่ละองค์กรต่างทำหน้าที่ของตนที่ได้บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ
กรณีของรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีนั้นผู้เขียนจะขอละไว้ไม่พูดถึงในกรณีนี้
เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถทำการตรวจสอบผู้แทนของ
ตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งสื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสอง
องค์กรกับประชาชนอย่างชัดเจนแต่ในกรณีของศาลนั้นเราเพิ่งจะได้เห็นการออกมา
ตอบโต้บทความของนักวิชาการต่างๆไม่ว่าจะโดยอธิบดีศาสลอาญาหรือแม้แต่ตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญเอง
จึงเป็นที่น่าคิดว่าเมื่อศาลเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยแล้วนั้น
เหตุใดศาลจึงตั้งตัวเองให้มีความศักดิ์สิทธิยิ่งกว่าอีกสององค์กรข้างต้น
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556
ที่ผ่านมาศาลอาญาได้มีคำวินิจฉัยในคดีความผิดเกี่ยวกับมาตรา 112 ของนาย
สมยศ โดยศาลได้ตัดสินให้นาย สมยศ
มีความผิดตามฟ้องและลงโทษจำคุกเป็นเวลาสิบปีสำหรับความผิดตามมาตรา112
หลังจากศาลได้มีคำวินิจฉัยนี้ได้มีปฏิกริยาจากสาธารณชนเป็นวงกว้างทั้งเห็น
ด้วยและไม่เห็นด้วยในส่วนที่เห็นด้วยนั้นผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงแต่ในส่วน
ของความเห็นแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลนั้นในบางความเห็นแย้งศาลกลับออกมาตอบ
โต้ว่าเป็นการหมิ่นศาลละเมิดอำนาจศาลเช่น จดหมายเปิดผนึกของนายวีรพัฒน์
ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระเป็นต้น นอกจากนี้ในกรณีของนาย อำพน หรือ อากงนั้น
ศาลได้เคยออกมาตอบโต้แล้วครั้งหนึ่งซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ผู้คนจำนวนมาก
จึงทำให้ต้องกลับมานั่งทบทวนกันในทางหลักกฎหมายว่าเหตุใดเราสามารถวิจารณ์
นโยบายของรัฐบาลได้ทั้งทางตรงทางอ้อม
ทั้งสุภาพและหยาบคายเราสามารถวิจารณ์การทำหน้าที่ของผู้แทนของเราได้เช่น
เดียวกัน
แต่ในกรณีของศาลนั้นกลับมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าวิจารณ์ได้แต่ต้อง
เป็นไปตามหลักวิชาและวันดีคืนดีผู้วิจารณ์อาจโดนข้อหาหมิ่นศาลซึ่งเป็นกรณี
ที่ค่อนข้างน่าขบขันเนื่องจากคนวินิจฉัยก็ดี
นั่นคือองค์กรศาลยุติธรรมเองเหมือนกับเป็นการประมานว่า
อย่าวิจารณ์ข้านะข้ามีกฎหมายคุ้มครองและข้าเองเป็นคนที่ใช้กฎหมายนั้นตัดสิน
พวกเจ้า
ปัญหาที่ต้องนำมาขบคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจของศาลนั้นในทางตำราเรียนแล้ว
นั้นศาลถือเองว่าคำวินิจฉัยของศาลถูกควบคุมโดยทางดิ่ง (vertical)
อยู่แล้วโดยการควบคุมแบบเป็นลำดับชั้นจากชั้นต้นไปจนถึงชั้นสูง
ไม่มีการควบคุมจากภายนอกทำให้ศาลเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอิสระไม่ยึดโดยงกับ
อาณัติใดๆ ทั้งสิ้น
ซึ่งต่างจากรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีที่สามารถถูกตรวจสอบได้ทั้งจากภายในและภาย
นอก ทีนี้เมื่อเกิดคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ
จะมีกระบวนการอย่างไรในการควบคุมหรือเอาแค่การตรวจสอบก็พอเพื่อที่จะตรวจสอบ
ได้ว่า คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลนั้น น่าเชื่อถือ และ ยุติธรรม
สำหรับใคร
ทั้งที่มีข้อเสนอจากนักวิชาการจำนวนมากเรียกร้องขอให้ศาลมีจุดเกาะเกี่ยว
หรือจุดเชื่อมโยงกับประชาชนแต่ข้อเสนอนี้เสมือนการผายลมเพราะไม่ได้รับการ
ตอบรับเท่าที่ควรจากองค์กรศาลเอง
ตัวอย่างของความน่าเชื่อถือของคำวินิจฉัยของศาลเช่น ในกรณีของนาย อำพล
ศาลกล่าวว่า "แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า
จำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้อง...ก็ตาม
แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบด้วยประจักษ์พยาน
เนื่องจากผู้ที่กระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรงดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการ
กระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้
ทั้งจะอาศัยโอกาสกระทำเมื่อไม่มีผู้ใดรู้เห็น
จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลจากพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีที่โจทก์นำสืบเป็น
เครื่องชี้วัดให้เห็นถึงการกระทำและเจตนาซึ่งอยู่ภายใน
ซึ่งจากพยานเหตุแวดล้อมกรณีที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมดนั้น
ก็สามารถนำสืบแสดงให้เห็นถึงพฤติการณ์ทั้งหมดซึ่งบ่งชี้อย่างใกล้ชิดและสม
เหตุสมผลโดยไม่มีข้อพิรุธใด ๆ
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมดประกอบกันจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดย
ปราศจากข้อสงสัยว่า ในช่วงเวลาเกิดเหตุ
จำเลยเป็นผู้ส่งข้อความทั้งสี่ข้อความตามฟ้อง...ซึ่งข้อความดังกล่าวมี
ลักษณะที่เป็นการดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย
และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท
โดยประการที่จะน่าทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า
พระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น
และถูกเกลียดชัง...ข้อความดังกล่าวล้วนไม่เป็นความจริง
เพราะข้อเท็จจริงที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งประเทศว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ทั้งสองพระองค์
ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา...จำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง"
คำวินิจฉัยนี้มีปัญหาอะไร
หากคนที่เรียนกฎหมายหรือทราบหลักการพื้นฐานกฎหมายจะทราบว่าในทางกฎหมายอาญา
นั้น มีหลักอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า Beyond the reasonable doubt
หรือการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย
แต่จากคำวินิจฉัยนี้แสดงให้เห็นว่าศาลเองไม่ได้เดินไปตามหลักนี้แต่กลับให้
เหตุผลไปในอีกทิศทางหนึ่งซึ่งไม่สามารถหาตรรกของคำวินิจฉัยนี้ได้เลยครั้นจะ
รออุทธรณ์ก็สายไปเสียแล้วเพราะนายอำพน หรืออากงได้เสียชีวิตไปแล้ว
ปล่อยให้คำพิพากษานี้คาใจและเป็นข้อกังขาแก่สังคมมาจนปัจจุบัน
ปัญหาคือการให้คำอรรถาอธิบายของศาลแก่สาธารณชนนั้นเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่
หากสาธารณชนไม่เห็นด้วยจะวิจารณ์ได้หรือไม่
กรณีล่าสุดศาลได้ออกมาตอบโต้นายวีรพัฒน์
นักกฎหมายอิสระที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการคุกคามเสรีภาพของนายวีระพัฒน์อย่าง
ชัดเจนด้วยการประกาศว่าจะนำเอายุทธโธปกรณ์ทั้งหมดมาเช็คนายวีรพัฒน์
ศาลอ้างว่าหากเป็นการวิจารณ์ทางวิชาการศาลสามารถรับได้
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ คำว่า วิชาการ ของศาลนั้น ศาลท่านตีความอย่างไร
ด้วยความเคารพต่อศาล(ผู้เขียนต้องแสดงความเคารพต่อศาลให้เห็นก่อนเพราะผู้
เขียนเป็นเพียงนักเรียนกฎหมายที่ยังรักตัวกลัวอยู่) คำว่าวิชาการนั้น
อาจมีได้หลายความหมายแต่หากพูดกันแบบชาวบ้านนั่นก็คือการอ้างอิงจากหลักวิชา
ที่ได้ร่ำเรียนมาทั้งจากหนังสือและจากครูอาจารย์ผู้สอน
แน่นอนว่าศาลได้ให้เหตุผลว่าศาลยอมรับคำวิจารณ์เเต่ต้องเป็นในวงกว้างไม่ใช่
เเเค่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่มีอคติต่อศาล ในวงกว้าง รวมถึงประชาชน
เเละผู้ที่เข้าใจถึงระบบการทำงานของศาล
ประเด็นนี้
ผู้เขียนอยากจะบอกกับศาลว่าในวงกว้างรวมถึงประชาชนและผู้ที่เข้าใจถึงระบบ
การทำงานของศาล นั้นมีกี่คน
เมื่อการทำงานของศาลนั้นตัวศาลเองเป็นองค์กรปิดที่ไม่ยอมเปิดให้องค์กรภาย
นอกเข้าไปตรวจสอบ แล้วคำว่าวงกว้างนี่หมายถึงใครครับ ด้วยความเคารพ
หากศาลไม่เปิดองค์กรให้ประชาชนเข้าใจการทำงานนั่นหมายความว่าประชาชนตาดำๆ
ไม่มีสิทธิ์วิจารณ์ศาลได้เลย นี่ขนาดนักวิชาการยังโดนศาลขู่สักขนาดนี้
แล้วชาวบ้านจะเหลือเหรอครับนายท่าน แม้ท่านจะอ้างว่าใน กต
เองมีผู้ทรงตุณวุิฒิที่ตั้งมาจากวุฒิสภา
แต่ท่านพิจารณาสัดส่วนก่อนครับว่ามีจำนวนเท่าไหร่และคนนอกนั้นเป็นใครมาก่อน
ต่อข้อหาหมิ่นศาลนั้น
คำว่าหมิ่นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า ก.
แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น
หรือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก็ว่า.
ในจดหมายเปิดผนึกของนายวีระพัฒน์เองนั้นผู้เขียนอ่านแล้วยังไม่มีการแสดงข้อ
ความว่ามีลักษณะที่ศาลกล่าวอ้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลเองก็ยังทรงสิทธิ์ในการตีความซึ่งผู้เขียนก็เคารพใน
จุดนี้
เมื่อศาลเองยกตัวเองให้เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนศาลก็พึงที่จะยอมรับ
คำวิจารณ์ทั้งแง่ดีและแง่ร้ายและนำไปปรับปรุงและพัฒนาองค์กรเพื่อให้ตัวศาล
เองมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนได้อย่างแท้จริง
และยิ่งในกรณีล่าสุดนั้นผู้เขียนเข้าใจ(เอง)ว่านานาชาติและนายวีรพัฒน์เอง
ต้องการวิจารณ์มาตรา
112เกี่ยวกับความสมเหตุสมผลทั้งหลายในแง่ปรัชญาและแนวคิดแต่ศาลกลับตีความไป
ได้ว่าอาจเป็นการหมิ่นศาล
ผู้เขียนเกรงว่าอีกหน่อยศาลจะหมดซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และความยุติธรรมไป
มากกว่านี้ เมื่อศาลลงมาเป็นผู้เล่นเสียเอง
ผู้เขียนขอฝากบทกลอนไว้ถึงศาลดังนี้ อันนินทากาเร เหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้องค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
หวังว่าหากศาลได้อ่านบทกลอนนี้แล้วศาลควรที่จะยอมรับคำวิจารณ์และนำไปพัฒนา
ตัวองค์กรให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
สุดท้ายนี้ผู้เขียนมักจะนึกถึงคำขอท้ายฟ้องว่า
โจทก์ไม่มีหนทางอื่นจะบรรเทาความเสียหายได้จึงมาขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง
หากศาลยังถือตนว่าตนเองศักดิ์สิทธิใครก็วิจารณ์ไม่ได้แล้วไซร้
อีกหน่อยหากประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำเห็นว่าศาลสร้างความศักดิ์สิทธิด้วยวิธี
การเช่นนี้อีกหน่อยศาลคงได้เป็นที่พึ่งของประชากรผู้หวังรวยทางลัดอีกประการ
เป็นแน่โดยการนำเอาแป้งมาทาตามใต้ถุนบันไดรั้วของศาลเพื่อหาเลขเด็ดเฉกเช่น
ที่เคยทำมากับบรรดาศาลเจ้าต่างที่ว่าศักดิ์สิทธินักหนา ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
ด้วยความเคารพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น