แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

คณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว กับคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

ที่มา ประชาไท


คณะกรรมการสากลเพื่อปกป้องนักข่าว หรือ CPJ (Committee for Protection Journalists: CPJ) ระบุชัดว่านายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารว็อยซ์ ออฟ ทักษิณ (Voice of Taksin) เป็นหนึ่งในบรรณาธิการ นักข่าว และคนทำงานวิชาชีพสื่อ จำนวน 232 คนจากทั่วโลกที่ถูกจับกุมคุมขังอันเนื่องมาจากการทำงานในวิชาชีพสื่อ ข้อความข้างล่างนี้คือข้อมูลที่ CPJ ใช้รณรงค์ให้มีการปล่อยตัวอดีตบรรณาธิการนิตยสารว็อยซ์ ออฟ ทักษิณ
https://www.cpj.org/imprisoned/2012.php
สมยศ พฤกษาเกษมสุข, นิตยสารว็อยซ์ออฟทักษิณ (Voice of Taksin)
ถูกคุมขังตั้งแต่ 30 เมษายน 2011

สมยศถูกจับกุมที่ชายแดนไทยบริเวณด่านตรวจอรัญประเทศขณะที่กำลังจะข้ามแดน ไปประเทศกัมพูชา เขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกรุงเทพโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวเป็นเวลา 84 วันซึ่งเป็นจำนวนวันสูงสุดตามกฎหมายอาญาของไทย ก่อนที่เขาจะถูกกล่าวหาฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพในวันที่ 26 กรกฎาคมของปีนั้น
สมยศอาจถูกลงโทษจำคุก 30 ปีสำหรับข้อหาต่างกรรมต่างวาระภายใต้กฎหมายหมิ่นฯทีห้ามข้อความใดๆกระทำผิด ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ (royal family)
การพิพากษาลงโทษภายใต้กฎหมายนี้มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี ข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพฯถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ในประเทศไทยที่มีความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ
ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีสาเหตุจากบทความ 2 ชิ้นที่ [ผู้กล่าวหา] คิดว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีการตีพิมพ์ในนิตยสารว็อยซ์ออฟทักษิณที่ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว นิตยสารข่าวฉบับนี้มีความเกี่ยวพันอย่างสูงกับกลุ่มกดดันทางการเมือง "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช)"  นิตยสารนี้เคยถูกกล่าวหาว่าตีพิมพ์บทความที่ยุยงปลุกปั่นฝ่ายผู้สนับสนุน นปช.ให้ก่อความรุนแรง
สมยศเป็นนักกิจกรรมด้านแรงงานและผู้นำการชุมนุมประท้วงทางการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการนิตยสารที่ก่อให้เกิดการถกเถียงนี้ เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความที่เป็นที่ถกเถียงที่มีการตีพิมพ์ ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2010 ตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่น บทความทั้งสองชิ้นตีพิมพ์โดยใช้นามแฝงของผู้เขียนว่า "จิตร พลจันทร์"
การสืบพยานคดีของสมยศสิ้นสุดลงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2012 แต่จนกระทั่งปลายปียังไม่มีการพิพากษา ศาลอาญากรุงเทพกำหนดฟังคำพิพากษาเดือนธันวาคม 2012 ศาลปฏิเสธการให้ประกันตัวสมยศ 10 ครั้งนับตั้งแต่เขาถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน 2011
สมยศถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามรายงานของสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (Internation Federation for Human Frights: FIDH) สมยศมีปัญหาเรื่องสุขภาพมาก รวมทั้งความดันในกระแสโลหิตสูง และโรคเก๊าธ์

เกี่ยวกับคณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว (Committee for Protection Journalists: CPJ)
คณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว ก่อตั้งปี 1981 โดยกลุ่มนักข่าวในสหรัฐอเมริกาที่ตระหนักว่าพวกเขาไม่อาจเมินเฉยต่อชะตากรรม ของเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ตกอยู่ในภยันอันตรายจากการทำหน้าที่ พวกเขาเห็นว่านักข่าวทั่วโลกควรต้องร่วมกันปกป้องสิทธิของเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องอดกลั้นและอันตราย
พันธกิจของ CPJ คือการส่งเสริมเสรีภาพสื่อทั่วโลกและปกป้องสิทธิของนักข่าวในการรายงานข่าว โดยปราศจากความกลัว CPJ จะรณรงค์ในทุกแห่งที่นักข่าวถูกเซ็นเซอร์ ถูกทำร้าย ถูกจับกุมคุมขัง หรือสังหารอันเนื่องมาจากการทำงาน
CPJ เริ่มรณรงค์ครั้งแรกในปี 1982 ต่อกรณีที่ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษ 3 คนถูกจับกุมในอาร์เจนติน่าในระหว่างรายงานข่าวสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falklands War) จดหมายรณรงค์จาก CPJ ช่วยให้นักข่าวทั้ง 3 คนได้รับการปล่อยตัว
ต่อมา CPJ ได้ขยายพันธกิจจากการปกป้องนักข่าวให้ครอบคลุมไปถึงการปกป้องบุคคลที่ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ข้อมูลข่าวสารในสังคมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น