แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

พื้นที่ประชาสัมพันธ์เลือกตั้งกทม.: ดร.โสภณ พรโชคชัย

ที่มา Thai E-News


ดร.โสภณ พรโชคชัย 1ในผู้สมัครอิสระ ใช้อินเตอร์เน็ตรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ผ่านเว็บบล็อก www.sopon4.blogspot.com  และเฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/dr.sopon เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ เมื่อเทียบกับผู้สมัครจากพรรคใหญ่ที่ขึ้นป้ายประชันกันทั่วกรุงเทพฯ

อาทิตย์ 27 มกราคม แถลงข่าว ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4

แนวทางการส่งเสริมจักรยานที่แท้จริง

            แปลงกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองจักรยานทำได้ทันที คุ้มค่า มีความเป็นไปได้ทางการเงิน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ฯลฯ แต่ที่ผ่านมาไม่ดำเนินการเพิ่งมารณรงค์ในช่วงหาเสียงกันเพราะอะไร
            ในช่วงนี้มีข่าวผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. จาก 2 พรรคใหญ่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้จักรยานในกรุงเทพมหานคร ผมขออนุญาตแสดงวิสัยทัศน์ที่เป็นไปได้จริงต่อแนวทางการส่งเสริมจักรยานที่ แท้ โปรดพิจารณาดูนะครับ
            การส่งเสริมการใช้จักรยานทำได้จริงเพียงการทำจักรยานให้เช่าให้แพร่หลาย เพื่อการใช้สอยจริงในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน ไม่ใช่เน้นเพื่อนักท่องเที่ยว โดยการให้มีจุดเช่า/คืนประมาณ 1,000 จุดทั่วเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน-กลาง และส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้การใช้จักรยานเป็นจริงได้
            หากแต่ละจุดมีจักรยานให้เช่า 40 คัน รวม 40,000 คัน ๆ ละ 3,000 บาท (ราคาที่เป็นจำนวนมาก) ก็เป็นเงินเพียง 160 ล้านบาท  ค่าสถานที่และจัดการอีกประมาณ 1 เท่าตัว  จะเห็นได้ว่าโครงการนี้สำเร็จได้ด้วยเงินเพียงไม่เกิน 400 ล้านบาท  ยิ่งหากมีการส่งเสริมการใช้จักรยานให้เช่าขี่ไปทำงานหรือไปติดต่อธุระใด ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรจักรยานบนท้องถนนได้ ก็จะทำให้การขี่จักรยานยิ่งปลอดภัยขึ้น
            ในทางการเงิน ค่าเช่าจักรยานขี่ในแต่ละวัน (วันหนึ่งได้หลายเที่ยว) อาจเป็นเงินเพียง 20 บาท โดยมีกำไรสุทธิ 20% หรือเพียง 4 บาท  เมื่อโครงการอยู่ตัวแล้วในแต่ละวันอาจมีผู้เช่าเพียง 30% ของรถทั้งหมด คือมีผู้เช่า 12,000 คันจากทั้งหมด 40,000 คัน ในปีหนึ่งก็จะมีรายได้สุทธิ  17.52 ล้านบาท หรือมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 4.4% ซึ่งแม้จะไม่สูงนัก แต่ก็ไม่ขาดทุน
            หากพิจารณาถึงผลดีที่ได้ด้านการลดการใช้น้ำมันที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ การลดมลภาวะ และการมีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกายนี้ ก็นับว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก  และแนวทางการดำเนินการด้วยงบประมาณเพียงเท่านี้ ก็อาจขอความอนุเคราะห์จากวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างภาพ ลักษณ์ ก็อาจทำให้โครงการนี้เป็นจริงได้โดยกรุงเทพมหานครแทบไม่ต้องเสียเงินอะไรเลย
            ประเด็นสำคัญที่พึงพิจารณาก็คือ ทำไมที่ผ่านมาส่วนราชการฝ่ายการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการโดยเร็ว แต่มารณรงค์กันในช่วงเลือกตั้งนี้  ผมเชื่อว่าคงเป็นเพราะโครงการนี้มีมูลค่าไม่มากนัก  จึงอาจไม่จูงใจให้ดำเนินการเท่าโครงการที่มีมูลค่าสูงอื่น ๆ
            อนึ่งในภาพที่แนบนี้เป็นภาพที่ผมขี่จักรยานเช่าในกรุงวอชิงตันดีซี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่ผมได้รับเชิญจาก Appraisal Foundation (ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสภาคองเกรสให้เป็นผู้ออกมาตรฐานการประเมินค่า ทรัพย์สินทุกปี) ไปประชุมในฐานะที่ปรึกษา

ปล. ผมขออนุญาตเชิญท่านผู้สื่อข่าวทำข่าวการหาเสียงของผมในวันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 ณ บริเวณสะพานลอยเชื่อมต่อระหว่างรถ BRT และรถไฟฟ้า BTS สาทร-นราธิวาส ในเวลา 07:00 น. ขอเรียนเชิญนะครับ โดยผมจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนเพิ่มเติม และการแปลงรถ BRT ให้เป็น BTS หรือ Light Rail หากผมได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครต่อไป  ติดต่อผมที่ 08.9922.9899 หรือ คุณอัจฉรา 08.6628.2817 นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น